การจัดการมาตรการทางการค้าของอาเซียน ในยุค AEC

ข่าวทั่วไป Monday September 30, 2013 15:57 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

นับถอยหลังเหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึง 3 ปที่อาเซียนจะก้าวเข้าสู่การเป็น "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า "AEC" ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนตั้งเป้าหมายไว้ว่า การนำเข้าและส่งออก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและวัตถุดิบ ตลอดจนถึงการค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้งหมดจะเสรีมากขึ้น เพื่อให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

อาเซียนมีความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน หรือ ASEAN Trade in Goods Agreement (ATIGA) ไว้เป็นข้อผูกพันของประเทศสมาชิกที่จะตองลดและยกเลิกการใช้ "มาตรการทางการค้า" ที่มีผลกระทบต่อการค้าระหว่างกันในกลุ่ม โดยมาตรการทางการค้า ในที่นี้หมายถึง มาตรการ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของภาครัฐ ที่มีผลกระทบตอการค้าระหวางประเทศ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  • มาตรการทางภาษีศุลกากร (Tariffs) : สมาชิกอาเซียนจะตองยกเลิกการเรียกเก็บภาษีขาเข้ากับสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เมื่อสินค้านั้นผลิตได้ตามเกณฑถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียน นับจนถึงเวลานี้ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ไดยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียนแล้วตั้งแต่ปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่ม CLMV คือ กัมพูชา เมียนมาร ลาว และเวียดนาม จะต้องยกเลิกภาษีนำเขาสินคาทั้งหมดภายในป 2558

-มาตรการที่ไมใชภาษีศุลกากร (Non Tariff Measures) ความตกลง ATIGA หามการใชมาตรการที่เปนอุปสรรคทั้งทางตรงและทางออมต่อการนำเข้าและส่งออกระหวางกันในอาเซียน และยอมรับใหใชเฉพาะมาตรการที่สอดคลองกับกฎเกณฑขององคการการค้าโลก เช่น ให้ใช้เฉพาะมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตคน สัตว์ พืช อาหาร โดยมีหลักการทางวิทยาศาสตรรองรับ เป็นต้น เมื่อยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าในอาเซียน มีแนวโน้มที่หลายประเทศจะนำมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี มาใช้หลายรูปแบบขึ้น ไม่ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อความปลอดภัยต่อการบริโภคอย่างแท้จริง หรือมีเป้าหมายแอบแฝงเพื่อปกปองตลาดภายในประเทศก็ตาม แตตองยอมรับว่ามาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีเหลานี้ มีผลกระทบตอการค้า มากกวาการเก็บภาษีนำเข้าเสียอีก

เมื่อเป็นเช่นนี้อาเซียนจะทำอย่างไร เพื่อที่จะให้การค้าสินค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรีโดยแท้จริง

อาเซียนใช้ขอผูกพันภายใต้ความตกลง ATIGA และ AEC Blueprint เป็นกฎเกณฑหลักในการยกเลิกมาตรการที่เปนอุปสรรคทางการคา ซึ่งกำหนดไว้ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องไม่ใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็น อุปสรรคตอการค้าระหวางสมาชิก โดยต้องทบทวนมาตรการที่มิใช่ภาษีของตนเองว่ามีมาตรการใดที่เป็นอุปสรรคตอการเข้าสู่ตลาดภายในหรือไม่ เช่น มีการใช้มาตรการจำกัดปริมาณ มาตรการโควต้าในรูปแบบต่างๆ หรือมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าต่างๆ เป็นต้น และให้ทบทวนหรือยกเลิกมาตรการนั้น รวมถึงเปดใหประเทศสมาชิกอื่นสามารถตรวจสอบได้ด้วย

ประเทศสมาชิกอาเซียนไดยกเลิกมาตรการทางการค้าที่เป็นข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดแล้วตั้งแต่ปี 2553 โดยในส่วนของไทยได้ยกเลิกมาตรการโควต้าภาษีสินค้าเกษตร 23 รายการที่ไทยมีขอสงวนไว้ภายใต้กรอบองคการการค้าโลก โดยเปิดตลาดให้กับอาเซียนตั้งแต่ปี 2553 ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ไหมดิบ น้ำมันปาล์ม เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ ลำไยแห้ง มันฝรั่ง ใบยาสูบ น้ำตาล น้ำมันถั่วเหลือง พริกไทย ถั่วเหลือง ข้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง มะพร้าว น้ำมันมะพราว ชา เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป น้ำนมดิบ/นมปรุงแต่ง และนมผงขาดมันเนย ขณะนี้เหลือเพียงเวียดนามที่จะต้องยกเลิกการใช้มาตรการโควต้าภาษีกับสินค้า 4 รายการ คือ น้ำตาล ใบยาสูบ เกลือ และไข่ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2558

