สรุปสาระสำคัญประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "APEC Workshop on Measuring Services Trade

ข่าวทั่วไป Thursday July 25, 2013 17:31 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

สรุปสาระสำคัญประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "APEC Workshop on Measuring Services Trade: Statistical Capacity Building and Networking7 ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2556 ณ เมืองเมดาน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟก หรือเอเปค Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC ไดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง APEC Workshop on Measuring Services Trade: Statistical Capacity Building and NetworkingM ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2556 ณ เมืองเมดาน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรางความตระหนัก และความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง "การวิเคราะห์และสร้างเครือข่ายดานสถิติภาคการค้าบริการของประเทศสมาชิกเอเปค" และเพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเอเปค

สาระสำคัญของการสัมมนาฯ สรุปได้ ดังนี้

The Opening Ceremony& Welcome Banquet : วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2556 เวลา 9.00 - 09.10 น. โดย Mr. Syafrudin Yahya, Secretary Directorate General of International Trade Cooperation, Ministry of Trade, Government of Indonesia

Mr. Syafrudin กล่าวเปิดการประชุมฯ ว่า การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสถิติการค้าบริการในครั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจถึงความสำคัญของภาคการค้าบริการ และการใชประโยชน์จากสถิติการค้าบริการในปัจจุบัน และหวังว่าการจัดประชุมฯ ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ และส่งเสริมความร่วมมือด้านสถิติการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกเอเปคต่อไป

1.การบรรยายเรื่อง "Introduction to the Concepts and Importance of Services Trade7 โดย Dr. Sherry Stephenson, Service Expert, USAID Consultant, APEC Technical Assistance and Training Facility

Dr. Sherry กลาวถึงความสำคัญของภาคการค้าบริการว่า ศตวรรษที่ 21 นับเป็นยุคทองเศรษฐกิจการค้าบริการ ปัจจุบันการค่าบริการคิดเป็นร้อยละ 66 ของผลผลิตมวลรวม ร้อยละ 66 ของภาคการจ้างงาน ร้อยละ 60 ของการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ และคิดเป็นมูลค่าเกือบร้อยละ 50 ของมูลค่าการค้าโลกทั้งหมด โดยมูลค่าของการจัดตั้งธุรกิจในเครือของธุรกิจการค้าบริการ (Foreign Affiliates Trade in Services: FATS) ในปี 2551 นั้น มีมูลค่าสูงเท่ากับมูลค่าการส่งออกจากภาคบริการทั้งหมด

ทั้งนี้ นิยามของคำว่าการบริการ คือผลผลิตที่ไม่สามารถจับต้องและเก็บรักษาได้ หากแต่เป็นการให้ต่างตอบแทนระหว่างผู้ให้บริการ (Supplier) และผู้รับบริการ (Consumer) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) การให้บริการแบบเปลี่ยนแปลงสถานะ (Change Effecting Services) และ 2) การใหบริการแบบเพิ่มผลกำไร (Margin Services) ในปัจจุบันมูลค่าเพิ่มจากภาคการค้าบริการ (Valued-Added in Services) คิดเป็นร้อยละ 45 ของมูลค่าการค้าโลก (จากร้อยละ 23 ของมูลค่าที่ไม่ได้รวม Valued-Added) โดยมูลค่าเพิ่มจากภาคการค้าบริการ หมายถึงมูลค่าของภาคการค้าบริการที่แฝงตัวอยู่ในภาคการผลิตทั้งหมด ซึ่งโดยทั่วไปผู้ประกอบการมักไม่ได้แยกมูลค่าภาคการบริการออกมาจากภาคการผลิตอยางชัดเจน อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการค่าบริการในปัจจุบันได้ทวีความซับซ้อนมากขึ้น ผ่านการเคลื่อนย้ายของรูปแบบการให้บริการ เงินทุน และ รวมถึงการแฝงตัวของภาคการค่าบริการกับภาคการผลิต

