สรุปผลการประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียน — อินเดีย ครั้งที่ 9

ข่าวทั่วไป Tuesday August 17, 2010 14:23 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

1. การประชุมคณะทำงานด้านการค้าบริการอาเซียนอินเดีย ครั้งที่ 9 จัดขึน้ พร้อมกับการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าอาเซียนอินเดีย ครั้งที่ 27 มีขึน้ ระหว่างวันที่ 13 — 16 กรกฎาคม 2553 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย โดยเป็นการประชุม ASEAN Caucus ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 และเป็นการประชุมเจรจากับอินเดียในวันที่ 14 — 16 กรกฎาคม 2553

2. การประชุมในครัง้นีมี้นาย Wong Toon Joon, Deputy Director, Ministry of Trade and Industry, Singapore เป็นประธานฝ่ายอาเซียน และนาง Aparna Sinha, Joint Director, Department of Commerce, Ministry of Commerce & Industry, India เป็นประธานฝ่ายอินเดีย โดยมีผู้แทนของประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ ยกเว้น พม่า เข้าร่วมการประชุม

3. การประชุมได้หารือ 4 เรื่อง คือ 1) ร่างข้อบทร่วมความตกลงการค้าบริการ 2) ร่างภาคผนวกเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคคล 3) ร่างภาคผนวกสาขาการเงิน ซึ่งมีมาตรการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน (Prudential Measures, Exchange Rate and Financial Stability) และ 4) รูปแบบการเปิดตลาดการค้าบริการ

ร่างข้อบทร่วมความตกลงการค้าบริการ

4. ร่างข้อบทร่วมความตกลงการค้าบริการ มีความคืบหน้าในการเจรจา 2 มาตรา เหลือเพียง 4 มาตราที่ยังติดค้างอยู่ ได้แก่ ข้อบทการยอมรับ (Recognition) ข้อบทมาตรการปกป้อง (Safeguard Measures) ข้อบทข้อยกเว้นด้านความมั่นคง (Security Exceptions) และข้อบทการถอนตัวและการสิน้ สุดความตกลง(Withdrawal and Termination)ร่างภาคผนวกการเคลื่อนย้ายบุคลากร (Annex on Movement of Natural Person)

5. ขณะนี้มีเพียงฟิลิปปินส์เท่านัน้ ที่ยังไม่สามารถยอมรับให้มีข้อเสนอเรื่องภาคผนวกการเคลื่อนย้ายบุคคลในความตกลงการค้าบริการได้ เพราะอยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานภายใน แต่ฟิลิปปินส์ก็ไม่ได้ขัดขวางที่อาเซียนจะหารือกับอินเดีย ดังนัน้ อาเซียนจึงนำข้อบทการเคลื่อนย้ายบุคคลภายใต้กรอบอาเซียน —ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์เป็นจุดเริ่มต้นการเจรจา ส่วนอินเดียได้เสนอถ้อยคำที่ตนต้องการใส่ไว้ในข้อเสนอของข้อบทการเคลื่อนย้ายบุคคลภายใต้กรอบอาเซียน — ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ทัง้สองฝ่ายจะนำร่างฯ ข้อเสนอร่วม(consolidated text) ที่ได้มาเจรจาต่อไป

ภาคผนวกสาขาการเงินซึ่งมีมาตรการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน (Prudential Measures, Exchange Rate and Financial Stability)

6. อินเดียเห็นว่าข้อบท Domestic Regulation ของภาคผนวกสาขาการเงินของ GATS ได้ให้สิทธิภาครัฐในการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนอยู่แล้ว แต่การที่อาเซียนเสนอสาระของมาตรการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนพร้อมเงื่อนไขการใช้มาตรการ (เช่น จะไม่เลือกปฏิบัติและใช้เท่าที่จำเป็น) นัน้ เป็นการจำกัดขอบเขตการดำเนินมาตรการ ซึ่งไม่สอดคล้องกับที่อาเซียนอ้างว่าต้องการให้ภาครัฐมี policy space ขณะที่ฝ่ายอาเซียนเห็นว่าสาระของภาคผนวกที่อาเซียนเสนอมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความชัดเจนว่าภาครัฐสามารถดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันวิกฤติการทางการเงินที่อาจเกิดขึน้ ในอนาคต ขณะเดียวกันก็กำหนดให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการใช้มาตรการเพื่อให้นักลงทุนและภาคเอกชนเกิดความมั่นใจว่าทางการจะไม่ดำเนินมาตรการเกินกว่าที่จำเป็นและจะไม่เลือกปฏิบัติ

7. เพื่อสร้างความเข้าใจแก่อินเดีย อาเซียนจึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญการเงินของอินเดียเข้าร่วมประชุม Working Committee on Financial Services Liberalization (WC-FSL) ในวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญการเงินของอาเซียนและอินเดียได้หารือกัน ซึ่งอินเดียเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว

รูปแบบการเปิดตลาดการค้าบริการ (modality)

8. อาเซียนได้พยายามเสนอหลายวิธีที่จะทำให้อินเดียเปิดตลาดให้กับสมาชิกอาเซียนทุกประเทศเท่ากัน คือการมี 1 ตารางข้อผูกพันสำหรับใช้กับอาเซียนทุกประเทศ เช่น ยื่นข้อเสนอเปิดตลาดของอาเซียนโดยใช้ข้อผูกพันภายใต้กรอบอาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์เป็นพืน้ ฐานการเจรจา หรือการยื่นข้อเสนอเปิดตลาดใน 4 สาขาบริการที่แต่ละฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน ได้แก่ สาขาวิชาชีพ คอมพิวเตอร์ โสตทัศน์และก่อสร้าง ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับจากอินเดียเพราะข้อเสนอของอาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ไม่สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของอินเดีย ขณะที่ข้อเสนอเปิดตลาดใน 4 สาขาบริการหลัก อินเดียเห็นว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อินเดียเรียกร้องเท่านัน้ และต้องการให้อาเซียนเปิดตลาดในหลายสาขาไม่ใช่เพียง 4 สาขาบริการ อาเซียนจึงกลับมาใช้การเจรจาเปิดตลาดโดยอิงจากข้อเรียกร้องและข้อเสนอ (Request/Offer) ของแต่ละฝ่าย และกำหนดให้อาเซียนแต่ละประเทศเจรจาทวิภาคีกับอินเดียให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับข้อเสนอ (offer) แล้วค่อยหารือเกี่ยวกับรูปแบบการเปิดตลาดต่อไป

9. ทัง้สองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันว่าจะมีการเจรจาครัง้ต่อไปเมื่อไหร่ เนื่องจากอินเดียแจ้งว่า หากอาเซียนไม่สามารถปรับปรุงข้อเสนอให้ดีขึน้ และยอมรับให้มีภาคผนวกเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคคล ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเจรจากันต่อไป อย่างไรก็ตาม ทัง้สองฝ่ายตกลงที่จะรอคำตัดสินของเจ้าหน้าที่อาวุโสของทัง้สองฝ่ายว่าจะมีการเจรจาต่อหรือไม่ โดยในวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 จะมีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเศรษฐกิจอาเซียน-อินเดีย ณ ประเทศบรูไน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