"พาณิชย์”เก็บตก หารือเอกชนนัดสุดท้าย 15 ก.ค. นี้

ข่าวทั่วไป Wednesday July 14, 2010 13:24 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ เตรียมหารือภาคเอกชนนัดสุดท้าย 15 กรกฎาคม นี้ ก่อนฟันธง ไทยพร้อมเปิดเสรีกับอียูหรือไม่ หลังผลเบื้องต้น ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุนไทยเปิดเจรจา แต่มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลทำแผนดูแล SMEs ด้วย

นายอัครพล ลีลาจินดามัย ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนต่อการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการฯ ใกล้จะสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนไทย ต่อการทำ FTA กับอียูแล้ว หลังจากได้เปิดรับฟังความคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย.-มิ.ย.2553 ที่ผ่านมา โดยภาพรวมเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่าการทำ FTA กับอียู จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว และสนับสนุนให้ไทยเปิดเจรจา FTA กับอียู

“อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ครอบคลุมและเก็บตกกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ยังไม่ได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น คณะอนุกรรมการฯ จึงได้จัดเวทีใหญ่อีกครั้ง ในหัวข้อ “เอกชนไทย คิดอย่างไร พร้อมหรือไม่ต่อ THAI-EU FTA” ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 เวลา 12.30-16.30น. ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม C โรงแรมโซฟิเทล เซนทารา แกรนด์ (ลาดพร้าว) กรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้เข้ามาแสดงความคิดเห็น เพื่อที่คณะอนุกรรมการฯ จะได้รวบรวมความเห็นและรายงานผลสรุป ต่อคณะกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ และคณะรัฐมนตรีต่อไป” นายอัครพล กล่าว

ก่อนหน้านี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน ทั้งกลุ่มสินค้าและบริการ ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร (แช่เย็น แช่แข็งและสำเร็จรูป) กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น (อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและเครื่องหนัง) กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรกล กลุ่มอุตสาหกรรมยา เครื่องสำอางค์ เคมีภัณฑ์ พลาสติก ปิโตรเคมี และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มบริการ โทรคมนาคม การเงิน การธนาคาร โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว ภาพยนต์และสาขาบันเทิง

ภาคเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่าการจัดทำ FTA จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว แต่มีข้อเสนอแนะว่าภาครัฐต้องระวังสินค้าและบริการของไทย ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันน้อยด้วย โดยเสนอให้ภาครัฐเร่งเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรี รวมทั้งต้องมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรเฉพาะด้าน และการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งผลักดันให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม ในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการของอียูแก่ผู้ประกอบการไทย การแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี ตลอดจนระบบการเตือนภัยล่วงหน้า และกลไกการหารือในประเด็นเทคนิคหากสหภาพยุโรปจะออกมาตรการทางที่มิใช่ภาษีใหม่ๆ

นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (13 กรกฎาคม 2553) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบกรอบเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement: TAFTA) และกรอบเจรจาความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership: TNZCEP) และคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในเดือนสิงหาคมศกนี้

ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement: TAFTA) มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ในขณะที่ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership: TNZCEP) มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ความตกลงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวกำหนดให้มีการทบทวนและเจรจาเพิ่มเติมภายใน 3 ปี นับจากวันที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ โดยกำหนดประเด็นที่จะต้องเจรจา 7 กรอบ ได้แก่ 1) การค้าสินค้า 2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 3) มาตรการปกป้องพิเศษ 4) การค้าบริการ 5) การจัดซื้อโดยรัฐ 6) การแข่งขันเฉพาะ TAFTA และ 7) ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันการค้าระหว่างไทย-ออสเตรเลีย ก่อนและหลังมีความตกลง TAFTAระยะ 5 ปี ก่อนมีความตกลงฯ (2543 -2547) การค้ารวมระหว่างไทย-ออสเตรเลีย มีมูลค่าเฉลี่ย 3,406.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