นอกจากนี้ ความสำคัญของรูปแบบการให้บริการ สามารถแบ่งได้ ดังนี้ Mode 1 การบริการข้ามพรมแดน (Cross-border Supply) คิดเป็นร้อยละ 35, Mode 2 การบริโภคในตางประเทศ (Consumption Abroad) คิดเป็นร้อยละ 10-15, Mode 3 การจัดตั้งธุรกิจเพื่อใหบริการ (Commercial Presence) คิดเป็นร้อยละ 45, และ Mode 4 การให้บริการโดยบุคคลธรรมดา (Presence of Natural Person) คิดเป็นร้อยละ 1-2 ทั้งนี้ สาเหตุที่ Mode 1 และ Mode 2 มีมูลคาต่ำ เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลที่ไม่ครอบคลุมและทั่วถึง นอกจากนี้ การค้าบริการยังแตกต่าง และซับซ้อนกวาภาคการค้าสินค้า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรูปแบบการให้บริการทั้ง 4 Modes และความยุ่งยากของเก็บรวบรวมและวิเคราะห์มูลค่าของแต่ละ Mode

ตามหลักการของการค้าบริการใน WTO ตลาดบริการสามารถแบ่งออกเป็นสาขาย่อย 12 สาขา ได้แก่ 1) บริการธุรกิจ อาทิ การบริการวิชาชีพ วิจัยและพัฒนา และอสังหาริมทรัพย์ 2) บริการด้าน การสื่อสาร 3) บริการด้านการก่อสราง 4) บริการจัดจำหนาย 5) บริการด้านการศึกษา 6) บริการเกี่ยวกับสิ่งแวดลอม 7) บริการด้านการเงิน 8) บริการดานสุขภาพและสังคม 9) บริการเกี่ยวกับการเดินทางและท่องเที่ยว 10) บริการนันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา 11) บริการด้านการขนส่ง และ 12) บริการอื่นๆ ที่ไม่อยูใน 11 สาขาดังกล่าวข้างต้น

สำหรับการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการค้าบริการ ปัจจุบันยังเต็มไปด้วยความคลุมเครือ เนื่องจากนิยาม สาขา และตันทุนการจัดทำขัอมูลด้านการค้าบริการ โดยองค์กรที่รับผิดชอบในการจัดเก็บขอมูลจำเป็นตองพิจารณาความสำคัญระหว่างความต้องการแท้จริงของผู้ใช้ และต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูล ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีการริเริ่มการใชคู่มือสถิติการค้าบริการระหว่างประเทศ (Manual of Statistics on International Trade in Services: MSITS ) ซึ่งพัฒนาโดยองค์การระหว่างประเทศ ไดแก องค์การสหประชาชาติ (UN), กองทุนการเงินระหวางประเทศ (IMF), องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การพัฒนา(Organization for Economic Co-operation and Development } OECD), ธนาคารโลก (World Bank), องค์การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD), และองค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization) ทั้งนี้ คู่มือ MSITS ได้พัฒนาขึ้นสำหรับทุกประเทศทั่วโลก เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากขอมูลสถิติการค้าบริการในสาขาต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย 1.) BPM6 (Mode1,2), 2.) BPM6 Extension (Mode1,2), 3.) Foreign Affiliates Statistics (FATS) (Mode3), และ 4.) Statistical Approach on Measuring the Presence of Natural Persons (Mode4)

ในปี 2553 มูลค่าของการค้าบริการในเอเปค คิดเป็นร้อยละ 67 ของ GDP และคิดเป็นร้อยละ 45 ของการจ้างงานทั้งหมด โดยภาคการเงิน ประกันภัย การบริการสาธารณะ และการขนสง มีอัตราการเติบโตสูงสุด ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 29.33 และภาคกสิกรรมคิดเป็นร้อยละ 3.73 ตามลำดับ สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ภาคการคาบริการยังมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด ในภูมิภาคเชนกัน ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า มูลค่าเพิ่มจากภาคการค้าบริการของประเทศสมาชิกเอเปคยังแตกต่างกันมากในแต่ละประเทศ อาทิ ฮ่องกงมีมูลค่าเพิ่มจากภาคบริการสูง ขณะที่อินโดนีเซียยังมีมูลค่าต่ำ หรือ มูลค่าเพิ่มจากภาคบริการจากต่างประเทศมีมูลค่าสูงในฮองกง แต่ยังมีมูลค่าต่ำที่ญี่ปุน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกจากมูลค่าเพิ่มของภาคการค้าบริการในเอเปค ยังมีมูลค่าเฉลี่ยเพียงรอยละ 20 ซึ่งแสดงใหเห็นว่า ภาคการค้าบริการยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในภูมิภาค ทั้งนี้ มีประเทศสมาชิกเอเปคจำนวน 8 ประเทศ ถูกจัดอยูในประเทศ 20 อันดับแรกที่น่าลงทุนสำหรับธุรกิจการค้าบริการ ได้แก่ จีน มาเลเซีย เม็กซิโก ไทย เวียดนาม ฟลิปปินส์ ชิลี และสหรัฐฯ ตามลำดับ

