ด้วยในวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงาน ประกอบกับขณะนี้ประเทศไทยกำลังจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี พ.ศ.2540 ที่ถูกยก
เลิกไปหลังการปฏิรูปการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยมีหลายประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ศูนย์
วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความคาดหวังของแรงงานไทยต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
ใหม่” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ทำงานในสถานประกอบการประเภทธุรกิจเอกชน โรงงาน และรัฐวิสาหกิจในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวน 1,103 คน เมื่อวันที่ 24-27 เมษายน 2550 สรุปผลได้ดังนี้
1. การรับทราบว่าประเทศไทยกำลังจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิกไป
- ทราบ...........ร้อยละ 77.5
- ไม่ทราบ.......ร้อยละ 22.5
2. ความสนใจเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- สนใจ..........ร้อยละ 63.3
เพราะ เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง อยากให้ประเทศไทยก้าวหน้าอยากมีส่วนร่วม
และอยากปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ฯลฯ
- ไม่สนใจ........ร้อยละ 36.7
เพราะ วุ่นวายน่าเบื่อ ไม่ชอบเรื่องการเมือง ของเดิมดีอยู่แล้ว ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย เปลี่ยนรัฐธรรมนูญ
บ่อยเกินไป และเชื่อว่าอีกไม่นานก็ต้องร่างฉบับใหม่ ฯลฯ
3. การมีโอกาสได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ได้อ่าน/ได้รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่..................ร้อยละ 23.5
โดยประเด็นที่สนใจมากที่สุดคือ เรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เรื่องการกำหนดให้ศาสนาพุทธ
เป็นศาสนาประจำชาติ และเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
- ไม่ได้อ่าน/ไม่ได้รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่..............ร้อยละ 76.5
4. ความคาดหวังต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พบว่า แรงงานร้อยละ 77.0 คาดหวังให้ธรรมนูญฉบับใหม่ช่วยแก้ปัญหาหลักๆ ที่ประเทศไทยเผชิญอยู่
ซึ่งเมื่อจำแนกเป็นความคาดหวังในเรื่องต่างๆ สามารถเรียงลำดับจากเรื่องที่คาดหวังมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้
- คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันทำให้บ้านเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม...ร้อยละ 79.7
- คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่คุ้มครอง ส่งเสริม และขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยทำให้
ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่.............................ร้อยละ 77.3
- คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม.......ร้อยละ 76.3
- คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยปิดช่องทางไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ..................ร้อยละ 74.8
6. ความเชื่อมั่นว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองโดยรวมของไทยดีขึ้น
- เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น............................ร้อยละ 59.9
เพราะ มีการขยายสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองมากขึ้นและเชื่อว่าปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจะลดลง ฯลฯ
- ไม่เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น..........................ร้อยละ 40.1
เพราะ ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติมากกว่ารัฐธรรมนูญ ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาหลายครั้งแล้ว
แต่บ้านเมืองก็ยังเหมือนเดิมและนักการเมืองยังคงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ฯลฯ
7. ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิออกเสียงเพื่อลงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- จะไปใช้สิทธิ.....................................................ร้อยละ 63.2
โดย - จะออกเสียงยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่............ร้อยละ 22.0
- จะออกเสียงไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่..........ร้อยละ 2.0
- ยังไม่ได้ตัดสินใจ...............................ร้อยละ 39.3
- จะไม่ไปใช้สิทธิ..............................................ร้อยละ 6.3
เพราะ เบื่อการเมือง ไม่อยากสนใจ และไม่มีข้อมูลความรู้เพียงพอที่จะไปใช้สิทธิ ฯลฯ
- ไม่แน่ใจ...................................................ร้อยละ 30.4
จะเห็นว่าจนถึงขณะนี้มีผู้ที่ตัดสินใจชัดเจนแล้วเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิออกเสียงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพียงร้อยละ 28.3 เท่านั้น
(คือกลุ่มที่ตัดสินใจแล้วว่าจะไปใช้สิทธิออกเสียงโดยยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฯ ร้อยละ 22.0 ไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 2.0 และจะไม่ไปใช้
สิทธิร้อยละ 6.3) ขณะที่ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 69.7 ยังไม่ได้ตัดสินใจ
8. เมื่อเปรียบเทียบความตั้งใจจะไปใช้สิทธิออกเสียงเพื่อลงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ระหว่างผู้ที่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาในร่างรัฐ
ธรรมนูญกับผู้ที่ไม่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหา พบว่าผู้ที่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาระบุว่าจะไปใช้สิทธิออกเสียงมากกว่าผู้ที่ไม่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหา
ดังตารางต่อไปนี้
จะไปใช้สิทธิ (ร้อยละ) จะไม่ไปใช้สิทธิ(ร้อยละ) ไม่แน่ใจ(ร้อยละ)
ผู้ที่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 76.1 4.6 19.3
ผู้ที่ไม่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 59.2 6.9 33.9
9. เมื่อเปรียบเทียบความตั้งใจที่จะออกเสียงยอมรับหรือไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ระหว่างผู้ที่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
ใหม่กับผู้ที่ไม่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหา พบว่าทั้งกลุ่มที่ได้อ่านและไม่ได้อ่านมีเปอร์เซ็นของผู้ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มากกว่าผู้ไม่ยอมรับ แต่เป็นที่
น่าสังเกตุว่ากลุ่มผู้ที่ได้อ่านหรือรับรู้เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีสัดส่วนของผู้ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญต่อผู้ไม่ยอมรับต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้อ่านหรือรับรู้
เนื้อหา ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
จะออกเสียงยอมรับ จะออกเสียงไม่ยอมรับ ยังไม่ได้ตัดสินใจ
ร่างรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญ
ผู้ที่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (คิดเป็นสัดส่วน) ร้อยละ 42.2(9) ร้อยละ 4.6(1) ร้อยละ 53.0(12)
ผู้ที่ไม่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่(คิดเป็นสัดส่วน) ร้อยละ 31.8(13) ร้อยละ 2.5(1) ร้อยละ 65.7(26)
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามข้อมูลความความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้แรงงาน เกี่ยวกับการรับรู้และความคาดหวังต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้สาธารณ
ชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มสถานประกอบการประเภทต่างๆในขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวน 35 แห่ง แบ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ 6 แห่ง บริษัทเอกชน 15 แห่ง และโรงงาน 14 แห่ง จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,103 คน เป็นเพศชายร้อยละ 44.4 และเพศหญิงร้อยละ 55.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24-27 เมษายน 2550
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 30 เมษายน 2550
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 490 44.4
หญิง 613 55.6
อายุ
18-25 ปี 318 28.8
26-35 ปี 473 42.9
36-45 ปี 221 20.0
46 ปีขึ้นไป 91 8.3
ประเภทของสถานประกอบการ
บริษัทธุรกิจเอกชน 515 46.7
โรงงาน 386 35.0
รัฐวิสาหกิจ 202 18.3
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5,000 บาท 64 5.8
5,001-10,000 บาท 443 40.2
10,001-15,000 บาท 291 26.4
15,001-20,000 บาท 119 10.8
20,001-25,000 บาท 78 7.1
มากกว่า 25,000 บาท 108 9.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เลิกไปหลังการปฏิรูปการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยมีหลายประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ศูนย์
วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความคาดหวังของแรงงานไทยต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
ใหม่” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ทำงานในสถานประกอบการประเภทธุรกิจเอกชน โรงงาน และรัฐวิสาหกิจในเขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวน 1,103 คน เมื่อวันที่ 24-27 เมษายน 2550 สรุปผลได้ดังนี้
1. การรับทราบว่าประเทศไทยกำลังจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิกไป
- ทราบ...........ร้อยละ 77.5
- ไม่ทราบ.......ร้อยละ 22.5
2. ความสนใจเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- สนใจ..........ร้อยละ 63.3
เพราะ เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง อยากให้ประเทศไทยก้าวหน้าอยากมีส่วนร่วม
และอยากปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ฯลฯ
- ไม่สนใจ........ร้อยละ 36.7
เพราะ วุ่นวายน่าเบื่อ ไม่ชอบเรื่องการเมือง ของเดิมดีอยู่แล้ว ไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย เปลี่ยนรัฐธรรมนูญ
บ่อยเกินไป และเชื่อว่าอีกไม่นานก็ต้องร่างฉบับใหม่ ฯลฯ
3. การมีโอกาสได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ได้อ่าน/ได้รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่..................ร้อยละ 23.5
โดยประเด็นที่สนใจมากที่สุดคือ เรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เรื่องการกำหนดให้ศาสนาพุทธ
เป็นศาสนาประจำชาติ และเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ฯลฯ
- ไม่ได้อ่าน/ไม่ได้รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่..............ร้อยละ 76.5
4. ความคาดหวังต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พบว่า แรงงานร้อยละ 77.0 คาดหวังให้ธรรมนูญฉบับใหม่ช่วยแก้ปัญหาหลักๆ ที่ประเทศไทยเผชิญอยู่
ซึ่งเมื่อจำแนกเป็นความคาดหวังในเรื่องต่างๆ สามารถเรียงลำดับจากเรื่องที่คาดหวังมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้
- คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันทำให้บ้านเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม...ร้อยละ 79.7
- คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่คุ้มครอง ส่งเสริม และขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยทำให้
ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่.............................ร้อยละ 77.3
- คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม.......ร้อยละ 76.3
- คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็งและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยปิดช่องทางไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ..................ร้อยละ 74.8
6. ความเชื่อมั่นว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองโดยรวมของไทยดีขึ้น
- เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น............................ร้อยละ 59.9
เพราะ มีการขยายสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองมากขึ้นและเชื่อว่าปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจะลดลง ฯลฯ
- ไม่เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น..........................ร้อยละ 40.1
เพราะ ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติมากกว่ารัฐธรรมนูญ ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาหลายครั้งแล้ว
แต่บ้านเมืองก็ยังเหมือนเดิมและนักการเมืองยังคงเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ฯลฯ
7. ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิออกเสียงเพื่อลงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- จะไปใช้สิทธิ.....................................................ร้อยละ 63.2
โดย - จะออกเสียงยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่............ร้อยละ 22.0
- จะออกเสียงไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่..........ร้อยละ 2.0
- ยังไม่ได้ตัดสินใจ...............................ร้อยละ 39.3
- จะไม่ไปใช้สิทธิ..............................................ร้อยละ 6.3
เพราะ เบื่อการเมือง ไม่อยากสนใจ และไม่มีข้อมูลความรู้เพียงพอที่จะไปใช้สิทธิ ฯลฯ
- ไม่แน่ใจ...................................................ร้อยละ 30.4
จะเห็นว่าจนถึงขณะนี้มีผู้ที่ตัดสินใจชัดเจนแล้วเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิออกเสียงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพียงร้อยละ 28.3 เท่านั้น
(คือกลุ่มที่ตัดสินใจแล้วว่าจะไปใช้สิทธิออกเสียงโดยยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฯ ร้อยละ 22.0 ไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 2.0 และจะไม่ไปใช้
สิทธิร้อยละ 6.3) ขณะที่ส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 69.7 ยังไม่ได้ตัดสินใจ
8. เมื่อเปรียบเทียบความตั้งใจจะไปใช้สิทธิออกเสียงเพื่อลงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ระหว่างผู้ที่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาในร่างรัฐ
ธรรมนูญกับผู้ที่ไม่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหา พบว่าผู้ที่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาระบุว่าจะไปใช้สิทธิออกเสียงมากกว่าผู้ที่ไม่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหา
ดังตารางต่อไปนี้
จะไปใช้สิทธิ (ร้อยละ) จะไม่ไปใช้สิทธิ(ร้อยละ) ไม่แน่ใจ(ร้อยละ)
ผู้ที่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 76.1 4.6 19.3
ผู้ที่ไม่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 59.2 6.9 33.9
9. เมื่อเปรียบเทียบความตั้งใจที่จะออกเสียงยอมรับหรือไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ระหว่างผู้ที่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
ใหม่กับผู้ที่ไม่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหา พบว่าทั้งกลุ่มที่ได้อ่านและไม่ได้อ่านมีเปอร์เซ็นของผู้ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มากกว่าผู้ไม่ยอมรับ แต่เป็นที่
น่าสังเกตุว่ากลุ่มผู้ที่ได้อ่านหรือรับรู้เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีสัดส่วนของผู้ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญต่อผู้ไม่ยอมรับต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้อ่านหรือรับรู้
เนื้อหา ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
จะออกเสียงยอมรับ จะออกเสียงไม่ยอมรับ ยังไม่ได้ตัดสินใจ
ร่างรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญ
ผู้ที่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (คิดเป็นสัดส่วน) ร้อยละ 42.2(9) ร้อยละ 4.6(1) ร้อยละ 53.0(12)
ผู้ที่ไม่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่(คิดเป็นสัดส่วน) ร้อยละ 31.8(13) ร้อยละ 2.5(1) ร้อยละ 65.7(26)
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามข้อมูลความความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้แรงงาน เกี่ยวกับการรับรู้และความคาดหวังต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้สาธารณ
ชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มสถานประกอบการประเภทต่างๆในขตกรุงเทพฯ
และปริมณฑล จำนวน 35 แห่ง แบ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ 6 แห่ง บริษัทเอกชน 15 แห่ง และโรงงาน 14 แห่ง จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,103 คน เป็นเพศชายร้อยละ 44.4 และเพศหญิงร้อยละ 55.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24-27 เมษายน 2550
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 30 เมษายน 2550
ตาราง ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 490 44.4
หญิง 613 55.6
อายุ
18-25 ปี 318 28.8
26-35 ปี 473 42.9
36-45 ปี 221 20.0
46 ปีขึ้นไป 91 8.3
ประเภทของสถานประกอบการ
บริษัทธุรกิจเอกชน 515 46.7
โรงงาน 386 35.0
รัฐวิสาหกิจ 202 18.3
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5,000 บาท 64 5.8
5,001-10,000 บาท 443 40.2
10,001-15,000 บาท 291 26.4
15,001-20,000 บาท 119 10.8
20,001-25,000 บาท 78 7.1
มากกว่า 25,000 บาท 108 9.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-