รัฐช่วยกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อปรับตัว

ข่าวทั่วไป Tuesday September 30, 2008 15:03 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

          รัฐบาลทุ่มงบ 133 ล้าน ทำ 8 โครงการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อและกระบือไทย รองรับการเปิดเสรีในอีก 12 ปีข้างหน้า “ชุติมา”ประเมิน 3 ปีการนำเข้าภายใต้ FTA ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ พบนำเข้าเพิ่มขึ้นจริง แต่เป็นการนำเข้าเพื่อผู้บริโภคระดับบนและผลิตส่งออก ไม่ได้แข่งขันกับสินค้าของไทย  ส่วนแบ่งตลาดเครื่องในออสเตรเลียวูบเหลืออันดับสามจากที่เคยเป็นที่หนึ่ง 
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงโค และกระบือ ว่าขณะนี้รัฐบาลได้มีการอนุมัติโครงการต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรแล้วจำนวนทั้งสิ้น 8 โครงการ วงเงิน 133.2 ล้านบาท จากเงินกองทุน 2 กองทุน คือ กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ที่มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และกองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากข้อตกลงเขตการค้าเสรี (กองทุน FTA) มีกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
โครงการเหล่านั้นได้แก่ โครงการคัดเลือกพ่อพันธุ์กำแพงแสนเพื่อใช้ผลิตน้ำเชื้อ โครงการปรับปรุงพันธุกรรมโคเนื้อของประเทศไทยโดยการใช้พ่อพันธุ์ชั้นดี โครงการจัดตั้งตลาดกลางโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน โครงการปรับโครงสร้างสินค้าเนื้อโคขุนและระบบตรวจสอบย้อนกลับ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านโคเนื้อ โครงการศึกษาเพื่อปรับยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบการค้าเสรี โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ และโครงการรณรงค์การบริโภคเนื้อโคและการขยายตลาด
“เป้าหมายในการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อมุ่งหวังให้กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อและกระบือของไทย มีการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งทั้งระบบ และเป็นการเตรียมการรองรับการเปิดเสรีอย่างแท้จริงในอีก 12 ปีข้างหน้า หรือปี 2563”นางสาวชุติมากล่าว
นางสาวชุติมากล่าวว่า สำหรับการนำเข้าสินค้าเนื้อโค กระบือ และเครื่องในจากต่างประเทศของไทยนั้น แม้ในช่วงก่อนที่ไทยจะทำ FTA กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ไทยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคภายในประเทศอยู่แล้ว และในปัจจุบัน FTA ไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ผู้เลี้ยงโค กระบือของไทยได้รับผลกระทบ เพราะรัฐบาลได้จัดให้สินค้าโคและกระบือเป็นสินค้าในกลุ่มอ่อนไหว โดยจะมีมาตรการปกป้องพิเศษ หากมีการนำเข้าเกินปริมาณที่กำหนดและยังมีการชะลอการลดภาษีเป็นศูนย์นานถึง 15 ปี (จากปี 2548-2563)
โดยการนำเข้าสินค้าเนื้อโค และกระบือในช่วง 3 ปีก่อนทำ FTA (ปี2545-2547) ไทยนำเข้ามูลค่าเฉลี่ย 120 ล้านบาท ปริมาณ 1,129 ตัน โดยนำเข้าจากออสเตรเลีย 80 ล้านบาท ปริมาณ 687 ตัน และนิวซีแลนด์ 15 ล้านบาท ปริมาณ 230 ตัน และ 3 ปีหลังทำ FTA (2548-2550) นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 240 ล้านบาท ปริมาณ 1,698 ตัน ทั้งนี้ ปริมาณนำเข้าที่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี ในปี 2548-2550 ให้ออสเตรเลีย คือ 776 ตัน 814.80 ตัน และ 855.54 ตัน และนิวซีแลนด์ คือ 500 ตัน 525 ตัน และ 551.25 ตัน ซึ่งเป็นการนำเข้าภายในโควตาที่จำกัดไว้ ส่วนที่เกินเสียภาษีตามปกติ
ส่วนการนำเข้าเครื่องในโค กระบือ ปี 2545-2547 นำเข้าจากต่างประเทศมูลค่าเฉลี่ย 20 ล้านบาท ปริมาณ 1,389 ตัน เป็นการนำเข้าจากออสเตรเลีย 9 ล้านบาท
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630
-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