ผลที่คาดว่าจะได้รับจากข้อเสนอบนโต๊ะเจรจารอบโดฮา สิงหาคม 2552 (WHAT’S ON THE TABLE? THE DOHA ROUND AS OF AUGUST 2009)

ข่าวทั่วไป Monday October 12, 2009 15:20 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

สถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สัน สหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์รายงานเรื่อง What’s on the Table? The Doha Round as of August 2009 เมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ซึ่งศึกษาวิเคราะห์ว่า หากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) สามารถสรุปผลการเจรจา รอบโดฮาได้ จะก่อให้เกิดผลดีต่อการค้าโลกโดยจะทำให้การส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้น 180-520 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ผลิตภัณฑ์มวลรวม (Gross Domestic Product : GDP) ของโลกเพิ่มขึ้น 300-700 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และช่องว่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา จะลดลง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

(1) การลดภาษีสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมตามแบบแผนการลดภาษี (Modality) ที่ได้เสนอไว้บนโต๊ะเจรจารอบโดฮา จะทำ ให้การส่งออกโลกเพิ่มขึ้น 65 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และจีดีพีโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 100 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

(2) การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมในสาขาริเริ่ม ซึ่งจะลดภาษีมากกว่าแบบแผนการลดภาษีจำนวน 3 สาขา ได้แก่ สาขาเคมีภัณฑ์ สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า และสาขาสินค้า/บริการด้านสิ่งแวดล้อม จะทำให้การส่งออกโลกเพิ่มขึ้น 57.1 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ ต่อปี และจีดีพีโลกเพิ่มขึ้น 103.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

(3) หากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกสามารถลดอุปสรรคภาคบริการลงเป็นสัดส่วนที่เทียบเท่าการลดภาษีสินค้าเกษตรและ อุตสาหกรรมร้อยละ 10 จะทำให้การส่งออกโลกเพิ่มขึ้น 56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และจีดีพีโลกเพิ่มขึ้น 100 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

(4) การเจรจาในส่วนที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ถือว่ามีความคืบหน้ามากที่สุด ซึ่งหาก ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกสามารถพัฒนาการอำนวยความสะดวกทางการค้าของตนให้ทัดเทียมกับมาตรฐานที่ได้ตั้งไว้ 4 ด้าน อันได้แก่ ประสิทธิภาพของท่าเรือและท่าอากาศยาน (Port Efficiency) สิ่งแวดล้อมทางศุลกากร (Customs Environment) สภาพแวดล้อมทางกฎ ระเบียบของตน (Own Regulatory Environment) และโครงสร้างพื้นฐานในสาขาบริการ (Service-Sector Infrastructure) จะทำให้ การส่งออกโลกเพิ่มขึ้น 340 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และจีดีพีโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 385 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

การเปิดเสรีสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม

หากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกตกลงที่จะลดภาษี ปริมาณโควตา และการอุดหนุนสินค้าเกษตรของตนตามแบบแผนการลดภาษีที่ได้ เสนอไว้บนโต๊ะเจรจารอบโดฮา จะทำให้การส่งออกโลกเพิ่มขึ้น 20.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และจีดีพีโลกจะเพิ่มขึ้น 29.9 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ ต่อปี (ดูตารางที่ 1)

ในส่วนของสินค้าอุตสาหกรรม หากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกลดภาษีของตนลงตามค่าสัมประสิทธิ์ที่เสนอไว้บนโต๊ะเจรจารอบโด ฮา จะทำให้การส่งออกโลกเพิ่มขึ้น 45.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และจีดีพีโลกจะเพิ่มขึ้น 69.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ดูตารางที่ 1)

เหตุผลที่การเปิดเสรีสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมส่งผลให้จีดีพีโลกเพิ่มสูงขึ้น 99.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เนื่องจากการส่ง ออกและการนำเข้าล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจอันจะนำไปสู้การเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น นอกจากนี้ การลดอัตราภาษี ผูกพัน (Bound Tariff Rate) เพียงเล็กน้อย แม้ว่าจะยังอยู่ในอัตราที่สูงกว่าอัตราเรียกเก็บจริง (Applied Tariff Rate) ก็ถือว่าเป็น ประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกด้วยเช่นกัน เนื่องจากการลดภาษีที่ผูกพันเป็นการลดความเสี่ยงที่ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกจะหัน กลับไปเพิ่มกำแพงภาษีเพื่อรักษาการผลิตภายในประเทศของตน นั่นเอง

