ขณะนี้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership : AJCEP) ได้มีผลบังคับใช้กับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2552 ที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญของการเปิดเสรีจะครอบคลุมการค้าสินค้าเป็นหลัก ส่วนการค้าบริการและการลงทุน ยังไม่มีข้อผูกพันเปิดเสรี แต่อาเซียนและญี่ปุ่นจะมีการเจรจากันในอนาคต จากการเปิดเสรีที่เกิดขึ้น อาเซียนและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะทยอยลดภาษีนำเข้าสินค้าจำนวนมากกว่าร้อยละ 90 ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ แต่ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจำนวนร้อยละ 90 ทันทีที่ความตกลงนี้มีผลใช้บังคับ และเมื่อเสร็จสิ้นการลดภาษีระหว่างกันแล้ว ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียนในจำนวนมากกว่าร้อยละ 92
นั่นแสดงให้เห็นว่า ไทยมีโอกาสที่จะส่งออกสินค้าบุกเจาะตลาดญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันประเทศอาเซียนอื่นก็มีโอกาสในการบุกเจาะตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าใครเตรียมความพร้อมได้ก่อน และใช้ประโยชน์จากข้อตกลงก่อน ก็ย่อมมีความได้เปรียบก่อน ทีนี้ลองมาดูกันว่า มีสินค้าส่งออกอะไรบ้างที่ไทยจะได้รับประโยชน์ภายใต้ความตกลงฉบับนี้ ซึ่งก็พบว่ามีสินค้าจำนวนมาก โดยในส่วนของสินค้าเกษตร เช่น มะพร้าว กล้วย มะม่วง ฝรั่ง ทุเรียน มะละกอ กุ้ง ปู ปลาหมึกยักษ์แช่แข็ง แมงกะพรุน ปลาปรุงแต่ง ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น และในส่วนของสินค้าอุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อัญมณีและเครื่องประดับ ไม้และผลิตภัณฑ์ รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องหนัง และชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อตกลง AJCEP กับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) พบว่า ญี่ปุ่นเปิดตลาดให้แก่ไทยเพิ่มขึ้นจำนวน 70 รายการ คิดเป็นมูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่นจากไทยประมาณ 51 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสินค้าสำคัญๆ เช่น เนื้อปลาแซลมอน หอยนางรม น้ำปลาและสิ่งสกัดที่ได้จากเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ ขิงอ่อน และไม้อัด ความตกลง JTEPA จะไม่ลดภาษีจนกว่าจะได้เริ่มการเจรจาใหม่ในปี 2554 แต่ว่าความตกลง AJCEP จะลดภาษีลงจากอัตราฐานร้อยละ 15-40 โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมูลค่าประมาณ 32.25 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปลาหมึกอบกรอบ พิซซ่าแช่แข็ง เพสทรีและขนมจำพวกเบเกอรี่อื่น ๆ ความตกลง JTEPA จะไม่ลดภาษี แต่ว่าความตกลง AJCEP จะลดภาษีลงจากอัตราฐานร้อยละ 4-50 โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมูลค่าประมาณ 16.66 ล้านเหรียญสหรัฐ มะเขือยาว ความตกลง JTEPA จะยกเลิกภาษีนำเข้าปี 2564 แต่ความตกลง AJCEP จะยกเลิกภาษีนำเข้าในปี 2560
นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์ในการสะสมกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออกสามารถนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศภาคีความตกลง AJCEP มาใช้ผลิตเป็นสินค้าส่งออก โดยได้รับการลดภาษีภายใต้ความตกลงนี้ด้วย เช่น สินค้าที่ได้จากการทำ Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้านก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกและได้รับการลดภาษีภายใต้ความตกลงได้อย่างเต็มที่ จึงถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ส่งออกในการค้ากับญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียน
ผู้ประกอบการควรศึกษาในรายละเอียดของความตกลง AJCEP และความตกลง JTEPA ว่ามีพันธกรณี ข้อบังคับ และสิทธิประโยชน์แตกต่างกันอย่างไร รวมถึงกฎถิ่นกำเนิดสินค้า ขั้นตอนหรือกระบวนการในการขอรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว เนื่องจากผู้ประกอบการไทยมีทางเลือกในการส่งออกไปญี่ปุ่นภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีถึงสองฉบับ ซึ่งความตกลงแต่ละฉบับจะมีความแตกต่างและเหมาะสมกับผู้ประกอบการไม่เหมือนกัน&n
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630