จากมูลค่าภาคการค้าบริการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วในปัจจุบัน การจัดทำสถิติขอมูลการค้าบริการจึงมีสวนสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักบริหาร และนักสถิติในการเขาใจทิศทางการค้าบริการ เพื่อที่จะสามารถกำหนดทิศทางนโยบายทางการคาของประเทศไดอยางถูกตองและแม่นยำ ทั้งนี้ เห็นควรใหสนับสนุนการสร้าง และขยายเครือขายระหว่างประเทศสมาชิกเอเปค เพื่ออำนวยความสะดวกการจัดทำ และรวบรวมข้อมูลด้านสถิติการค่าบริการในภูมิภาคได้อย่างเป็นระบบและทันต่อเหตุการณ์

2. เรื่อง "Methodological and Administrative Challenges of Collection of Services Trade Statistics V Focus on "Big Picture Perspective of Challenges7 โดย Ms. Anne Flatness, Economist, Bureau of Economic Analysis, Balance of Payments Division, US Department of Commerce, Bureau of Economic Analysis

Ms. Anne กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของการจัดทำขอมูลสถิติการค้าบริการนั้น เพื่อประมวลและจัดระเบียบข้อมูล และกิจกรรมของภาคการค้าบริการ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อาทิ ภาคธุรกิจการค้าบริการ การขนส่ง การท่องเที่ยว การใช้ประโยชน์ทางทรัพย์สินทางปัญญา การค้าบริการในส่วนของกระบวนการภาคการผลิต และการจัดตั้งธุรกิจในเครือของธุรกิจการค้าบริการ (FATS/Mode 3) ทั้งนี้ เห็นว่า ปัจจุบันการค้าบริการไดทวีความสำคัญและขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในสหรัฐฯ มูลคาของการค้าบริการคิดเป็น 1,092 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าการค้ารวม 4,956 พันล้านเหรียญสหรัฐ (การค้าสินค้าคิดเปน 3,864 พันล้านเหรียญสหรัฐ) อย่างไรก็ตาม การจัดทำขอมูลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในภาคธุรกิจการค้าบริการ ยังขาดความชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ โดยปัจจุบันมีเพียง 35 ประเทศที่ไดจัดทำขอมูลสถิติภาคการค้าบริการ (จาก 234 ประเทศของภาคการค้าสินค้า) และข้อมูลที่ไดยังล่าช้า เนื่องจากขาดศูนยกลางการจัดเก็บขอมูล ความจับต้องไม่ได้ ความหลากหลายของช่องทางธุรกิจ การไม่สามารถระบุบริษัทนำเขา/ส่งออก และความสับสนของการรวมธุรกิจภาคบริการเข้ากับภาคการผลิต เป็นต้น

