รายการการลดอุปสรรคในบริการสาขาการเงิน (Financial Services)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 17, 2014 14:18 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

คำนำ

บริการด้านการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีการวางกฎระเบียบมากมาย บางอย่างก็มีข้อจำกัดในระดับภูมิภาค วิสัยทัศน์ AEC 2015 มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือการเปิดเสรีบริการด้านการเงิน ซึ่งอาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกันมากมาย เช่น ในองค์การทางการค้าและอุตสาหกรรมเชื่อว่า การรวมตัวของบริการด้านการเงินสามารถเร่งผลดีทางเศรษฐกิจ ลดค่าใช้จ่าย ช่วย SME ให้มีโอกาสในการแข่งขันมากขึ้น แต่ในระดับนโยบายกลับมองว่า การรวมตัวของบริการด้านการเงินอาจทำให้ภูมิภาคเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงประสงค์และผลประโยชน์อาจไม่ได้ตามที่คาด ดังนั้นตัวผู้เล่นไม่ว่าจะเป็นภาคธนาคาร ภาครัฐ ฝ่านยโนบาย จำเป็นต้องเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นร่วมกันถึงความท้าทายที่สำคัญในการรวมตัวดังกล่าว

ความท้าทายที่สำคัญสำหรับการร่วมกลุ่มบริการสาขาการเงินอาเซียน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประการ

1. ความหลากหลายของ Framework ในเรื่องกฎระเบียบการกำกับดูแลและกำหนดขอบเขตการเข้าสู่ตลาด (Heterogeneity of regulatory framework and restrictive market access) ความไม่สอดคล้องกันของกฎระเบียบในการกำกับดูแลเป็นการขัดขวางการขยายตัวของธนาคารในอาเซียน โดยส่วนใหญ่กฎระเบียบดังกล่าวมักจะเป็นตัวจำกัดสถาบันการเงินอาเซียนและสถาบันการเงินต่างชาติเพื่อป้องกันไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไป

2. ข้อจำกัดต่างๆ ของการเคลื่อนย้ายบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญบริการสาขาการเงิน (Constraints on talent mobility) การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในบริการสาขาการเงินถูกจำกัดด้วยกฎเกณฑ์มากมาย จึงถือเป็นอุปสรรคสำคัญประการหนึ่ง เช่น การไม่มีขอบเขตร่วมกันในเรื่องความรู้ความสามารถ ความแตกต่างเกณฑ์การศึกษา ความเข้มงวดในการขอวีซ่าทำงาน เป็นต้น

3. ข้อกำจัดในการโอนถ่ายข้อมูลอย่างอิสระ (Cross border data flow and off shoring regulatory constraints) ปัจจุบัน กฎระเบียบมีความแตกต่างกันในการแบ่งบันข้อมูลอย่างอิสระระหว่างธนาคารด้วยกัน มีความเข้มงวดในการโอนถ่ายข้อมูลออกนอกประเทศ ซึ่งถือเป็นการกีดกันการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สำคัญอีกด้วย

4. การรวมกันทางการค้าในเอเชียที่มีแนวโน้มมุ่งไปสู่จีนและอินเดีย (Pan Asia trade flow and focus on China and India) เทรนกำลังจะเปลี่ยนไป สิงคโปร์ จีนและอินเดียจะกลายเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นธนาคารอาเซียนอาจจะต้องแข่งขันกับผู้เล่นในระดับประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่เข้มแข็ง ซึ่งทำให้มีการแข่งขันที่สูงมาก เช่น ธนาคารอาเซียนที่มีขนาดใหญ่ แต่ก็ยังเล็กกว่าธนาคารจีนที่ขนาดที่ใหญ่กว่า

5. การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องการอำนวยความสะดวกด้าน credit ข้ามพรมแดน (Lack of standard infrastructure to facilitate cross border credit) การมีระบบฐานข้อมูลทางสินเชื่อและระบบการจัดอันดับที่เข้มแข็ง เป็นกระบวนการสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพ ความถูกต้องและอำนาจตัดสินใจในการให้สินเชื่อ

6. การขาดแคลนมาตรฐานของภูมิภาคที่เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการและโครงสร้างพื้นฐานร่วมในอาเซียน (Lack of standardization across region with respect to operational process and common infrastructure) การขาดแคลนในส่วนข้อมูลร่วมกันของ Know Your Customer (KYC) เพิ่ม cost ให้กับธนาคารและลูกค้าไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

