เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม 2551 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดงานสัมมนาเวทีสาธารณะ “ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย:เสียงจากประชาชน” ณ โรงแรม อมารี วอเตอร์เกท ประตูน้ำ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจกว่า 700 คนเข้าร่วมงานสัมมนา เพื่อรับฟังข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเจรจาเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบดังกล่าว และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกหรือเข้าไปลงทุนในอินเดีย และตัวแทนภาคส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การเสนอมาตรการรองรับผลกระทบที่เหมาะสม และปรับปรุงนโยบายการเปิดเสรีการค้าให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างทั่วถึงมากที่สุด
งานสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคุณชนะ คณารัตนดิลก รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย เพิ่มเติมจากความตกลงการค้าเสรีไทย-อินเดียที่มีอยู่ เนื่องจากในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าอินเดียจะมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลกและมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเอเชียหรือคิดเป็นมูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่กลับเป็นตลาดส่งออกเพียงอันดับที่ 14 ของอาเซียน ทำให้ยังมีช่องว่างสำหรับไทยในการขยายตลาดส่งออกอยู่มาก ซึ่งท่านรองอธิบดีเชื่อว่า หลังความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดียมีผลบังคับใช้ จะส่งผลให้การค้าการลงทุนระหว่างไทยกับอินเดียและประเทศอื่นๆในเอเชียใต้ขยายตัวอย่างชัดเจน เสมือนกับครั้งที่ไทยลงนามความตกลงทวิภาคีกับอินเดียเพื่อเปิดเสรีการค้าใน 82 รายการ ไทยกลับมาเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าในปี 2550 คิดเป็นมูลค่า 596 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวมากกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2549
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากความตกลงดังกล่าวมากถึงร้อยละ 80 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าความตกลงอื่นๆ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดียจะเปิดประตูสู่อินเดียและเอเชียใต้ โดยทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจะดำเนินการเปิดเสรีการค้ากับอินเดียในกรอบอื่นๆ เช่น กรอบ BIMSTEC ต่อไป
หลังจากนั้น ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “อาเซียน-อินเดีย: สู่อนาคตแห่งอดีตกาล” โดยกล่าวย้ำถึงสายสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมานับพันปี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน (Funan) อารยธรรมในประเทศไทยในทุกภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นหริภุญชัย ขอมโบราณ อยุธยา หรือศรีวิชัยล้วนมีรากฐานทางวัฒนธรรมและการเมืองการปกครองมาจากอินเดีย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆในอาเซียนยกเว้นฟิลิปปินส์ล้วนเป็นรัฐ “ภารตะภิวัต” (Indianized States) ทั้งสิ้น แต่ในภายหลัง อุษาคเนย์กลับถูกรุกรานด้วยชนชาติอื่นๆและนำไปสู่ยุคอาณานิคม บางประเทศ เช่น มาเลเซียและอินโดนีเซีย หันไปนับถือศาสนาอิสลาม ในขณะที่เมืองท่ามะละกาตกเป็นของโปรตุเกส อิทธิพลของอินเดียจึงเสื่อมถอยลงตามลำดับ แต่หลังอินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจปิด (Closed Economy) อยู่ระยะหนึ่งแล้ว อินเดียประสบวิกฤตการณ์ทางการเงินและได้เปิดเสรีการค้าการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการค้าการลงทุนระหว่างอินเดียกับอาเซียน จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ไทยได้ร่วมลงนามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย เพราะดร. ณรงค์ชัยเชื่อว่าการค้าระหว่างไทยกับคู่ภาคี มีการเกื้อหนุนกัน (Complimentarity) มากกว่ากา
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630