อยางไรก็ตาม เห็นว่าปจจุบันวิธีการจัดเก็บข้อมูลภาคการค้าบริการมีหลากหลายช่องทาง อาทิ 1.) การออกแบบสำรวจ (ข้อดี: สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ /ข้อเสีย: สิ้นเปลืองงบประมาณด้านบุคลากรและไม่สามารถระบุขอมูลการโอนเงินระหวางประเทศโดยเฉพาะภาคการนำเข้า) 2.) การเก็บข้อมูลจากการโอนเงินระหว่างประเทศ (ข้อดี: สามารถเก็บข้อมูล ณ จุดเดียวและมีความแม่นยำ/ ข้อเสีย: ขาดความครอบคลุมและความหลากหลายของข้อมูล 3.) การเก็บข้อมูลโดยความร่วมมือขององค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน (ข้อดี: สามารถเป็นเจ้าของข้อมูล/ ข้อเสีย: ขาดอำนาจการควบคุม และมีต้นทุนสูง) และ 4.) การใช้ Model (ข้อดี: สามารถบริหารควบคุม และพัฒนาขอมูล/ ข้อเสีย: มีความลาชา) ทั้งนี้ ในเบื้องต้นการจัดทำขอมูลสถิติควรพิจารณาถึงความเหมาะสมระหว่างความต้องการของผู้ใช้ การเขาถึงแหล่งข้อมูล รวมถึงความเหมาะสมของระยะเวลาด้วย เช่น สาขาการบริการดานการศึกษาและการแพทย์ การเก็บข้อมูลจาก International Transactions Reporting System: ITRs เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ อาจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลรวบรวมจากภาคอุตสาหกรรมอื่นเสริมด้วย หรือการค้าบริการด้านการขนส่ง ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลทั้งการสำรวจ ITRs และการเก็บข้อมูลจากกรมศุลกากร หรือการจัดเก็บขอมูล FATS } Foreign Affiliates Trade in Services (Mode 3) ที่จำเป็นต้องแยกเก็บต่างหากจากข้อมูล FDI ที่ได้จัดเก็บไปแล้วเพื่อไม่ให้เกิด ความซ้ำซ้อน เป็นต้น

3. เรื่อง "Statistics of International Trade in Services V International Trade Centre Contributions7 โดย Mr. Christophe Durand, Market Analysis and Research Section

Mr. Christophe กล่าวถึงการรวบรวมสถิติด้านการค้าบริการว่า ปัจจุบันการเก็บข้อมูลภาคการค้าบริการและการลงทุนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตยังมีจำกัด โดยปัจจุบันศูนย์การค้าโลก(International Trade Centre: ITC ) คือหน่วยงานกลางในการจัดทำข้อมูลด้านการค้าและการลงทุน ผ่านการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อาทิ IMF, UNSD 1, UNCTAD, WTO และ OECD เปนตน โดยขอมูลทั้งภาคการค้าสินค้าและภาคการค้าบริการที่หน่วยงาน ITC จัดเก็บนั้น ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้ทางเว็บไซต http://www.intracen.org/marketanalysis และ www.trademap.org ซึ่งมีขอมูลตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน ในรูปแบบ BPM 5 และ EBOPS ของ 190 ประเทศ ข้อมูลการค้าทวิภาคีของ 50 ประเทศ และสามารถสืบคนได้ทั้งแบบรายประเทศและภูมิภาค นอกจากนี้ เว็บไซตยังบริการข้อมูล FDI ของภาคธุรกิจบริการจาก ๒๐๐ ประเทศทั่วโลก โดยแยกเป็นข้อมูลบริษัทในเครือของธุรกิจการค้าบริการต่างๆ (FATS) ทั้งนี้ เห็นว่าข้อมูล FDI อาจเป็นเพียงข้อมูลทางสถิติที่สำคัญของภาคการค้าบริการ Mode 3 จากทั้งหมด 4 โหมด

4. เรื่อง "MSITS an International "Framework7 for Services Trade Statistics7 โดย Mr. Mark Pollard, Statistics and Business Consultant

Mr. Pollard กล่าวถึงความสำคัญของ คู่มือสถิติการค้าบริการระหว่างประเทศ(Manual of Statistics on International Trade in Services: MSITS ) ว่า MSITS เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2545 โดย The Interagency Task Force on Statistics of International Trade in Services (TFSITS) เพื่อตอบสนองความต้องการคณะกรรมการดานสถิติสำหรับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการคา (GATT) และการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) โดยปจจุบัน MSITS 2010 รุ่นล่าสุดถูกนำมาใชในฐานะเป็นคูมือสถิติภาคการค้าบริการสำหรับการใช้ประโยชน์แก่ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้แก่ นักนโยบายและนักเจรจาการค้า ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป

ทั้งนี้ ปัจจุบัน MSITS 2010 คือ คู่มือสถิติรุนล่าสุดที่ได้พัฒนาขอบเขต แนวทางการจัดเก็บข้อมูลโดย IMF, UNSD และ WTO ซึ่งปจจุบันมีประเทศสมาชิกกวา 100 ประเทศทั่วโลกที่ได้ให้ ความร่วมมือในการจัดทำขอมูลสถิติ และใช้ประโยชน์จาก MSITS

