“นอกเหนือจาก FTA ที่กล่าวมาไทยยังอยู่ระหว่างเตรียมเจรจากับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) และเตรียมจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศแคนาดา ฉะนั้นทางกรมฯจึงให้ความสำคัญทั้งการสร้างพันธมิตรการเผยแพร่ข้อมูลให้ความรู้ และการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน”
นางสาวลีนา กล่าวว่า สำหรับการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(TPP) ทางนายกรัฐมนตรีของไทย ได้ประกาศความสนใจเข้าร่วมเจรจาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯมา เยือนไทยเมื่อพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งในช่วงปี 2554-2555กรมเจรจาฯก็ได้ให้บริษัท ไบรอันเคฟ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินการศึกษา “แนวทางการเจรจาและผลกระทบจากการจัดทำความตกลง TPP” รวมทั้งได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปแล้วด้วย
ขณะเดียวกันได้มีการจัดการประชุมรับฟังความเห็นกลุ่มย่อยหรือ FocusGroup 8 กลุ่ม ได้แก่ (1) สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ (2) สินค้าธัญพืชผัก ผลไม้ และพืชน้ำมัน (3) สินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ (4) สินค้าอุตสาหกรรม (5) สินค้าอัญมณีเครื่องประดับ รองเท้า สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (6) บริการและการลงทุน(7) ทรัพย์สินทางปัญญา (8) แรงงานสิ่งแวดล้อม การจัดซื้อโดยรัฐ นโยบายการแข่งขันและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งได้จัดการสัมมนาเวทีสาธารณะเพื่อฟังความเห็นในส่วนภูมิภาคจำนวน 4 ภาค คือที่ เชียงใหม่ ชลบุรี สงขลา และอุดรธานี ส่วนครั้งนี้เป็นการรับฟังความเห็นในกรุงเทพฯทั้งนี้ จะนำผลการรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด ไปประมวลเป็นแนวทางจัดทำกรอบการเจรจาความตกลงTPP รวมทั้งข้อเสนอแนะมาตรการรองรับเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีและให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบต่อไป
ปัจจุบันประเทศสมาชิกTPP มี 12 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์เวียดนาม แคนาดา เม็กซิโก และญี่ปุ่น ซึ่งในจำนวนนี้ ไทยยังไม่มี FTA กับ 3 ประเทศ คือ สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก TPP มีประชากรรวมประมาณ 792 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.1 ของประชากรโลก และมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวม สูงถึง 29.59 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเท่ากับร้อยละ38.4 ของ GDP โลก ดังนั้นการเข้าร่วมเจรจาความตกลง TPP จึงเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะได้เจรจาการค้ากับทั้ง3 ประเทศดังกล่าว.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630