สัมมนาเรื่อง “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP”

ข่าวทั่วไป Friday May 10, 2013 15:32 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

สัมมนาเรื่อง "ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP6

วันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 เวลา 09.00-13.00 น. ณ โรงแรม Swissotel Le Concorde กรุงเทพฯ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดเสวนาเวทีการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เรื่อง "ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสร้างความตระหนัก และความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว

สาระสำคัญของการสัมมนาฯ สรุปได้ ดังนี้

1.การสัมมนาเรื่อง "ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)" วันที่ 30 เมษายน 2556 เวลา 09.00-13.00 น.

1.1 ผอ.พิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักอเมริกาและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ กล่าวเปิดการสัมมนาวาในปี 2556 อาเซียนจะเริ่มดำเนินการเปิดเจรจาการคาเสรี RCEP ขึ้น และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้จัดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งแรกได้จัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2555 ทั้งนี้ ความตกลงหุ้นสวนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership: "RCEPW ว่า RCEP" มีพัฒนาสืบเนื่องมาจากการรวมอาเซียน+1 ที่มีอยู ไดแก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยมีประชากรรวมกันถึงเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก หรือกว่า 3,300 ลานคน คิดเปนร้อยละ 50 ของประชากรโลก และมี GDP สูงถึง 17,100 พันล้านเหรียญสรอ. หรือคิดเปนรอยละ 27 ของ GDP โลก ทั้งนี้ RCEP จะเปนความตกลงที่มีมาตรฐานกว้าง และเข้มข้นกว่าความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนทำกับคู่เจรจา+1 แต่เดิม

2. การบรรยายภาพรวมเรื่อง "ความตกลงหุนสวนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)"

2.2 ผอ.รณรงค์ พูลพิพัฒนผู้อำนวยการสำนักการค้าบริการและการลงทุน กล่าวคำบรรยายภาพรวมว่า RCEP หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 16 ประเทศ เปนผลสืบเนื่องจากวัตถุประสงค์ของผู้นำอาเซียนที่ต้องการรวมกลุมทางเศรษฐกิจที่ใหญขึ้นกว่าที่อาเซียนเคยมีมา คือ อาเซียน+1 หรือเป็นการนำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน+1 จำนวน 5 กรอบ 6 ประเทศซึ่งเป็นประเทศคูภาคีที่ยังไม่มี FTA รวมกัน มาเจรจารวมกันอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเสริมสร้างอำนาจต่อรอง ร่วมสร้างกฎเกณฑ์ทางการค้า ขยายตลาด และแหล่งวัตถุดิบทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค

ปัจจุบันประเทศสมาชิก RCEP กำลังหารือเพื่อจัดทำกรอบการเจรจา (Scoping paper) เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางสำหรับการเจรจาเปิดตลาดสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และหลักการเจรจาในประเด็นการค้าอื่นๆ ภายใต้ RCEP รวมทั้งได้มีการจัดตั้งกรอบการทำงาน (Scope of work) และคณะเจรจา RCEP หรือ RCEP Trade Negotiating Committees (RCEP-TNC) เพื่อรายงานกรอบการดำเนินงานตอผูนำอาวุโสอาเซียน (SEOM) ต่อไป ทั้งนี้ Scoping paper ด้านสินค้าครอบคลุมทั้งเรื่องการยกเลิกมาตรการภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTMs/NTBs) ต่างๆ ซึ่งเห็นว่ายังมีเรื่องที่ต้องเจรจาต่ออีกมาก อาทิ การปรับพิธีการศุลกากร เนื่องจากประเทศคูภาคีทั้ง 6 ประเทศยังมีมาตรการปกปองสินค้าอยู่สูงพอสมควร ด้านการค้าบริการเห็นว่า ปัจจุบันมาตรการกีดกันภาคบริการในภูมิภาคยังมีอยู่สูง ซึ่งหวังว่าการเจรจาเปิดเสรีภายใต้กรอบ RCEP กับประเทศคูภาคีทั้ง 6 ประเทศซึ่งมีรายได้จากภาคบริการสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ญี่ปุน ออสเตรเลีย จะช่วยขยายโอกาสการออกไปลงทุนของ SMEs ไทยในภูมิภาค และเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน สำหรับด้านการลงทุน เห็นว่าระดับการเปิดเสรีไม่ควรน้อยกว่าอาเซียน+1 ทั้งนี้ ยังมีหลายประเด็นที่ยังเป็นปัญหา อาทิ การคุ้มครองสิทธินักลงทุน โดยเฉพาะอินเดียที่อาจเปิดเสรีไม่สูงเท่าประเทศภาคีอีก 5 ประเทศ เป็นตน

3.การเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง "ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)" ในมุมมองภาคเอกชน

3.1 คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คุณพรศิลป์ให้ความเห็นว่า RCEP จะช่วยให้การเจรจาการค้าเสรีของภูมิภาคมีความเป็นหนึ่งเดียว มากขึ้นกว่าการเจรจาอาเซียน+1 ซึ่งเห็นว่าควรต้องมีการปรับ (Harmonize) ความแตกต่างในด้านต่างๆ ได้แก่ ภาษี กฎถิ่นกำเนิดสินค้า และมาตรฐานสินคา ทั้งนี้ การเจรจา RCEP จะชวยผลักดันเปาหมาย AEC ในปี 2558 ให้ดำเนินการไดสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายการเจรจา RCEP ใหแล้วเสร็จในปี 2560

สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมสินค้าเกษตรและอาหารถือเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพสูงกวาประเทศในอาเซียนทั้งหมด ดังนั้น ไทยควรต้องพิจารณาใช้ประโยชน์จาก RCEP อย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงที่สุด รวมถึงเห็นว่าผู้ประกอบการไทยควรเร่งพัฒนามาตรฐานคุณภาพสินค้า เพื่อสามารถก้าวข้ามมาตรการกีดกันต่างๆ รวมถึงมาตรการด่าน ROOs ซึ่งใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และเป็นกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่อง จากประเทศคู่ภาคีทั้ง 6 ประเทศให้ได้ต่อไป

3.2 คุณเพียงใจ แก้วสุวรรณ นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนตไทยคุณเพียงใจใหความเห็นว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีการเจริญเติบโตด้วยดีมาโดยตลอด แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีตราสินค้าของเป็นของตนเอง แต่เป็นฐานการผลิตรถยนต์และชิ้นสวนรถยนต์เพื่อจำหนายและสูงออกในลำดับหนึ่งของอาเซียน จากสมาชิกอาเซียนอีก 4 ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิต ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปินส์ และเวียดนาม โดยในปีที่ผ่านมาไทยมียอดการผลิตที่ 2.4 ล้านคัน คิดเป็นยอดจำหน่ายในประเทศ 1 ล้านคัน ที่เหลือเปนการผลิตเพื่อส่งออก สำหรับโอกาส เนื่องจาก RCEP คือการรวมตัวเพิ่มขึ้นของอาเซียนกับประเทศคูภาคีอีก 6 ประเทศ ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้ว จึงนับเป็นประโยชน์แก่ประเทศไทย ทั้งในด้านการถ่ายโอนเทคโนโลยีขั้นสูง และเพื่อขยายตลาดการผลิต (อาทิ Global network, Supply chain) และส่งออก สำหรับผลกระทบ เห็นว่า ควรดำเนินการเจรจาเพื่อลดหรือยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดแก่ผู้ประกอบการไทยต่อไป

3.3 คุณสมศักดิ์ วิเศษเรืองโรจน์ นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ คุณสมศักดิ์ ให้ความเห็นว่าในภาพรวม RCEP ต่อด้านโลจิสติกส์ ควรเริ่มมองจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยต้องเริ่มจากนักลงทุน (Investor) จนถึงผู้ผลิตรายย่อยต่างๆ (Final assembly) ทั้งนี้ เห็นว่าการเขามาของสมาชิก RCEP อีก 6 ประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น และเกาหลีใต้จะสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) แก่อาเซียนอย่างแน่นอน เช่น มี Contract จากต่างชาติมากขึ้น โดยเห็นว่าการเจรจาควรต้องลงลึกในสาขาที่อาเซียน+1 ยังไม่ได้เริ่มเจรจา สำหรับผลกระทบเห็นว่า การคาบริการโลจิสติกส์ Logistic service provider ควรต้องไปคูกันกับสินค้า แต่ประเทศไทยยังไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งทำให้การเขาไปเจาะตลาดของประเทศคูภาคี เช่น จีน ญี่ปุ่น เป็นเรื่องยาก ซึ่งไทยควรต้องเร่งพัฒนาในด้านนี้ รวมถึงการพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้มีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะมีความสามารถในการเขาถึงแหล่งข้อมูล เพื่อพร้อมที่จะแข่งขันหลังเปิดตลาดเสรีต่อไป

3.4 ดร.ฉัตรชัย ดวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ดร.ฉัตรชัย ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการค้าปลีก สร้างมูลค่าการค้าสูงเป็นอันดับ 2 หรือ คิดเป็นมูลค่า 2.3 ล้านล้านบาท และมีการจ้างงานสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในด้านการขยายการลงทุนเห็นว่า ประเทศคูภาคีน่าจะเขามาลงทุนในไทยมากกว่าที่ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุน ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการไทย และมาตรการกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งประเทศคูภาคียังมีอยู่สูง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ของไทย อาทิ เซ็นทรัลกรุ๊ป ได้เริ่มออกไปลงทุนที่อินโดนีเซีย และอินเด็กซ์กรุ๊ปที่ได้ขยายตลาดไปเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าธุรกิจที่น่าเป็นห่วง คือกลุมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งต้องเร่งพัฒนาให้มีความแข็งแกร่ง และพร้อมต่อการแข่งขันต่อไป ด้านผลกระทบ ได้แก่ 1) สินค้าประเภท Non-food โดยเฉพาะสินค้า International brand ที่ประเทศคูภาคีมีความแข็งแกร่ง 2) มาตรการ ROOs ที่ต้องเร่งปรับเกณฑ์มาตรฐานให้สอดคลองกัน และ 3) ด้านบุคลากร ที่ไทยควรต้องเร่งพัฒนามาตรฐานบุคลากร อาทิ การศึกษา และความรู้ด้านภาษา เนื่องจากไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นแหล่ง Shopping destination รวมถึงธุรกิจค้าปลีกที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก แต่ไทยยังมีแรงงานที่ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การเคลื่อนยายแรงงานยังมีจำกัด ทั้งนี้ ภาครัฐควรเร่งจัดตั้งหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจแต่ละสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในการขยายการค้าการลงทุนต่อไป

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ.เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