จากสถิติของ EU ในปี 2555/56 (ตุลาคม-กันยายน) กัมพูชาส่งออกข้าวไปตลาด EU รวมประมาณ 195,544 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 79 ทำให้ข้าวกัมพูชามีส่วนแบ่งตลาดใน EU ประมาณร้อยละ 16 โดยสมาชิก EU ที่เป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่เรียงตามลำดับ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอิตลาลี ปัจจุบัน ข้าวที่ EU นำเข้าส่วนใหญ่มาจากอินเดีย และส่วนที่เหลือนำเข้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries : LDCs) เช่น เมียนมาร์ และกัมพูชา ภายใต้ข้อตกลง Everything but Arms (EBA) โดยไม่มีภาษีนำเข้า
การตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวของกัมพูชา ทำให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนกัมพูชาต่างตื่นตัวในการใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยในส่วนของภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งองค์กรข้าวแห่งใหม่ คือ สมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation : CRF) เพื่อให้เป็นองค์กรรวมเดียวสำหรับอุตสาหกรรมข้าวทั้งระบบ ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การสี การกระจายสินค้า และการส่งออก เนื่องจากที่ผ่านมาองค์กรภาคเอกชนที่รวมตัวกันมีการดำเนินงานที่เน้นเพียงบางส่วนของระบบ เช่น การตลาดและส่งออก และในบางครั้งยังมีการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ สมาพันธ์ข้าวกัมพูชามีภารกิจสำคัญ คือ การให้การสนับสนุนการผลิตและส่งออกข้าวของกัมพูชา รวมถึงการจัดหาแหล่งเงินทุน/เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำให้แก่ชาวนา และการยกระดับคุณภาพข้าวให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยที่ผ่านมา ข้าวหอมกัมพูชาเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศมากขึ้น และยังได้รับรางวัลข้าวที่ดีที่สุดของโลกถึงสองปีติดต่อกัน (ปี 2555 / 2556)
ในส่วนของภาครัฐ กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกัมพูชาได้ดำเนินการเพื่อลดขั้นตอนการส่งออก รวมทั้งการนำระบบ ICT มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิธีการ และได้ยกเลิกค่าธรรมเนียมศุลกากร (customs fees) ให้แก่ผู้ส่งออกข้าว ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 โดยประเมินว่าจะช่วยลดต้นทุนการส่งออกข้าวได้อย่างน้อย 15 เหรียญสหรัฐ ต่อหนึ่งตู้คอนเทนเนอร์ อีกทั้งยังเป็นมาตรการที่จะช่วยลดการทุจริตคอรัปชั่นจากการผ่านพิธีการด้านส่งออกไทย มาสวมสิทธิแทนภายใต้ข้อตกลง EBA จึงได้เรียกร้องให้กัมพูชาเพิ่มความรัดกุมในการตรวจสอบแหล่งกำเนิดข้าว เช่น การมอบอำนาจการตรวจสอบให้แก่องค์กรที่สาม (third party surveyors) ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการส่งออกข้าวสูงขึ้น แต่ก็ยังคุ้มค่ากับการไม่ต้องสูญเสียสิทธิประโยชน์ภายใต้ EBA และยังเป็นการรักษา หรือเพิ่มพูนส่วนแบ่งตลาดข้าวกัมพูชาใน EU
จากการประเมินของ USDA ในปี 2556/57 (ตุลาคม-กันยายน) กัมพูชาจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 4.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.5 โดยคาดว่าจะมีปริมาณการบริโภคภายในประเทศ 3.8 ล้านตัน และจะมีการส่งออกข้าวได้ถึงปริมาณ 1 ล้านตัน ในช่วงเวลาดังกล่าว
บทวิเคราะห์ ความท้าทายของอุตสาหกรรมข้าวกัมพูชาในปัจจุบัน คือ การพัฒนาคุณภาพข้าวให้เป็นที่ยอมรับในตลาดระหว่างประเทศ ผ่านการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว เช่น โรงสีข้าว เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพดีในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน กัมพูชายังมีข้อจำกัดด้านการสีข้าว และต้องพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทยและเวียดนาม ในการสีข้าวส่วนที่เหลือ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากข้อจำกัดของผู้สีข้าวภาคเอกชนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อใช้ในการรับซื้อข้าวจากชาวนา และอีกความท้าทาย คือ การส่งเสริมให้ชาวนาใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด เช่น EU ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งราคาข้าวส่งออกและผลผลิตข้าวต่อไร่
ประมวลข้อมูลจาก : http://oryza.com, www.phnompenhpost.com
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630