การลดอุปสรรค: การสำรวจแนวทางการแก้ปัญหาที่แท้จริงและตรงจุด

1. การจัดตั้งธนาคารอาเซียนร่วมกัน (The PAN ASEAN Banking Pass) : การมีธนาคารอาเซียนร่วมกันจะให้ผลประโยชน์แก่ลูกค้ามากมาย เช่น วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) อัตราค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า การผสมผสานการจัดการและการดำเนินงานที่ดีขึ้น มีการแบ่งบันข้อมูลที่มีประสิทธิภาพขึ้นและการดำเนินการที่จะเปิดโอกาสให้บริษัทในอาเซียนขยายตัวไปสู่อินเดียและจีน อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบที่มีนั้น ต้องแน่ใจว่าจะทำให้การเข้าถึงบริการด้านการเงินอย่างอิสระนั้นจะไม่เป็นภัยต่อผู้ประกอบการธนาคารภายในประเทศ หรือเป็นเหตุให้เศรษฐกิจถดถอยลง ซึ่งธนาคารต่างชาติอาจใช้ประโยชน์ในเรื่องนี้ในการตักตวงผลประโยชน์และปล่อยให้ธนาคารภายในประเทศเสี่ยงภัยมากขึ้น ทั้งในเรื่องธุรกิจที่ไม่มีผลกำไรซึ่งขาดความสามารถในเรื่องการอุดหนุนข้ามประเภทบริการ และยังมีข้อน่ากังวลในเรื่องการมีอิทธิพลที่มากเกินไปของธนาคารต่างชาติซึ่งอาจทำให้ยากต่อการแก้ ปัญหาในกรณีที่เกิดวิกฤติทางการเงินขึ้น

2. การเคลื่อนย้ายบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญบริการสาขาการเงินอย่างเสรี (Free Talent Mobility) : การเคลื่อนย้ายบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญบริการสาขาการเงินเป็นหลักการที่สำคัญในการเปิดเสรีบริการด้านการเงิน ด้วยมีกฎ ระเบียบที่มีข้อจำกัดทำให้ธนาคารในภูมิภาคเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาการเงินค่อนข้างยาก อีกทั้งในตลาดแรงงาน มีช่องว่างของระดับความสามารถ ที่จะต้องมีความสามารถระดับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นจึงจะเข้ามาในระบบนี้ได้ จึงต้องมีการฝึกอบรมบุคคลในท้องถิ่นเพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นควรมีการอนุญาตและส่งเสริมการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญ ต่างๆ โดยการเคลื่อนย้ายบุคคลอย่างเสรีจะมีประโยชน์หลายประการ เช่น ส่งเสริมให้รู้จักและเข้าใจผลิตภัณฑ์บริการการเงินต่างๆ และส่งเสริมความสามารถแนะนำลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว การถ่ายทอดนวัตกรรมใหม่ๆ การเติมเต็มการขาดแคลนแรงงานด้านนี้ เป็นต้น

3. การมีโมเดลพันธมิตรของอาเซียน (ASEAN Alliance model) : โมเดลพันธมิตรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีประโยชน์ เช่นในอุตสาหกรรมสายการบินที่มี The Star Alliance ซึ่งจะใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน เช่น การซื้อตั๋ว หรือ ระบบทาง it ร่วมกัน ดังนั้น ธนาคารก็ควรใช้ระบบนี้ในการดำเนินการ ในปัจจุบันก็มีการดำเนินการในลักษณะนี้ เช่น Kbank มีหุ้นส่วนกับธนาคารท้องถิ่นในอาเซียน ซึ่งการดำเนินธุรกิจสมาพันธ์นั้นจะมีลักษณะไม่ยุ่งยากและมุ่งเน้นไปถึงบริการทางการเงินและการรับช่วงต่อ และในส่วนของกฎระเบียบการกำกับดูแลของโมเดลนี้ ควรที่จะยืดหยุ่นให้มีสภาพคล่อง โดยโมเดลนี้มีประโยชน์หลายประการ เช่น การเข้าถึงแหล่งสินเชื่อในประเทศและระหว่างประเทศได้ง่ายขึ้น และค่าธรรมเนียมที่ลดลงเพราะไม่ต้องไปลงทุนตั้งธนาคารสาขาในประเทศอื่น

4. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเรื่อง Credit Bureau อาเซียนร่วมกัน (Building Common Credit Bureau Infrastructure) : การขยายการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อนั้น จำเป็นต้องมีระบบ Credit Bureau อาเซียนร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงพอ การจัดทำระบบ Credit Bureau ร่วม สามารถสนับสนุนการการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อของ SME มากขึ้น มีหลักฐานที่แสดงว่าการมีระบบ Credit Bureau ที่เข้มแข็งสามารถช่วยลดอุปสรรคการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ เช่น ในประเทศที่มีระบบ Credit Bureau ที่เข้มแข็ง จะมีการ approved สินเชื่อแก่ SME มากกว่าประเทศที่ไม่มีระบบ Credit Bureau เป็นต้น