ตารางที่ 1 : ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเจรจารอบโดฮา (แบ่งตามสาขา) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------

   สาขา                                                                            ผลประโยช์ที่คาดว่าจะได้รับ

(หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ----------------------------------------------------------------------------------------------------------

ส่งออก นำเข้า จีดีพี 1. การลดภาษีตามแบบแผนการลดภาษี (Modality) ที่ได้เสนอไว้บนโต๊ะเจรจารอบโดฮา

          สินค้าเกษตร                                                                20.5    14.1    29.9
          สินค้าอุตาสาหกรรม                                                           45.6    40.3    69.4
รวมทั้งสิ้น                                                                              66    54.4    99.3
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมในสาขาริเริ่มซึ่งจะลดภาษีมากกว่าแบบแผนการลดภาษีที่ได้เสนอไว้บนโต๊ะเจรจารอบโดฮา
          สาขาเคมีภัณฑ์                                                               15.4    12.8    26.6
          สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า                            35.4    33.5      66
          สาขาสินค้า/บริการด้านสิ่งแวดล้อม                                                 6.3     4.5      11
รวมทั้งสิ้น                                                                            57.1    50.8     104
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. การลดอุปสรรคภาคบริการลงเป็นสัดส่วนที่เทียบเท่าการลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมร้อยละ 10        56    42.9     100
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
4. พัฒนาการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ให้ทัดเทียมกับมาตรฐานที่ได้ตั้งไว้      340     116     385
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมในสาขาริเริ่ม

หากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกดำเนินการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมในสาขาริเริ่ม 3 สาขา ได้แก่ สาขาเคมีภัณฑ์ สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า และสาขาสินค้า/บริการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสาขาที่มีการกำหนดความตกลงร่วมกันว่าจะลด ภาษีมากกว่าแบบแผนการลดภาษี (Modality) จะทำให้การส่งออกโลกในแต่ละสาขาเพิ่มขึ้น 15.4, 35.4 และ 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ

  • สาขาเคมีภัณฑ์ ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกได้เสนอแนวคิดที่จะทำความตกลงร่วมกันเพื่อลดภาษีเคมีภัณฑ์ ที่เรียกว่า
Chemical Tariffs Harmonization Agreement (CTHA) ไว้ตั้งแต่การเจรจารอบอุรุกวัย โดยประเทศผู้ลงนามจะต้องลดภาษีเคมีภัณฑ์ในแต่ละ
ช่วง ซึ่งขึ้นอยู่กับฐานภาษีที่แต่ละประเทศเรียกเก็บให้เหลือร้อยละ 0, 0.55 และ 6.5 ปัจจุบัน มีหลายประเทศที่ได้เข้าร่วมการเจรจาภายใต้ความ
ตกลงนี้ ได้แก่ แคนาดา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งในอนาคตหากมีการลดภาษีตามข้อตกลงนี้จะทำ
ให้การส่งออกเคมีภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น 15.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือประมาณสองเท่าจากผลที่คาดว่าจะได้จากการลดภาษีด้วยแบบแผนการลดภาษี
  • สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า

เมื่อปี 1996 ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกได้ลงนามในความตกลงเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology Agreement (ITA) โดยประเทศผู้ลงนามต้องลดภาษีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหลือร้อยละ 0 หรือเกือบจะเป็น 0 ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมลงนามในข้อตกลงนี้มากกว่า 70 ประเทศ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี ไต้หวัน และจีน เป็น ต้น และในอนาคต หากมีการลดภาษีตามข้อตกลงนี้จะทำให้การส่งออกสินค้าในสาขานี้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการลดภาษีด้วยแบบแผนการลดภาษี 35.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และจีดีพีโลกเพิ่มขึ้น 66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ดูตารางที่ 1)

