แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน (ปี ๒๕๕๙-๒๕๖๓)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 23, 2016 14:58 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน (แผนฯ) ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๖ ในสมัยของเหมา เจ+อตง ซึ่งเป็นผู้นำรุ่นแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้ยึดถือรูปแบบการพัฒนามาจากแบบแผนของสหภาพโซเวียตในยุคนั้นที่เน้นการวางแผนจากส่วนกลางโดยอาจแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงแรก เป็นช่วงก่อนการเปิดประเทศและการปฏิรูปเศรษฐกิจ (ปี ๒๔๙๖ - ๒๕๒๑) ได้แก่ แผนฯ ฉบับที่ ๑ (ปี ๒๔๙๖ - ๒๕๐๐) ถึง แผนฯ ฉบับที่ ๔ (ปี ๒๕๑๔ - ๒๕๑๘) โดยเน้นแก้ปัญหาความอดอยากของประชาชน ช่วงที่ ๒ เป็นช่วงหลังการเปิดประเทศและการปฏิรูปเศรษฐกิจ (พ.ศ.๒๕๒๑ - ปัจจุบัน) ได้แก่ แผนฯ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๑๙ - ๒๕๒๓) เป็นต้นไป เน้นการเยียวยาและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจรวมทั้งการประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจและการเปิดประเทศ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน (แผนฯ ๑๓) มีความสำคัญกับจีนค่อนข้างมาก เนื่องจากสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กำหนดให้ประเทศจีนเป็นสังคมกินดีอยู่ดี (a welloff society) ภายในปี ๒๕๖๓ ซึ่งแผนนี้จะเป็นแผน ๕ ปี สุดท้ายก่อนครบกำหนด นอกจากนี้ แผนฯ ฉบับนี้ยังเป็นที่จับตามองเนื่องจากเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกที่ถูกร่างในสมัยของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

ในช่วงการดำเนินแผนฯ ๑๓ จีนจะเผชิญกับสภาวะการเติบโตชะลอตัวลงเชิงโครงสร้าง (Structural Slowdown) ในระยะกลางและระยะยาว ผลจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนในหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้จีนเผชิญกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่มากเกินอุปสงค์ปริมาณการก่อหนี้จากรัฐบาลท้องถิ่นที่สูงและขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งค่าแรงที่สูงขึ้น ดังนั้น เป้าหมายของจีนไม่ได้อยู่ที่การเติบโตทางเศรษฐกิจอีกต่อไปแต่อยู่ที่การปรับโครงสร้างการเติบโตและปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ดังนั้น แผนฯ ๑๓ จะเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีน

แผนฯ ๑๓ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ร่างโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชนรวม ๕๒ คน ซึ่งคาดว่าร่างฉบับแรกจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ และจะได้รับการเห็นชอบในการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติในเดือนมีนาคม ๒๕๕๙ ก่อนจะประกาศเผยแพร่แก่สาธารณชนต่อไป

นโยบายการพัฒนาหลัก ๑๐ ด้าน ประกอบด้วย

๑.การรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ

๒.การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ

๓.การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

๔.การส่งเสริมนวัตกรรม

๕.การส่งเสริมการเกษตรยุคใหม่

๖.การปฏิวัติกลไกและระบบ

๗.การพัฒนาด้านต่างๆอย่างสมดุลและสอดคล้องกัน

๘. การเสริมสร้างอารยธรรมทางระบบนิเวศ (ecological civilization)

๙.การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

๑๐.การบรรเทาความยากจน

นอกจากนี้ แผนฯ ๑๓ ยังมีนโยบาย "การพัฒนาห้าด้านพร้อมกัน" ได้แก่ ๑) การวิจัยอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่เชิงลึก ๒) การพัฒนาสู่สังคมเมือง (urbanization) ๓) การพัฒนาสารสนเทศ ๔) การพัฒนาการเกษตรยุคใหม่และ ๕) การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ร่วมกับการดำเนินนโยบาย "รอบด้านสี่ด้าน" ได้แก่ ๑) การสร้างสังคมกินดีอยู่ดีรอบด้าน ๒) การปฏิรูปเชิงลึกรอบด้าน ๓) การเคร่งครัดในการปกครองพรรครอบด้าน และ ๔) การใช้กฎหมายรักษาประเทศรอบด้าน

