ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วประเทศพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 70 เห็นด้วยกับมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลในการเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการขยายเวลาชำระหนี้และจำหน่ายหนี้สูญในกรณีลูกหนี้เสียชีวิตจากน้ำท่วม อย่างไรก็ตามประชาชนถึงร้อยละ 67.7 ยังไม่มั่นใจว่าความช่วยเหลือจากรัฐบาล จะสามารถไปถึงมือผู้ประสบภัยอย่างครบถ้วนและทั่วถึง
ทั้งนี้ ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ปัญหาผู้ประสบภัยน้ำท่วมเฉลี่ย 5.45 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยให้คะแนนในด้านมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาแก่ผู้ประสบภัยได้มากที่สุด ( 6.22 คะแนน) ในขณะที่ให้คะแนนด้านการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยน้ำท่วมน้อยที่สุด ( 5.07 คะแนน)
ส่วนเรื่องที่ประชาชนเป็นห่วงและกังวลใจมากที่สุดหลังน้ำลด คือ ห่วงเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันเงินงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการฟื้นฟูบูรณะ (ร้อยละ 32.6) รองลงมาห่วงเรื่องโรคระบาด(ร้อยละ 26.7 ) และห่วงเรื่องความล่าช้าในการจ่ายเงินช่วยเหลือ และขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน (ร้อยละ 24.2)
สำหรับแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมในอนาคตที่ประชาชนต้องการมากที่สุดคือ ให้เร่งปลูกป่าและรักษาสิ่งแวดล้อม(ร้อยละ 33.0) รองลงมาคือให้ปรับปรุงระบบชลประทานเพื่อกักเก็บและระบายน้ำให้ดีขึ้น (ร้อยละ 31.8)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
เห็นด้วย(ร้อยละ) ไม่เห็นด้วย(ร้อยละ)
-ให้ ธ.ก.ส. ขยายเวลาชำระหนี้ และจำหน่ายหนี้สูญในกรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิตจากน้ำท่วม 95.0 5.0
-ผู้ที่บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ และผู้ประสบภัย
ได้ลดหย่อนภาษีเท่าจำนวนความเสียหาย 90.7 9.3 -โยกงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งของแต่ละกระทรวง มาใช้ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม 87.5 12.5 -การจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ได้รับผลกระทบจากจากภัยน้ำท่วมครัวเรือนละ 5,000 บาท 82.0 18.0 -การจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายในอัตรา 55% ของต้นทุน 79.1 20.9 -ใช้วิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผ่านธนาคารออมสิน 78.8 21.2 -การจ่ายเงินชดเชยให้บ้านที่เสียหายทั้งหลัง 30,000 บาท เสียหายบางส่วน 20,000 บาท 76.6 23.4 2. ความมั่นใจว่าความช่วยเหลือจากรัฐบาล จะสามารถไปถึงมือผู้ที่ประสบภัยอย่างครบถ้วนและทั่วถึง พบว่า - มั่นใจ ร้อยละ 32.3
(โดยแบ่งเป็น มั่นใจมาก ร้อยละ 11.1 และ มั่นใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 21.1)
- ไม่มั่นใจ ร้อยละ 67.7
(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 54.5 และ ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 13.2)
- ด้านมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือ/เยียวยาแก่ผู้ประสบภัย ได้คะแนนเฉลี่ย 6.22 คะแนน - ด้านความฉับไวในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ได้คะแนนเฉลี่ย 5.43 คะแนน - ด้านการป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมในอนาคต ได้คะแนนเฉลี่ย 5.08 คะแนน - ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยน้ำท่วม ได้คะแนนเฉลี่ย 5.07 คะแนน เฉลี่ยรวม 5.45 คะแนน 4. เรื่องที่เป็นห่วงหรือกังวลใจมากที่สุดหลังน้ำลด คือ - การทุจริตคอร์รัปชันเงินงบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยและฟื้นฟูบูรณะ ร้อยละ 32.6 - โรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นหลังน้ำลด ร้อยละ 26.7 - ความล่าช้าในการจ่ายเงินช่วยเหลือ และขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน ร้อยละ 24.2 - ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ร้อยละ 9.6 - ห่วงว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะกลับมา ร้อยละ 4.5 - อื่นๆ ได้แก่ ห่วงความเป็นอยู่ของประชาชน การไร้ที่อยู่อาศัย ขยะและสิ่งปฏิกูล ฯลฯ ร้อยละ 2.3
ขยะและสิ่งปฏิกูล ฯลฯ
- การปลูกป่า รักษาสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 33.0 - ปรับปรุงระบบชลประทานเพื่อกักเก็บและระบายน้ำให้ดีขึ้น ร้อยละ 31.7 - มีการเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย ร้อยละ 19.4 - ปรับปรุงระบบเตือนภัยล่วงหน้า ร้อยละ 14.3 - อื่นๆ ได้แก่ หมั่นขุดลอกคูคลอง และทำถนนให้สูงขึ้น ร้อยละ 1.6
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในทุกภาคของประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,122 คน เป็นเพศชายร้อยละ 54.2 และเพศหญิงร้อยละ 45.8
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 4 พฤศจิกายน 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 5 พฤศจิกายน 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 608 54.2 หญิง 514 45.8 รวม 1,122 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 210 18.7 26 ปี — 35 ปี 318 28.4 36 ปี — 45 ปี 300 26.7 46 ปีขึ้นไป 294 26.2 รวม 1,122 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 604 53.9 ปริญญาตรี 466 41.5 สูงกว่าปริญญาตรี 52 4.6 รวม 1,122 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 306 27.3 พนักงานบริษัทเอกชน 200 17.8 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 214 19.1 รับจ้างทั่วไป 130 11.6 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 40 3.5 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 232 20.7 รวม 1,122 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--