  • สาขาสินค้า/บริการด้านสิ่งแวดล้อม มีผู้เสนอให้มีการลดภาษีและลดการอุดหนุนสินค้า/บริการด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมจากแบบแผนการ

ลดภาษี ซึ่งหากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ตกลงที่จะลดภาษีสินค้า/บริการด้านสิ่งแวดล้อมให้เหลือร้อยละ 0 จะส่งผลให้การส่งออกสินค้า

ประเภทนี้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการลดภาษีด้วยแบบแผนการลดภาษี 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และจีดีพีเพิ่มสูงขึ้น 11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อ

ปี (ดูตารางที่ 1)

การเปิดเสรีภาคบริการ

การเปิดเสรีภาคบริการตามข้อเสนอบนโต๊ะเจรจารอบโดฮาไม่ได้สร้างโอกาสการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ให้กับประเทศสมาชิกองค์การการค้า โลกแต่อย่างใด ในขณะที่มีความเชื่อว่าภาคบริการเป็นภาคที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากข้อเสนอบนโต๊ะเจรจารอบโดฮาไม่ได้แตกต่าง จากข้อผูกพันเดิมที่ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกได้เคยเสนอไว้ที่อุรุกวัย นอกจากนี้ การกำหนดนิยามว่า อะไรคืออุปสรรคขัดขวางภาคบริการ และการคำนวณอุปสรรคเหล่านั้นให้เห็นในเชิงปริมาณยังไม่มีความชัดเจนเช่นเดียวกับการค้าสินค้าที่สามารถใช้แบบแผนการลดภาษีได้ อย่างไรก็ ตาม หากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกสามารถลดอุปสรรคของภาคบริการลงได้ในสัดส่วนที่เทียบเท่ากับการลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม เพียงร้อยละ 10 คาดว่าจะทำให้การส่งออกโลกเพิ่มขึ้น 56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และจีดีพีโลกเพิ่มขึ้น 100 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

ผลต่อการค้าระหว่างประเทศที่แต่ละประเทศจะได้รับจากการเจรจารอบโดฮา

ตารางที่ 2 : ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเจรจารอบโดฮา (แบ่งตามประเทศ)

----------------- ผลประโยช์ที่คาดว่าจะได้รับ (หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)---------------

  ประเทศ            สินค้าเกษตรและ           ภาคบริการ          สินค้าอุตสาหกรรม            การอำนวย
                   สินค้าอุตสาหกรรม                               ในสาขาริเริ่ม         ความสะดวกทางการค้า
                  ส่งออก     นำเข้า       ส่งออก      นำเข้า     ส่งออก     นำเข้า       ส่งออก     นำเข้า
1. สหรัฐอเมริกา        6      14.3         10.8       3.5        6.1       5.5          19      93.3
2. สหภาพยุโรป       9.2      26.3         10.8       5.2       10.4       4.7        29.5      69.9
3. ญี่ปุ่น             7.2       4.9          2.7       3.5        9.6       0.2        13.7      20.7
4. จีน             14.3       6.9          3.7      14.3        8.7      17.5          16      40.2
5. อินเดีย           1.7       0.9          0.7      10.5        0.6       3.3         1.2       5.9
6. บราซิล           2.3         1          0.7       2.8        0.2       5.4         1.6       4.4

1. สหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมไม่มากนักเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเรียกเก็บภาษีใน อัตราที่ต่ำอยู่แล้ว หากสหรัฐอเมริกาดำเนินการลดภาษีตามข้อเสนอบนโต๊ะการเจรจารอบโดฮา จะทำให้การส่งออกและนำเข้าของสหรัฐอเมริกาเพิ่ม ขึ้น 6 และ 14.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ (ดูตารางที่ 2) ดังนั้นจึงทำให้สหรัฐอเมริกาไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นที่จะเจรจารูปแบบ การลดภาษีมากเท่ากับประเทศอื่น

อย่างไรก็ตาม ภาคบริการเป็นสาขาที่สหรัฐอเมริกาให้ความสนใจอย่างมาก โดยประมาณการณ์ว่าภาคบริการจะช่วยให้การส่งออกและนำ เข้าของสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอีก 10.8 และ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ ภาคบริการจึงเป็นส่วนที่ควรให้ความสำคัญหากต้องการให้ สหรัฐอเมริกา