5. APEC Member Economy Experiences with Collection of Services Trade Statistics

5.1) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7 The United States โดย Ms. Anne Flatness, US Development of Commerce, Bureau of Economic Analysis

Ms. Anne กล่าวว่า การรวบรวมสถิติขอมูลทางการค้าสินค้า บริการ และลงทุนของสหรัฐฯในปัจจุบัน อยูภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่มีการจัดเก็บข้อมูลโดยการออกแบบสำรวจ ซึ่งเห็นวามีขอดี คือสามารถเก็บข้อมูลจำเพาะได้ ในขณะที่ข้อเสีย คือไม่สามารถเก็บข้อมูลจากภาคการนำเข้าได้ทั่วถึง และข้อมูลมีจำนวนมาก ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถคนข้อมูลได้ทางเว็บไซต์www.bea.gov/scb/index.htm ซึ่งข้อมูลการค้าบริการที่จัดเก็บจะแยกย่อยตามสาขาธุรกิจบริการ 31 สาขา และใช้มาตรฐาน BPM 6 ตามคู่มือสถิติ MSITS

5.2) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7: Japan โดย Professor Hikari Ishido, Chiba University

Mr. Ishido กล่าวว่า สำหรับการเก็บรวบรวมสถิติข้อมูลทางการค้าบริการของญี่ปุ่น อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง และดำเนินการวิเคราะห์โดยธนาคารแห่งชาติญี่ปุน ทั้งนี้ ข้อมูลสถิติได้จัดเก็บโดยแยกตามสาขาของธุรกิจบริการที่สำคัญ อาทิ ภาคการขนส่ง ซึ่งจัดเก็บจากรายรับและรายจายของผู้ประกอบการ และภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจัดเก็บข้อมูลจากภาครัฐจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าออกประเทศและมูลค่าจากรายได้ทั้งหมด เป็นต้น สำหรับสาขาอื่นๆ อาทิ การสื่อสาร การก่อสร้าง ประกันภัย การบริการด้านการเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริการภาครัฐ ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลผ่านรายได้และรายรับ และมูลค่าการโอนเงินระหว่างประเทศของแต่ละสาขา ทั้งนี้ หากไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลผ่านช่องทางดังกล่าว จะดำเนินการเก็บข้อมูลผ่านการออกแบบสำรวจ

นอกจากนี้ Mr. Ishido ชี้แจงว่าหากเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้รับจากการจัดเก็บข้อมูลสถิติการค้าบริการของญี่ปุ่นอาจมีมูลค่าที่คลาดเคลื่อนเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับมูลค่าจากการจัดเก็บของสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูลมูลค่าการส่งออกของญี่ปุ่นไปสหรัฐฯ กับขอมูลนำเขาจากญี่ปุนของสหรัฐฯ อาจไม่ตรงกัน เนื่องจากตัวแปรสำคัญ คือ ความผันผวนของค่าเงินของทั้งสองประเทศ ณ เวลาที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล นอกจากนี้ ได้กลาวถึงปัญหาการจัดเก็บขอมูล Mode 3 และ Mode 4 ซึ่งยังมีความยุ่งยากและซับซ้อน เนื่องจากการตีความภายใต้การเก็บข้อมูลสถิติแบบ Balance of Payments ที่ได้จัดมูลค่าการให้บริการ Mode 3 ให้อยู่ในส่วนที่เป็นข้อมูลนิติบุคคลในประเทศ (Local resident) ส่งผลให้มูลค่าการค้าไม่ได้จัดอยู่ภายใต้หมวดการค้าบริการ (Mode 3) ยกเว้นการตั้งบริษัทในระยะสั้น เช่นโครงการสัมปทานรับเหมาต่างๆ ซึ่งอนุโลมให้อยู่ใน Mode 3 และ Mode 4 อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการจัดเก็บข้อมูล Mode 3 ในญี่ปุ่นยังเป็นประเด็นที่สับสนและคลุมเครือ รวมถึงนิยามการค้าบริการ Mode ต่างๆ ที่ยังไมมีความชัดเจนนัก ซึ่งเห็นควรให้มีการจัดหาแนวทางเพื่อกำหนดนิยาม และจัดเก็บข้อมูลให้มีมาตรฐานรวมกันในภูมิภาคต่อไป

