นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) มีนโยบายมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยดึงศักยภาพของท้องถิ่นเพื่อสร้างโอกาสและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืนนั้น ในช่วงต้นปี 2561 ที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจับมือกับกรมปศุสัตว์ และกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมของเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยในสินค้าเกษตรสำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ กาแฟ โคเนื้อ และโคนม รับมือการค้าเสรีและใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดของคู่ค้าเพื่อส่งออก โดยสำหรับกาแฟลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายและชุมพร สำหรับโคเนื้อลงพื้นที่จังหวัดนครพนม และสำหรับโคนมลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ สระบุรี และกาญจนบุรี ผลการลงพื้นที่พบว่าเกษตรกรเห็นความสำคัญของการยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตร เพื่อสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเตรียมพร้อมรับมือการค้าเสรี
นางอรมน กล่าวว่า ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ไทยมีกำหนดต้องเปิดตลาดโดยลดภาษีเหลือ 0% ในสินค้ากาแฟ ในวันที่ 1 มกราคม 2563 หางนมเวย์ เนย ไขมันเนย เนยแข็ง และโคเนื้อ ในวันที่ 1 มกราคม 2564 และในสินค้านมและครีม เครื่องดื่มประเภทนมปรุงแต่งและนมผงขาดมันเนย ในวันที่ 1 มกราคม 2568 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจึงได้จับมือกรมปศุสัตว์ และกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่เพื่อติดตามการเตรียมความพร้อมของเกษตรกรและผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวข้องว่า นับตั้งแต่ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย – ออสเตรเลีย และไทย – นิวซีแลนด์ ใช้บังคับในปี 2548 และสินค้าของส่วนใหญ่ของไทย-ออสเตรเลีย และไทย-นิวซีแลนด์ ได้ลดภาษีลงเหลือ 0% แล้ว แต่ยังเหลือสินค้ากาแฟ โคนม เนื้อวัวและผลิตภัณฑ์ที่ไทยยังมีการกำหนดโควตาภาษีและเพดานการนำเข้าอยู่ โดยจะต้องยกเลิกใน 3-8 ปี ข้างหน้า เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยในสินค้าดังกล่าวมีการเตรียมปรับตัวรองรับการเปิดเสรีที่จะเกิดขึ้นอย่างไร รวมถึงโครงการสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงานภาครัฐเพื่อเตรียมความพร้อมของเกษตรกร ทั้งในส่วนกองทุน FTA ของกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจากการลงพื้นที่พบว่า เกษตรกรไทยเห็นความสำคัญของการพัฒนาและรักษาคุณภาพสินค้าและกระบวนการผลิต การคัดเลือกสายพันธุ์โคเนื้อโคนมที่มีคุณภาพ การคัดสรรเมล็ดกาแฟคุณภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รวมถึงการนำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตและแปรรูปมากขึ้น ขณะเดียวกันได้มีการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในสินค้ากาแฟและโคเนื้อ เพื่อรักษาชื่อเสียง ภูมิปัญญา ตลอดจนยกระดับราคาสินค้า รวมทั้งพบว่าเกษตรกรมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนกันมากขึ้น เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและหันมาดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์และทำตลาดเอง เป็นทั้งผู้ผลิตสินค้าต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นอกจากนี้ พบว่าวิสาหกิจชุมชนยังต้องการการสนับสนุนเรื่องการทำแผนธุรกิจและแผนการตลาด ซึ่งกระทรวงพาณิชย์สามารถเข้าไปช่วยพัฒนาและเสริมสร้างองค์ความรู้ได้ โดยเฉพาะการพัฒนาเกษตรกรยุคการค้าเสรีให้มีความเป็นมืออาชีพในธุรกิจ เพื่อยกระดับและสร้างความแตกต่างให้สินค้า การขยายตลาดผ่านการทำแฟรนไชส์ การหาพื้นที่ขายให้แก่เกษตรกร เช่น ร้านธงฟ้าประชารัฐ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดและลดภาษีของคู่ค้าเช่นจีนและอาเซียน เป็นต้น
ทั้งนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้รายงานสรุปผลการลงพื้นที่เบื้องต้นต่อกระทรวงพาณิชย์แล้ว และจะส่งให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบ เพื่อพิจารณาใช้ประโยชน์ต่อไป สำหรับแผนในช่วง 1-2เดือนข้างหน้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศมีกำหนดลงพื้นที่พบเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการโคเนื้อในภาคกลางช่วงเดือนพฤษภาคม และจะร่วมกับ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์
28 มีนาคม 2561
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