หันมาสนใจการเจรจารูปแบบการลดภาษีมากขึ้น

นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากสินค้าอุตสาหกรรมที่อยู่ในสาขาริเริ่มทั้ง 3 สาขา โดยจะทำให้การส่งออกและการนำ เข้าเพิ่มขึ้น 6.1 และ 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ โดยสรุปการส่งออกและการนำเข้าของสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 22.9 และ 23.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ และจีดีพีเพิ่มขึ้น 38.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

2. สหภาพยุโรป จะได้ประโยชน์อย่างมากจากการเปิดเสรีสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากสหภาพยุโรปมีกำแพงภาษีสูง กว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา โดยคาดว่า

การส่งออกและการนำเข้าสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมของสหภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้น 9.2 และ 26.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ (ดูตารางที่ 2) และจีดีพีจะเพิ่มขึ้น 35 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

ในส่วนของภาคบริการ จะช่วยทำให้การส่งออกและการนำเข้าของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 10.8 และ 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตาม ลำดับ

นอกจากนี้ สินค้าอุตสาหกรรมที่อยู่ในสาขาริเริ่มจะทำให้การส่งออกและการนำเข้าของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอีก 10.4 และ 4.7 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ โดยสหภาพยุโรปจะได้ประโยชน์

จากสินค้าและบริการด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

3. ญี่ปุ่น จะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมมากกว่าการเปิดเสรีสินค้าเกษตร ซึ่งการลดภาษีสินค้าเกษตรและ อุตสาหกรรมตามแบบแผนการลดภาษีจะทำให้การส่งออกและการนำเข้าของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 7.2 และ 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ (ดู ตารางที่ 2) โดยการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวจะทำให้การส่งออกและการนำเข้าของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 6.7 และ 2.5 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ ภาคบริการจะช่วยทำให้การส่งออกและการนำเข้าของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอีก 2.7 และ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตาม ลำดับ (ดูตารางที่ 2)

ทั้งนี้ สินค้าอุตสาหกรรมในสาขาริเริ่มจะไม่มีผลต่อการนำเข้าของญี่ปุ่นมากนัก แต่จะส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในสาขาริเริ่ม โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

4. การลดภาษีของจีนตามข้อเสนอบนโต๊ะเจรจารอบโดฮาจะไม่ทำให้จีนสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของตนไป เนื่องจากจีนมี กำแพงภาษีสินค้าอุตสาหกรรมและอัตราภาษีที่เรียกเก็บจริงต่ำอยู่แล้ว การลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมจะทำให้การส่งออกและนำเข้าของจีน เพิ่มขึ้นประมาณ 14.3 และ 6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ (ดูตารางที่ 2) ภาคบริการจะทำให้การส่งออกและนำเข้าของจีนเพิ่มขึ้น อีก 3.7 และ 14.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ โดยจะทำให้จีดีพีของจีนเพิ่มขึ้นถึง 60 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

5. อินเดียไม่ค่อยได้ประโยชน์จากการลดภาษีสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมตามแบบแผนที่เสนอไว้บนโต๊ะเจรจารอบโดฮามาก นัก อย่างไรก็ตาม ภาคบริการจะช่วยทำให้การนำเข้าของอินเดียเพิ่มขึ้น 10.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ดูตารางที่ 2) โดยจะทำให้จีดีพีของ อินเดียเพิ่มขึ้น 22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือเท่ากับร้อยละ 2 ของจีดีพีทั้งหมด

6. การส่งออกสินค้าเกษตรของบราซิลจะเพิ่มขึ้น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ขณะที่การนำเข้า

ภาคบริการจะเพิ่มขึ้น 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (ดูตารางที่ 2) และการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมในสาขาริเริ่ม โดยเฉพาะ อิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า จะเพิ่มขึ้น 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจะทำให้จีดีพีของบราซิลเพิ่มขึ้น 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือร้อยละ 2.5 ของจีดีพีทั้งหมด

ผลต่อการค้าระหว่างประเทศในภาพรวมที่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วจะได้รับจากการเจรจารอบโดฮา