5.3) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7: New Zealand โดย Mr. Wido Vanlijf, Balance of Payments, Statistics New Zealand

Mr. Wido ให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลสถิติภาคการค่าบริการของนิวซีแลนด์ โดยยกตัวอยางธุรกิจบริการสาขาการประกันภัย และการท่องเที่ยว โดยสาขาการประกันภัยได้จัดเก็บข้อมูลผ่านแบบสำรวจ และใช้ Model ตามมาตรฐาน BPM6 สำหรับสาขาการท่องเที่ยว ได้จัดเก็บข้อมูลผ่านแบบสำรวจและสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติ (International Visitors Survey: IVS) ทั้งนี้ เห็นว่าการเก็บข้อมูล IVS ยังประสบปัญหาการเก็บข้อมูลที่ไม่ครอบคลุม และปัญหาตนทุนของการสัมภาษณ์ ซึ่งภายหลังได้ปรับรูปแบบการสำรวจ IVS เป็นแบบ Online Survey และเห็นว่ามีผลดีต่อทั้งการเพิ่มปริมาณผู้ตอบแบบสำรวจ และการลดตนทุนโดยรวม ทั้งนี้ Mr. Wido กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดเก็บข้อมูลของนิวซีแลนด์ ปัจจุบันได้จัดเก็บข้อมูลตาม Mode of Supply ตามคู่มือสถิติ MSITS แล้ว แต่เห็นว่าการเก็บข้อมูลรูปแบบ Mode ได้ก่อให้เกิดความสับสนในการจัดเก็บข้อมูล เนื่องจากนิยาม และความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน โดยเฉพาะ Mode 2 และ Mode 4 ภายใต้นิยาม Temporary aboardM จึงเสนอแนะว่า ในการจัดทำแบบสอบถาม (Questionnaire) ควรมีรูปแบบที่สามารถสื่อใหผู้กรอกแบบสอบถามสามารถเข้าใจถึง Mode การให้บริการของแต่ละสาขาด้วย

5.4) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7: Columbia โดย Mr. Andres Cardenas Munoz, Economic Analyst, Ministry of Commerce, Industry and Tourism

Mr. Andres กล่าวว่า การค้าบริการในปัจจุบันไดทวีความสำคัญมากขึ้น และมีมูลค่าสูงกว่าภาคการผลิต เกษตรกรรมและอื่นๆ ทั้งนี้ มูลคาการค้าและการจ้างงานภาคบริการ ในประเทศโคลัมเบียในป 2554 มีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 61 และ ร้อยละ 66 ตามลำดับ ปัจจุบัน โคลัมเบียมีนโยบายเกี่ยวกับการค้าบริการที่สำคัญ อาทิ การพัฒนามาตรฐานกฎระเบียบ และการจัดเก็บภาษีบริการ พัฒนาศักยภาพแรงงานและการวิจัยในประเทศ รวมถึงมีการจัดเก็บขอมูลสถิติอย่างเป็นเครือขายและเป็นระบบ โดยการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลได้มีการเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ ในประเทศ อาทิ ธนาคารกลาง และกระทรวงต่างๆ เพื่อพัฒนาการจัดเก็บฐานขอมูลร่วมกันภายใต้หลักการใช้คู่มือสถิติ MSITS 2012 และจัดเก็บแบบ Balance of Payments ของธนาคารกลาง การออกแบบสำรวจ และการจัดเก็บแยกตามโหมดบริการ ทั้งนี้ เพื่อใช้ข้อมูลดังกล่าวในการกำหนดทิศทางการค้า และสร้างความตกลงระหว่างประเทศ

5.5) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7: Chile โดย Ms. Andrea Sanchez Yanez, Economic Analyst, Central Bank of Chile

