1. การประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 7 (7th AITNC — WGI) มีขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 มิถุนายน 2553 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย โดยจัดในช่วงเดียวกับการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าอาเซียน — อินเดีย ครั้งที่ 26
2. การประชุมครั้งนี้มีนาย Alagasan Gadisalem, Senior Director, Investment Policy and Trade Facilitation Division, Ministry of International Trade and Industry, Malaysia เป็นประธานฝ่ายอาเซียน และนาย Deepak Narain, Director, Department of Industrial Policy and Promotion,Ministry of Commerce and Industry, India เป็นประธานฝ่ายอินเดีย โดยประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศยกเว้นกัมพูชาส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุม
3. ที่ประชุมได้หารือใน 3 ประเด็นหลัก คือ (1) แนวทางการเปิดตลาดการลงทุน (2) จำนวนตารางข้อผูกพัน และ (3) ร่างข้อบทความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน-อินเดีย สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
แนวทางการเปิดตลาดการลงทุน
4. อินเดียแจ้งให้อาเซียนทราบว่าท่าทีสุดท้ายของอินเดียคือต้องการเปิดเสรีการลงทุนแบบ Positive list approach (ระบุเฉพาะสาขาการลงทุนที่เปิดเสรี) เพื่อให้สามารถสรุปผลความตกลงได้ตามกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจวางไว้ คือลงนามประมาณเดือนตุลาคม 2553 อาเซียนยังคงพยายามโน้มน้าวอินเดียว่าอาเซียนยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการเปิดเสรีแบบ Positive list มาก่อน หากต้องเปิดตลาดโดยใช้ แนวทางนี้ อาเซียนคงจะไม่สามารถสรุปความตกลงได้ทันตามกำหนดเวลา จึงขอให้อินเดียแสดงความยืดหยุ่นโดยรับแนวทางการเปิดตลาดแบบ Negative list (ระบุสาขาการลงทุนที่ไม่เปิดตลาด) ที่อินเดียเคยใช้ในความตกลงการค้าเสรีอินเดีย — เกาหลีใต้ มาแล้ว เพราะมีความโปร่งใสและมีความแน่นอนสำหรับนักลงทุนมากกว่า Positive list ทั้งนี้หากอินเดียกังวลเรื่องการออกมาตรการสำหรับ new and emerging industries ก็สามารถใช้ creative approach ได้ เช่น การใส่ข้อจำกัดหรือการ carve-out ไว้ใน headnote(ก) ของตารางข้อสงวน (reservation list) ได้
5. อินเดียแจ้งว่า อินเดียไม่ได้บังคับให้อาเซียนต้องเปิดตลาดแบบ Positive list อาเซียนแต่ละประเทศสามารถเปิดตลาดโดยใช้แนวทาง Positive list หรือ Negative list ก็ได้ตามที่แต่ละประเทศอาเซียนต้องการ การที่อินเดียต้องการใช้ positive list เพราะอินเดียต้องการให้มี policy space สำหรับ new and emerging industries และเห็นว่าการใช้ reservation ภายใต้ Negative list ไม่น่าจะทุเลาข้อกังวลนี้ได้เพราะยากที่จะจำกัดความ (define) คำว่า new and emerging industries ท้ายที่สุด อินเดียได้ ยืนยันว่าการใช้ Positive list จะไม่มีผลกระทบกับระดับการเปิดตลาดของอินเดีย
6. อาเซียนได้พยายามประวิงเวลาโดยแจ้งอินเดียว่าต้องกลับไปหารือเมืองหลวงก่อนว่าหากอินเดียเปิดตลาดแบบ Positive list อาเซียนแต่ละประเทศจะเปิดตลาดแนวทางใด สำหรับไทยได้เคยแจ้งให้อาเซียนทราบแล้วว่า ไทยต้องการเปิดตลาดแบบ Positive list จำนวนตารางข้อผูกพัน
7. อินเดียแจ้งว่า หากอินเดียเปิดตลาดแบบ Positive list อินเดียจะมี 1 ตารางให้กับอาเซียน 10 ประเทศ อย่างไรก็ตาม หากการเปิดตลาดของอาเซียนบางประเทศน้อยมาก อินเดียก็คงจะต้องมี 10 ตารางเพื่อใช้กับอาเซียนแต่ละประเทศ ร่างข้อบทความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน-อินเดีย
8. การประชุมครั้งนี้มีความคืบหน้าในการประนีประนอมร่างข้อบทค่อนข้างน้อย เนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่ไปในการหารือเรื่องแนวทางการเปิดตลาด และหลักการการให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured-Nation: MFN principle)
9. ในการประชุมครั้งนี้มีการหารือข้อบทเรื่อง วัตถุประสงค์ของความตกลง ขอบเขตของความตกลง คำนิยาม การให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง การให้การปฏิบัติต่อการลงทุน และการเวนคืนและการชดเชย
10. ทั้งสองฝ่ายยังมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องคำนิยามของการลงทุน โดยอาเซียนมีคำนิยามเกี่ยวกับการลงทุน 2 นิยามคือ investment และ covered investment ขณะที่อินเดียต้องการให้มีเพียงนิยามเดียวทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในเรื่องการคุ้มครองในกรณีมีการเวนคืน และยังมีท่าทีแตกต่างกันในเรื่องการเวนคืนทางอ้อมโดยใช้มาตรการภาษี ซึ่งอินเดียเห็นว่ากรณีเช่นนีเกิดขึ้นได้ยาก และไม่ควรรวมไว้ในเรื่อง การคุ้มครองกรณีมีการเวนคืน
11. การประชุมคณะทำงานด้านการลงทุนอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 8 จะมีขึ้น ระหว่างวันที่ 12-16 กรกฎาคม 2553 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยเป็นการประชุม ASEAN Caucus ในวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2553
หมายเหตุ (ก) ประธานฝ่ายอาเซียนยกตัวอย่าง Malaysia-Japan FTA (reservation 10) ซึ่งมี carve-out สำหรับ sectors not established in Malaysia at the time of entry into force
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630