ผลที่คาดว่าจะได้จากการลดภาษีสินค้าเกษตรจะตกอยู่ที่ประเทศพัฒนาแล้วมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา กล่าวคือ การส่งออกและการนำเข้า ของประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้น 7.6 และ 19.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ (ดูตารางที่ 3) และการส่งออกและการนำเข้าของประเทศ กำลังพัฒนาจะเพิ่มขึ้น 16.4 และ 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ

ตารางที่ 3 : ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเจรจารอบโดฮา (แบ่งตามระดับการพัฒนา)

          สาขา                                                               ผลประโยช์ที่คาดว่าจะได้รับ (หน่วย  : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

---ประเทศพัฒนาแล้ว---- ---ประเทศที่กำลังพัฒนา---

                                                                             ส่งออก   นำเข้า    จีดีพี   ส่งออก   นำเข้า     จีดีพี
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. การลดภาษีตามแบบแผนการลดภาษี (Modality)ที่ได้เสนอไว้บนโต๊ะเจรจารอบโดฮา สินค้าเกษตร
          สินค้าเกษตร                                                            7.6    19.2      *     6.4     1.4      *
          สินค้าอุตาสาหกรรม                                                      29.5    17.6      *    22.8    16.1      *
รวมทั้งสิ้น                                                                         37      37     68      29      18     31
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมในสาขาริเริ่มซึ่งจะลดภาษีมากกว่าแบบแผนการลดภาษีที่ได้เสนอไว้บนโต๊ะ
เจรจารอบโดฮาในสาขาเคมีภัณฑ์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์/เครื่องใช้ไฟฟ้า
   และสาขาสินค้า/บริการด้านสิ่งแวดล้อม                                                  *       *     32       *       *     71
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. การลดอุปสรรคภาคบริการลงเป็นสัดส่วนที่เทียบเท่าการลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมร้อยละ 10   15    14.8     34    27.9    40.9     66
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4. พัฒนาการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ให้ทัดเทียมกับมาตรฐานที่ได้ตั้งไว้   *       *    232       *       *    153
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
  • หมายเหตุ ไม่มีระบุไว้ในรายงาน

สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมใกล้เคียงกัน โดย มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าของประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้น 29.5 และ 17.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ (ดูตารางที่ 3) และ ประเทศกำลังพัฒนาจะส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้น 22.8 และ 16.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม การลดภาษีสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมตามแบบแผนการลดภาษีที่เสนอไว้บนโต๊ะเจรจารอบโดฮาจะทำให้จีดีพีของ ประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.30 หรือ 31 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือเกือบหนึ่งเท่าตัวของจีดีพีที่เพิ่มขึ้นของประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งก็คือร้อย ละ 0.18 หรือ 68 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

หากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกลดอุปสรรคของภาคบริการลงในสัดส่วนที่เทียบเท่ากับการลดภาษีสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเพียง ร้อยละ 10 คาดการณ์ว่าประเทศกำลังพัฒนาจะได้ประโยชน์มากกว่าประเทศพัฒนาแล้ว โดยการส่งออกและการนำเข้าของประเทศกำลังพัฒนาจะเพิ่ม ขึ้น 27.9 และ 40.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ (ดูตารางที่ 3) และการส่งออกและการนำเข้าของประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้น 15 และ 14.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้จีดีพีของประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น 66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือร้อยละ 0.66 ของจีดีพีทั้งหมด และจีดีพีของประเทศพัฒนาแล้วเพิ่มขึ้น 34 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือร้อยละ 0.09 ของจีดีพีทั้งหมด

สำหรับการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) นั้น คาดว่าประเทศพัฒนาแล้วจะได้ประโยชน์มากกว่าประเทศ กำลังพัฒนา โดยเมื่อได้พัฒนาการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้ทัดเทียมกับมาตรฐานที่ได้ตั้งไว้แล้ว จะทำให้จีดีพีของประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น 153 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือร้อยละ 1.48 ของจีดีพีทั้งหมด และจีดีพีของประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้น 232 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือ ร้อยละ 0.61 ของจีดีพีทั้งหมด (ดูตารางที่ 3)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