Ms. Andrea ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันประเทศชิลีได้จัดเก็บข้อมูลสถิติการค้าบริการภายใต้ MSITS รูปแบบ BPM 6 โดยเริ่มใชตั้งแต่ต้นปี 2555 ทั้งนี้ การจัดเก็บข้อมูลภาคการค้าบริการสามารถแบ่งตามสาขาหลักๆ ได้แก่ 1) สาขาการท่องเที่ยว ซึ่งจัดเก็บข้อมูลตามจำนวนนักท่องเที่ยวผ่านด้านศุลกากร และการจัดทำแบบสำรวจ 2) สาขาการขนส่ง ซึ่งจัดเก็บขอมูลจากจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ และ 3) สาขาอื่นๆ อาทิ บริการโทรคมนาคม ประกันภัย เทคโนโลยีสารสนเทศ การเงินและการธนาคาร และ การบริการภาครัฐ ซึ่งจัดเก็บข้อมูลผ่านการโอนเงินระหว่างประเทศ ออกแบบสำรวจ และรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทั้งนี้ การเก็บข้อมูลได้จัดเก็บเป็นรายไตรมาสและรายปี โดยในอนาคตจะมีการรวบรวมข้อมูลเพิ่มของสาขาทรัพยสินทางปัญญา การประกันภัย และ Courier ในสาขาการขนส่ง

5.6) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7: Mexico โดย Mr. Andres Zetina Gutierrez, Deputy Manager External Sector Analysis Subdivision, Bank of Mexico

Mr. Andres กล่าวว่า ประเทศเม็กซิโกได้จัดเก็บข้อมูลตามหลักคู่มือ MSITS รูปแบบ BPM 5 โดยเห็นว่า แม้การค้าบริการมีความสำคัญสูงในปัจจุบัน แต่การจัดเก็บสถิติขอมูลภาคบริการยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึงโดยเฉพาะภาคการนำเขา เนื่องจากขาดหนวยงานกลางในการประสานและควบคุม รวมถึงความไม่ชัดเจนของนิยาม Mode บริการแตละสาขา ทั้งนี้ การจัดเก็บขอมูลได้แยกลงรายสาขาที่สำคัญ ไดแก สาขาขนส่ง ท่องเที่ยว ประกันภัย การใช้สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา และอื่นๆ โดยได้ดำเนินการจัดเก็บ ผ่านแบบสอบถาม และจากรายงานข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาขา อาทิ กรมศุลกากรสำหรับข้อมูล ภาคการส่งออก เป็นต้น

5.7) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7: Hong Kong, China โดย Mr. Desmond Sam, Statistician (Trade in Services), Census and Statistics, Department of the Hong Kong Special Administrative Region Government

Mr. Desmond กล่าวว่า การจัดเก็บข้อมูลการค้าบริการของฮ่องกงโดยปรกติรวบรวมผ่านแบบสอบถามของการนำเข้าการค้าบริการ และจากรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันได้จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ EBOPS 2010 (Extended Balance of Payments Classification) และได้พัฒนา ปรับเปลี่ยนการจัดเก็บและวิเคราะห์เป็นรูปแบบ Change of Ownership Principle ซึ่งแบ่งความเป็นเจ้าของธุรกรรมเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ MerchantingM หมายถึง การดำเนินการการซื้อขายกับประเทศคู่ค้านอกประเทศทั้งหมด โดยไม่ผ่านประเทศของบริษัทตนสังกัด และ Goods sent aboard for processingM หมายถึง การดำเนินการจัดจ้างผลิตนอกประเทศ โดยผ่านประเทศของบริษัทตนสังกัดเพียงไม่มาก ทั้งนี้ เห็นว่าวิธีดังกล่าวทำให้การจัดเก็บข้อมูลครอบคลุมมากขึ้น และส่งผลให้มูลค่าจากภาคการค่าบริการสูงขึ้น

5.8) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7: Indonesia โดย Mr. Oki Hermawan and Ms. Eni Lestariningsih, BPS-Statistics Indonesia