เป็นที่การคาดการณ์กันว่า แผนฯ ฉบับที่ ๑๓ จะทำให้ GDP ของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗ และจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีการกำหนดความสัมพันธ์และบทบาทของภาครัฐกับกลไกตลาดอย่างเหมาะสมเพื่อให้กลไกตลาดมีบทบาทสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรซึ่งจะทำให้จีนขยับไปอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศที่มีรายได้สูง อย่างไรก็ดี เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนค่อนข้างมาก แผนฯ ๑๓ จะมีนโยบายการกระจายรายได้และให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารและคุณภาพอาหารนอกจากนี้ ตัวชี้วัดใหม่ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของประชาชนและการเพิ่มมาตรการด้านการรักษาระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ก็เป็นประเด็นสำคัญที่จะถูกนำมาบรรจุรวมไว้ในแผนฯ ๑๓ ด้วย สำหรับ เป้าหมาย ๔ เป้าหมาย ที่มีการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ ๑๒ ได้แก่ การใช้พลังอย่างประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โครงสร้างการใช้พลังงาน และปริมาณการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์แต่ยังไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จอาจถูกนำมาใส่ในแผนฯ ๑๓ ที่จะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม ๒๕๕๙ ต่อไป

บทวิเคราะห์

ภาครัฐและเอกชนไทยควรติดตามความคืบหน้าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓ ของจีนอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับ ๑ ของไทยและเป็นตลาดการค้าการลงทุนที่ใหญ่แห่งหนึ่งของโลกเพื่อมองหายุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการเจรจาและมองหาโอกาสในการทำธุรกิจและลงทุนในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญโดยเฉพาะในสาขาที่เป็นจุดแข็งของไทย อาทิ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เป็นต้น

ที่มา:

๑.เว็บไซต์ China Economic Observer. ๒๕๔๘. เริ่มการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและตลาดจะชัดเจนขึ้น. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.eeo. com.cn/๒๐ ๑๔/ ๐๕๑๐/๒๖๐๓๖๑.shtml. ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘

๒. Owen Haacke. ๒๕๔๘. Understanding China's ๑๓th Five-Year Plan. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.chinabusinessreview.com/understanding-chinas-๑๓th-five-year-plan. ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘

๓.นายคุณากร เหวิน. ๒๕๔๘. การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ ๑๘ ครั้งที่ ๓ เจาะลึกการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ!!. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/ th/china-economicbusiness/result.php?SECTION_ID=๔๔๒&ID=๑๓๓๒๑. ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘

๔. เว็บไซต์ป่ายตู้. ๒๕๔๘. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://baike.baidu.com/view/๑๓๐๑๕๕๑๑.htm?fromtitle=%E๒%๘๐%๙C%E๕%๘D%๘๑%E๔%B๘%๘๙%E๔%BA %๙๔%E๒%๘๐%๙D%E๘%A๗%๘๔%E๕%๘๘%๙๒&fromid=๓๖๗๒๘๓๐&type=syn. ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘

๕. เว็บไซต์ Sina. ๒๕๔๘. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓ มีความสำคัญมากแค่ไหน: แผน ๕ ปี ฉบับแรกของผู้นำชุดใหม่. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://finance.sina.com.cn/china/ ๒๐๑๕๐๘๐๓/๐๒๓๙๒๒๘๕๖๘ ๓๔.shtml. ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘

๖. สือฟางเซิ่ง. ๒๕๔๘. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๓: จะมีการเปลี่ยนแปลนโยบายด้านใดบ้าง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://wallstreetcn.com/node/๒๒๒๒๗๘. ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘

๗. พ.อ.ไชยสิทธิ ตันตยกุล. ๒๕๔๘. รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนกับความสอดคล้องในการป้องกันประเทศ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.vijaichina.com/sites/default/files/%E๐%B๘%A๓%E๐% B๘%B๙%E๐%B๘%๙B%E๐%B๙%๘๑%E๐%B๘%๙A%E๐%B๘%๙A%E๐%B๘%๘๑%E๐%B๘%B๒%E๐%B๘%A๓%E ๐%B๘%๙E%E๐%B๘%B๑%E๐%B๘%๙๒%E๐%B๘%๙๙%E๐%B๘%B๒%E๐%B๙%๘๐%E๐%B๘%A๘%E๐%B๘%A ๓%E๐%B๘%A๙%E๐%B๘%๙๐%E๐%B๘%๘๑%E๐%B๘%B๔%E๐%B๘%๘๘%E๐%B๙%๘๑%E๐%B๘%A๕%E๐%B ๘%B๐%E๐%B๘%AA%E๐%B๘%B๑%E๐%B๘%๘๗%E๐%B๘%๘๔%E๐%B๘%A๑%E๐%B๘%๘๒%E๐%B๘%AD%E ๐%B๘%๘๗%E๐%B๘%๘๘%E๐%B๘%B๕%E๐%B๘%๙๙_๐.pdf. ๕ ตุลาคม ๒๕๕๘

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