พาณิชย์เดินสายให้ข้อมูลนักลงทุนและผู้ประกอบการไทย ภายใต้โครงการ “พี่เลี้ยงนักลงทุน AEC : การปรับตัวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)” ครั้งที่ 2 ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู วันที่ 26 มิ.ย. หวังกระตุ้นนักลงทุนและผู้ประกอบการเป็น AEC พร้อมแนะแนวทางแสวงหาโอกาสจากการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุนที่เปิดกว้าง หลังชาติสมาชิกบรรลุข้อตกลงจัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ให้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2558
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในวันที่ 26 มิถุนายน 2552 ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนาให้ความรู้ให้กับนักลงทุนและผู้ประกอบการภายใต้โครงการ “พี่เลี้ยงนักลงทุน AEC : การปรับตัวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)” ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 2 ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการและนักลงทุนของไทย ให้เตรียมพร้อมในการเพิ่มโอกาสทางการค้า การลงทุนจากการปรับตัวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
“การสัมมนาโครงการพี่เลี้ยงนักลงทุน AEC การปรับตัวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายสาขา การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และที่สำคัญคือการสร้างอนาคตใหม่ให้ประเทศไทย นอกจากนี้ต้องขอขอบคุณการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่เป็นพันธมิตรหุ้นส่วนของเราที่ช่วยกันขับเคลื่อน และเชื่อว่าคนไทยทุกคนจะต้องรู้จักเข้าใจ เข้าถึงและสามารถที่ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงระหว่างประเทศ” นางนันทวัลย์ กล่าว
ด้านนางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่านิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตระหนักถึงหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและยกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมของอาเซียนและจะเป็นกลไกของรัฐบาลในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ จึงต้องการให้ผู้ประกอบการในทุกนิคมอุตสาหกรรมได้รับข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อกำหนดทิศทางธุรกิจเตรียมรับโอกาสใหม่ที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเสริมเมืองอุตสาหกรรมของอาเซียน
“หลังจากที่เกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ประกอบการจะส่งออกสินค้าไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างเสรี เนื่องจากการเคลื่อนย้ายสินค้าในกลุ่มทุนและบริการจะมีมากขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยไม่มีการกีดกั้นด้วยกำแพงภาษีนำเข้า โดยสัดส่วนมูลค่าการส่งออกกว่า 20% มาจากผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม จึงถือได้ว่าผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะนำเข้าและส่งออกเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ในการการผลิตที่สำคัญๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน นอกจากนี้บุคลากรของไทยที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพที่สนใจจะประกอบอาชีพในประเทศหมู่สมาชิกอาเซียนได้ง่ายขึ้น ทำให้มีโอกาสในการหางานและรายได้เพื่อดำเนินชีวิตได้มากขึ้น” นางมณฑา กล่าว
ปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรม ทั้งหมด 38 แห่ง ซึ่งกระจายอยู่ใน 15 จังหวัดทั่วประเทศและกระจายอยู่ทั้ง 3 เขต ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยขณะนี้ในนิคมอุตสาหกรรมมีโรงงาน 3,142 โรงงาน โดยอยู่อย่างเป็นระบบระเบียบ มีการลงทุนประมาณ 1,800,000 ล้านบาท มีการจ้างงานประมาณ 450,000 คน
ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังกล่าวอีกว่า จากฐานข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630