ความตกลง ATIGA ยังกำหนดให้ประเทศสมาชิกจะต้องแจงให้ประเทศสมาชิกอื่นรู้เมื่อมีการนำมาตรการทางการค้าใดๆ มาใช้ เพื่อความโปร่งใส และจะต้องปรับปรุงฐานขอมูลมาตรการทางการค้าของตนเองให้เป็นปัจจุบัน และจัดจำแนกมาตรการทางการค้าให้เป็นไปตามหลักสากล โดยใช้ระบบการจัดจำแนกของ UNCTAD มาเป็นต้นแบบการจัดระบบมาตรการทางการค้าของอาเซียน ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะเผยแพร่อยู่บนเวปไซต์ของสำนักเลขาธิการอาเซียน และในอนาคต อาเซียนจะมีระบบคลังข้อมูลทางการค้า (ASEAN Trade Repository) ซึ่งจะรวบรวมมาตรการทางการค้าทั้งหมด ทั้งที่เป็นมาตรการภาษีและที่มิใช่ภาษี รวมถึงกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าของประเทศสมาชิกทุกประเทศเข้าไว้เป็นแหล่งเดียวกัน โดยขณะนี้ทุกประเทศกำลังเร่งดำเนินการจัดทำระบบคลังข้อมูลทางการค้าภายในของตนเอง ก่อนที่จะเชื่อมโยงกันทั้งหมดเพื่อเป็นระบบคลังข้อมูลการค้าอาเซียน ภายในปี 2558

นอกเหนือไปจากข้อกำหนดตามแผน AEC Blueprint และความตกลง ATIGA ในการจัดทำข้อมูลทางการค้าของอาเซียนให้เป็นระบบแลว อาเซียนกำหนดให้เรื่องการจัดการด้านมาตรการทางการค้าจะต้องทำงานเชื่อมโยงกันทั้งในระดับภูมิภาคและภายในประเทศ โดยภายใต้แผนการดำเนินการดานมาตรการทางที่มิใช่ภาษีของอาเซียน กำหนดให้ทุกประเทศจะต้องจัดตั้งหน่วยงานกลาง หรือคณะกรรมการรับผิดชอบเฉพาะด้านมาตรการที่มิใช่ภาษีในแต่ละประเทศ ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าของประเทศ รวมทั้งทบทวนและปรับปรุงมาตรการที่ไม่สอดคลองกับข้อตกลง ATIGA และให้มีกลไกการรายงานผลไปยังคณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลงการคาสินค้าของอาเซียน (CCA) ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศทำหน้าที่ติดตามการดำเนินการด้านการค้าสินค้าของอาเซียน กลาวคือ เมื่อมีการร้องเรียนจากประเทศสมาชิกอาเซียนหนึ่ง ว่ามาตรการทางการค้าของอีกประเทศหนึ่งหรือประเทศอื่นๆ ไม่สอดคล้องกับความ ตกลง ATIGA หรือเป็นอุปสรรคต่อการค้าของประเทศใดหรือหลายประเทศ คณะกรรมการหรือหน่วยงานดังกล่าวนี้ จะต้องทบทวนหรือหาแนวทางปรับปรุงมาตรการการค้านั้น หรือแม้แต่พิจารณายกเลิกการใช้มาตรการนั้น แต่หากประเทศสมาชิกที่ได้รับการร้องเรียนไม่ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับความตกลง ประเทศสมาชิกที่เสียหายมีสิทธิที่จะฟ้องร้อง โดยใช้กลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนได้

ลาสุดอาเซียนได้รวบรวมขอรองเรียนเกี่ยวกับมาตรการทางการคาที่ประเทศสมาชิกตางๆ พบวาเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการค้า ทั้งที่มีการร้องเรียนโดยภาคเอกชนและโดยภาครัฐของประเทศสมาชิก เพื่อให้ประเทศสมาชิกหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนเหล่านั้นโดยเร็ว ขณะนี้มีข้อร้องเรียนกว่า 65 เรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับการข้ออนุญาตนำเข้า ขั้นตอนการตรวจสอบมาตรฐาน และขอจำกัดการนำเข้าต่างๆ ซึ่งข้อร้องเรียนเหล่านี้จะนำไปเผยแพร่ไว้ที่เวปไซต์ของสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาโดยประเทศสมาชิก

การดำเนินการที่กล่าวมานี้ มีวัตถุประสงค์หลักคือ การสร้าง "ความโปรงใส" และการกระตุ้นเตือนให้ประเทศสมาชิก "ยึดมั่นในกฎกติกา" เพื่อให้อาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจที่มีกฎเกณฑ์และมีความน่าเชื่อถือ ในสายตาของผู้ประกอบการค้าในอาเซียน รวมถึงประเทศคู่ค้านอกกลุ่มอาเซียนด้วย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