5. การมีหน่วยงานอาเซียนร่วมกันในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Common Credit Rating Agency) : การมีหน่วยงานอาเซียนร่วมกันในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือช่วยในการพัฒนาตลาดทุน ช่วยให้ภาคธนาคารเห็นถึงความน่าเชื่อถือของลูกค้า SME และช่วยเพิ่มช่องทางการออมเงินในภูมิภาคกับการเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้ อีกทั้งประโยชน์ของการมีหน่วยจัดอันดับความน่าเชื่อถือร่วมกันในอาเซียน ทำให้การเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายขึ้นเมื่อมีหน่วยงานในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ใช้มาตรฐานเดียว ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ใช้มาตรฐานเดียว อีกทั้งความน่าเชื่อถือของระบบการจัดอันดับความน่าเชื่อถือช่วย SME ให้มีโอกาสเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น

6. การโอนถ่ายข้อมูลอย่างอิสระ (Free Data Flow/Off-shoring) : ภาคธนาคารกับการโอนถ่ายข้อมูลอย่างอิสระที่มีขั้นตอนมีมาตรฐาน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยนั้น ช่วยทำให้เพิ่มความมั่นใจต่อประสิทธิภาพ ความสามารถในการขยายระบบและคุณภาพของบริการ กฎระเบียบที่มีอยู่ไม่ตอบโจทย์เรื่องการโอนถ่ายข้อมูลบริการข้ามพรมแดนเท่าใดนัก เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องความอ่อนไหวของข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย แต่การอนุญาตให้ภาคธนาคารสามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ได้เสรีทั้งภูมิภาคเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการแค่ภายในท้องถิ่นนั้น ถือเป็นการสนับสนุนไปสู่เป้าหมายในระดับภูมิภาคของการเปิดเสรีภาคการเงินในอาเซียน โดยมีผลประโยชน์ที่สำคัญต่อขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น สามารถจัดการความเสี่ยงได้ในการที่สามารถแก้ปัญหาได้ทันถ่วงทีและการควบคุม เช่น ความสามารถในการตรวจสอบได้ทันถ่วงทีแบบ real time และสามารถควบคุมได้

7. การมีมาตรฐานร่วมกันของโครงสร้างพื้นฐานในระบบการตั้งชื่อในผลิตภัณฑ์ และการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ (Standardization of Nomenclature, Documentation, and Common Infrastructure) : มีมาตรการในทางปฏิบัติมากมายที่จะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยสนับสนุนภาคธนาคารให้มีเป้าหมายในระดับภูมิภาค และการมีมาตรฐานร่วมกันของโครงสร้างพื้นฐานในระบบการตั้งชื่อในผลิตภัณฑ์ และการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ เป็นมาตรการที่สำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเงินเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น ในสหภาพยุโรป มีการจัดทำมาตรฐานร่วมกันทำกระบวนต่างๆ ให้ง่ายขึ้น ลูกค้าสามารถใช้รูปแบบเดียวในระบบธนาคารทั้ง 33 ประเทศ การจะใช้รูปแบบนี้ให้ประสบความสำเร็จนั้น จะต้องสร้างให้สมาชิกสร้างโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน เข้าถึงตลาดแรงงานของผู้เชี่ยวชาญบริการด้านการเงินร่วมกันในระบบ และได้รับการสนับสนุนจากทุกประเทศสมาชิก โดยมีผลประโยชน์พื้นฐานคือ ค่าธรรมเนียมถูกลง มีขั้นตอนที่เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สรุป

การรวมตัวของภาคบริการด้านการเงินในระดับภูมิภาค อาจยากต่อการดำเนินการเพราะไม่แน่ชัดว่าควรเปิดเสรีในระดับไหนจึงจะเหมาะสม โดยเฉพาะช่วงหลายปีที่ผ่านมาในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงิน ตัวอย่างในสหภาพยุโรป มีบางความเห็นมองว่าการรวมตัวกันระดับภูมิภาคในบริการด้านการเงินที่มีการเปิดเสรีในระดับสูง อาจจะเป็นสาเหตุของวิกฤตทางการเงินก็เป็นได้ แต่บางความเห็นมองว่า อาจเพราะการรวมตัวกันในระดับภูมิภาคไม่มากพอก็เป็นได้ ดังนั้น อาเซียนควรเลือกระดับการรวมตัวในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ตรงกับระดับความต้องการของภูมิภาคนี้ ให้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของภูมิภาคอื่นและเรียนรู้จากวิกฤติทางการเงินในอดีตของตนที่ผ่านมา ฝ่านนโยบายต้องเปรียบเทียบให้ดีและต้องสร้างความสมดุลกับกลุ่มประเทศอาเซียน อีกทั้งการสร้างระบบการเงินที่มั่นคงถือเป็นภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงที่ดี

ส่วนธุรกิจบริการ

สำนักการค้าบริการและการลงทุน

พฤษภาคม 2557

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