คณะเจรจาการค้าอาเซียนและอินเดีย เร่งเดินหน้าทำความตกลงการค้าเสรีภาคบริการและการลงทุน หวังให้สรุปผลตามเป้าหมายในปี 2553 ต่อยอดการค้าเพิ่มเติมจากการเปิดเสรีส่วนสินค้าซึ่งเริ่มต้นลดภาษีไปแล้วเมื่อ 1 มกราคม 2553
นางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึง ผลการเจรจาครั้งล่าสุดที่ผ่านมาว่า ภารกิจสำคัญของคณะเจรจาขณะนี้ คือ สรุปข้อตกลงการค้าบริการและการลงทุน ภายในปี 2553 ตามที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและอินเดียตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งขณะนี้ การเจรจาภาคบริการมีความคืบหน้ามาก โดยทั้งสองฝ่ายมุ่งเปิดตลาดการค้าบริการให้ครอบคลุมทุกสาขา ที่พร้อมต่อการเปิดเสรี เพื่อสร้างมูลค่าทางการค้าร่วมกันให้มากที่สุด ซึ่งอาเซียนต้องพิจารณาดำเนินการอย่างรอบคอบ เช่น การเคลื่อนย้ายบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ
ขณะเดียวกัน การเจรจาด้านการลงทุน อินเดียยืนยันที่จะเปิดเสรีแบบระบุภาคการลงทุนที่พร้อมเปิดเสรี (Positive List Approach) แต่สมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ต้องการจัดทำรายการภาคการลงทุนที่สงวนไว้ (Negative List Approach) และส่วนที่ไม่ได้ระบุไว้ก็จะต้องเปิดเสรีให้หมด ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการหารือกันในระดับสูงต่อไป
สำหรับการเปิดเสรีภาคสินค้า อินเดีย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เริ่มลดภาษีระหว่างกันตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553 แล้ว ส่วนสมาชิกอาเซียนที่เหลือ จะเร่งดำเนินการลดภาษีให้ได้ภายในเดือนสิงหาคม ปีนี้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างจัดทำกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดรายสินค้า (Product Specific Rules of Origin: PSRs) โดยตั้งเป้าหมายบรรลุผลการจัดทำ PSRs ของสินค้าสำคัญกลุ่มแรกภายในเดือนธันวาคม 2553 เพื่อช่วยให้สินค้าส่งออกสำคัญได้รับการลดหย่อนภาษีภายใต้ FTA เพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้ สมาชิกอาเซียนยอมรับเงื่อนไขที่ผ่อนคลายของสินค้าสำคัญหลายรายการของไทยแล้ว เช่น โทรทัศน์สี เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น และจะผลักดันทางฝ่ายอินเดีย ในการประชุมที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12-16 กรกฎาคม 2553 นี้
“ทางออกสำคัญ ที่จะช่วยให้บรรลุข้อตกลงการค้าบริการและการลงทุน ได้ตามเงื่อนไขเวลาที่กำหนดไว้ คือ สมาชิกอาเซียนและอินเดีย จะมีความยืดหยุ่นระหว่างกันได้มากน้อยเท่าใด ซึ่งอินเดียต้องการเข้าถึงประโยชน์ จากการเปิดตลาดการค้าบริการที่อินเดียมีศักยภาพให้มากที่สุด ในขณะที่ อาเซียนต้องการเข้าถึงตลาดบริการและการลงทุนของอินเดียอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติภายใต้ FTA” นางอัญชนา กล่าว
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึง ผลการประชุมแผนความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน 2553 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ว่าทั้งสองฝ่ายได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการประชุมแผนความร่วมมือฯ ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2549 คือ เพิ่มมูลค่าการค้าเป็น 2 เท่า จาก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2548 เป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553 มูลค่าการส่งออกของ สปป.ลาวมายังไทยเพิ่มเป็น 3 เท่า และการลงทุนของไทยใน สปป.ลาว นับว่าบรรลุเป้าหมาย โดยเพิ่มจาก 450.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2548 เป็น 908.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2552
นางนันทวัลย์ กล่าวว่า ทั้ง 2 ประเทศ ได้ตั้งเป้าหมายการค้าและการลงทุนในปี 2558 โดยใช้ ปี 2553 เป็นปีฐาน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 7 ของ สปป.ลาว (ปี 2554-2558) โดยคาดว่าปี 2558 จะเพิ่มมูลค่าการค้าสองฝ่ายขึ้นอีกเท่าตัว รวมถึงเพิ่มมูลค่าการส่งออกของ สปป.ลาว มายังไทยเป็น 3 เท่า รวมถึงการเพิ่มมูลค่าการลงทุนของไทยใน สปป.ลาว อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล กฎ ระเบียบด้านการค้า การลงทุน โดย สปป.ลาว จะรวบรวมกฎ ระเบียบ และการส่งเสริมการลงทุนในแต่ละแขวง ให้นักลงทุนไทยใช้เป็นส่วนประกอบต่อการตัดสินใจเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว และจะแจ้งค่าธรรมเนียมการใช้ถนน และน้ำหนักบรรทุกในแต่ละแขวงให้ฝ่ายไทยทราบ โดยฝ่ายไทยขอให้ สปป.ลาว พิจารณาลดค่าใช้จ่ายในการใช้เส้นทาง R3 ในการขนส่งสิน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630