Mr. Oki และ Ms.Eni กล่าวว่า ปัจจุบันอินโดนีเซียจัดเก็บข้อมูลสถิติการค้าบริการผ่านแบบสอบถาม โดยส่วนใหญ่รวบรวมจากภาคการนำเข้าและส่งออกของการค้าบริการ อย่างไรก็ตาม ได้ประสบปัญหาในการจัดเก็บข้อมูล อาทิ ความไม่เข้าใจ หรือการตีความที่ผิดของรูปแบบการคาบริการของหน่วยงานที่ได้จัดเก็บข้อมูล รวมถึงความล่าช้าในการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละสาขาที่มีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าภาคการค้าสินค้า โดยเห็นว่าหากมีหน่วยงานกลางในการจัดฝึกอบรมด้านบริการการจัดเก็บข้อมูลอย่างครอบคลุมและเป็นระบบ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อภูมิภาคในการกำหนดทิศทางการค้าบริการร่วมกัน

5.9) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7: Malaysia โดย Mr. Hidzir Hamzah, Statistician, Strategic Planing Division, Ministry of International Trade and Industry (MITI)

Mr. Hidzir กล่าวว่าในไตรมาสแรกของปี 2556 มูลค่าภาคการค้าบริการสูงกว่าภาคอื่นโดยรวม โดยภาคการส่งออกมีมูลค่า 29.8 และนำเขามีมูลค่า 33.2 ล้านเหรียญริงกิต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคการค้าบริการต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ สำหรับการจัดเก็บข้อมูล ในขั้นปฐมภูมิได้จัดทำผานแบบสอบถาม (ITS Survey) และขั้นทุติยภูมิจากรายงานข้อมูลสถิติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ อาทิ ข้อมูลการโอนเงินระหว่างประเทศ (International Transaction Reporting System: ITRS) และสถิติด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ในอนาคตจะมีการจัดเก็บข้อมูลแยกตาม Mode บริการ 4 สาขา โดยจะเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำจำกัดความของการคาบริการ และธุรกิจบริการทั้ง 4 สาขา ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิผลของการจัดเก็บข้อมูล และเพื่อการใช้ประโยชน์ทั้งในส่วนของนักสถิติและผู้ใช้บริการข้อมูล

5.10) เรื่อง "Collecting Statistics on Trade in Services7: Singapore โดย Mr. Justin Tai, Senior Assistant Director, Economic Accounts Division, Singapore Department of Statistics

Mr. Justin กล่าวว่า การเก็บสถิติภาคการค้าบริการของสิงคโปร์ } The International Trade in Service Survey (TIS Survey) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2539 โดยใช้ร่วมกับข้อมูล Balance of Payments และสถิติข้อมูลการค้าบริการด้านอื่นๆ ทั้งนี้ ได้เริ่มใชรูปแบบ BPM 5 เมื่อปี 2551 และ BPM 6 เมื่อปี 2555 ตามลำดับ โดยได้จัดเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามและจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้จัดเก็บข้อมูลแยกตาม Mode ภายใต้คู่มือ MSITS แล้ว โดยในอนาคตจะมีการเก็บข้อมูลให้ ครอบคลุมสาขาการประกันภัยซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าสืบค้นข้อมูลสถิติการค้าบริการได้ที่เว็บไซต http://www.singstat.gov.sg/

6. สรุปการประชุมปฏิบัติการเรื่อง "Strengthening APEC Member Economiesk Capacity to Collect and Report Services Trade Statistics7

ที่ประชุมได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล ดังนี้ ๑)ควรมีหน่วยงานกลางสำหรับกำหนดแนวทาง และพัฒนาเครือข่ายด้านสถิติภาคการค้าบริการของประเทศสมาชิก APEC

๒)ควรเร่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านเทคนิคการจัดเก็บข้อมูลสถิติแก่ประเทศสมาชิก เพื่อลดช่องว่าง พัฒนามาตรฐานและความเข้าใจร่วมกัน อาทิ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินการจัดเก็บข้อมูลของประเทศสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ

๓)ควรนิยามคำจำกัดที่ชัดเจนของรูปแบบการให้บริการทั้ง 4 Modes โดยเฉพาะ คำจำกัดความของ Mode 2 และ Mode 4 รวมถึง Mode 3 เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนทั้งแก่ผู้จัดเก็บและผู้ใช้บริการข้อมูล

๔)ควรสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากคู่มือสถิติการค้าบริการระหว่างประเทศ (Manual of Statistics on International Trade in Services: MSITS) เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีมาตรฐาน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