‘สินค้ากลุ่มแฟชั่น’ ประกาศลั่นพร้อมเปิดการค้าเสรีไทย-อียู ‘กลุ่มเครื่องหนัง’ ขอเวลาปรับตัวก่อนเปิดตลาด

ข่าวทั่วไป Thursday July 15, 2010 14:15 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม สนับสนุนให้พาณิชย์เร่งเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป(EU) เล็งเห็นโอกาสในการขยายการส่งออกสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ หากเจรจาล่าช้าอียูอาจเจรจากับเวียดนาม ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยแทน ขณะที่กลุ่มเครื่องหนังแจ้งยังไม่พร้อม ขอเวลาปรับตัวก่อนเปิดตลาด พร้อมเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

นายอัครพล ลีลาจินดามัย (ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์) ประธานคณะอนุกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรี ไทย-สหภาพยุโรป เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2553 ได้ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ จากผู้แทนกลุ่มสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง รวมทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยภาคเอกชน มีความเห็นว่าไทยควรเร่งเจรจาทำความ ตกลงการค้าเสรีกับอียู เนื่องจากอียูเป็นตลาดหลักของไทย ประกอบกับกลุ่มสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง และมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตและการตลาดในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ การค้าเสรีสามารถสร้างโอกาสและความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับไทยมากขึ้น สำหรับสินค้าเครื่องหนัง ยังไม่พร้อมในการแข่งขัน เนื่องจากผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนามย่อม และเห็นว่าควรลดกำแพงภาษีแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องใช้เวลาในการปรับตัวและเตรียมความพร้อมกับการแข่งขันในอนาคต ทั้งนี้ ขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เร่งสนับสนุนและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทย โดยเฉพาะด้านการผลิตและการออกแบบอย่างจริงจัง

นายอัครพล ลีลาจินดามัย กล่าวว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่สนับสนุนให้ไทยเร่งเจรจากับอียู เนื่องจากเห็นว่าภาคธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากการเจรจา เว้นแต่ผู้ประกอบการสินค้าเครื่องหนัง ซึ่งยังขาดความพร้อมในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอัตราภาษีนำเข้าสินค้าเครื่องหนังของไทยประมาณ 20-40% ซึ่งสูงกว่าอียูที่ 3% ดังนั้นหากมีการตกลงทำ FTA กัน อาจทำให้ผู้ประกอบการไทยสูญเสียตลาดในประเทศได้ “คณะอนุกรรมการฯภาคเอกชน มีแผนที่จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็น ให้ครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้เสียภาคเอกชนให้มากที่สุด โดยครั้งต่อไป จะจัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “ประเทศไทยพร้อมแค่ไหนกับ FTA Thai — EU” โดยจะเป็นการสัมมนาเกี่ยวกับมาตรการต่างๆของภาครัฐ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของภาคเอกชนและลดความกังวลสำหรับธุรกิจที่ได้อาจได้รับผลกระทบ หากมีการเจรจาความตกลงการค้าเสรี ไทย-สหภาพยุโรป” นายอัครพล กล่าว

คณะเจรจาการค้าอาเซียนและอินเดีย เร่งเดินหน้าทำความตกลงการค้าเสรีภาคบริการและการลงทุน หวังให้สรุปผลตามเป้าหมายในปี 2553 ต่อยอดการค้าเพิ่มเติมจากการเปิดเสรีส่วนสินค้าซึ่งเริ่มต้นลดภาษีไปแล้วเมื่อ 1 มกราคม 2553 นางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึง ผลการเจรจาครั้งล่าสุดที่ผ่านมาว่า ภารกิจสำคัญของคณะเจรจาขณะนี้ คือ สรุปข้อตกลงการค้าบริการและการลงทุน ภายในปี 2553 ตามที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและอินเดียตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งขณะนี้ การเจรจาภาคบริการมีความคืบหน้ามาก โดยทั้งสองฝ่ายมุ่งเปิดตลาดการค้าบริการให้ครอบคลุมทุกสาขา ที่พร้อมต่อการเปิดเสรี เพื่อสร้างมูลค่าทางการค้าร่วมกันให้มากที่สุด ซึ่งอาเซียนต้องพิจารณาดำเนินการอย่างรอบคอบ เช่น การเคลื่อนย้ายบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ

ขณะเดียวกัน การเจรจาด้านการลงทุน อินเดียยืนยันที่จะเปิดเสรีแบบระบุภาคการลงทุนที่พร้อมเปิดเสรี (Positive List Approach) แต่สมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ต้องการจัดทำรายการภาคการลงทุนที่สงวนไว้ (Negative List Approach) และส่วนที่ไม่ได้ระบุไว้ก็จะต้องเปิดเสรีให้หมด ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการหารือกันในระดับสูงต่อไป สำหรับการเปิดเสรีภาคสินค้า อินเดีย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เริ่มลดภาษีระหว่างกันตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553 แล้ว ส่วนสมาชิกอาเซียนที่เหลือ จะเร่งดำเนินการลดภาษีให้ได้ภายในเดือนสิงหาคม ปีนี้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างจัดทำกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดรายสินค้า (Product Specific Rules of Origin: PSRs) โดยตั้งเป้าหมายบรรลุผลการจัดทำ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