เนื่องในโอกาสที่รัฐบาลจะจัดงานมหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์นานาชาติ (Thailand Creative Economy Forum :TICEF) ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนพันธสัญญาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาลระหว่างวันที่ 28 — 30 พฤศจิกายน นี้
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อการขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ของไทย โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 22-24 พ.ย. ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ประกอบการเพียงร้อยละ 30.2 เท่านั้นที่เข้าใจความ หมายของคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ที่เหลือร้อยละ 36.2ยังไม่ค่อยเข้าใจ และร้อยละ 33.6 ไม่เข้าใจเลย นอกจากนี้ผู้ประกอบการ มากถึงร้อยละ 64.3 ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลได้กำหนดให้ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
เมื่อสอบถามถึงการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปใช้กับกิจการพบว่า ผู้ประกอบการร้อยละ 47.1 ยังไม่มีการกำหนดแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้ในวิสัยทัศน์ /พันธกิจ/หรือแผนงาน ในจำนวนนี้มีถึงร้อยละ 42.3 ที่ไม่ได้มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปใช้กับตัว สินค้าหรือบริการ ส่วนประเภทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ผู้ประกอบการเห็นว่าเหมาะกับศักยภาพของคนไทยและประเทศไทยที่รัฐบาลควรเร่งส่งเสริม มากที่สุดอันดับแรก คือ งานฝีมือและหัตถกรรม (ร้อยละ 27.9) รองลงมาคืองานออกแบบ (ร้อยละ 16.3) และงานสถาปัตยกรรม (ร้อยละ 14.5)
สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้กับกิจการ คือ เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ ประกอบการไทย ทำให้ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอในการนำไปปรับใช้ รวมทั้งไม่รู้ว่าจะนำไปปรับใช้อย่างไร (ร้อยละ 31.8) และต้องการให้รัฐบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือโดยการจัดอบรมสัมนาและทำ Workshop เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เห็น ภาพว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์สามารถนำมาใช้ได้จริงกับกิจการที่ทำอยู่ (ร้อยละ 29.9)
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการร้อยละ 56.9 สนใจเข้าร่วมงานมหกรรมเศรษฐกิจสรางสรรค์นานาชาติ โดยคาดหวังว่าจะได้รับความรู้และไอ เดียใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงกับกิจการที่ทำอยู่ (ร้อยละ 59.1) รวมถึงคาดหวังว่าจะได้เห็นตัวอย่างนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์จากใน ประเทศและต่างประเทศที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง (ร้อยละ 20.7)
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
เข้าใจ ร้อยละ 30.2 ไม่ค่อยเข้าใจ ร้อยละ 36.2 ไม่เข้าใจเลย ร้อยละ 33.6 2. การรับทราบเกี่ยวกับการที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้กำหนดให้ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทราบ ร้อยละ 35.7 ไม่ทราบ ร้อยละ 64.3 3. การนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มากำหนดลงในวิสัยทัศน์/พันธกิจ/แผนงานของกิจการและการนำไปใช้กับการผลิตสินค้า/บริการ มีการกำหนดอยู่ในวิสัยทัศน์/พันธกิจ/แผนงาน ร้อยละ 36.3 แต่ยังไม่มีการนำไปใช้กับตัวสินค้าหรือบริการ ร้อยละ 8.0 และมีการนำไปใช้กับตัวสินค้าหรือบริการ ร้อยละ 28.3 ไม่มีการกำหนดอยู่ในวิสัยทัศน์/พันธกิจ/แผนงาน ร้อยละ 47.1 และไม่มีการนำไปใช้กับตัวสินค้าหรือบริการ ร้อยละ 42.3 แต่มีการนำไปใช้กับตัวสินค้าหรือบริการ ร้อยละ 4.8 ไม่มั่นใจ/ไม่สามารถตอบได้ ร้อยละ 16.6 4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เหมาะกับศักยภาพของคนไทยและประเทศไทยที่รัฐบาลควรส่งเสริม งานฝีมือและหัตถกรรม ร้อยละ 27.9 งานออกแบบ ร้อยละ 16.3 สถาปัตยกรรม ร้อยละ 14.5 ธุรกิจโฆษณา ร้อยละ 10.9 แฟชั่น ร้อยละ 9.8 ศิลปะการแสดง ร้อยละ 8.8 ภาพยนตร์และวีดีโอ ร้อยละ 5.0 ธุรกิจการพิมพ์ ร้อยละ 4.5 การกระจายเสียง ร้อยละ 2.3 5. ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้กับกิจการที่ดำเนินอยู่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
1. เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย ทำให้ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอในการนำไปปรับใช้ รวมทั้งไม่รู้ว่าจะนำ
ไปปรับใช้อย่างไร ร้อยละ 31.8
2. พนักงานของกิจการยังไม่มีความพร้อมในการที่จะสร้างสรรค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน นอกจากนี้พนักงานยังมีแนวความคิดเดิมๆ ไม่เปิดรับสิ่งใหม่ และไม่ให้ความร่วมมือด้วย ในส่วนของเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารบางส่วนก็ยังมี
ทัศนคติที่ไม่ยอมรับความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ร้อยละ 25.4
3. กิจการขาดแคลนเงินทุนในการศึกษาวิจัยหรือคิดค้นนวัตกรรมอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ร้อยละ 14.5
4. ระบบการศึกษาไทยยังไม่ส่งเสริมให้มีการใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติที่ไม่เอื้อต่อการเปิดรับ
แนวคิดในเชิงสร้างสรรค์ ร้อยละ 9.8 6. สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือในการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้กับกิจการ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
1. จัดอบรมสัมนาและทำ Workshop เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เห็นภาพว่าเศรษฐกิจสร้าง
สรรค์สามารถนำมาใช้ได้จริงกับกิจการที่ทำอยู่ ร้อยละ 29.9
2. ต้องการให้รัฐเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่
ยังไม่รู้ว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีความสำคัญอย่างไร ร้อยละ 21.2
3. สนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงการปรับลดภาษีให้กับกิจการที่มีการคิดค้นนวัตกรรม
อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ร้อยละ 16.8
4. พัฒนาคนให้มีความคิดที่สร้างสรรค์ด้วยการปรับปรุงระบบการเรียนการสอน ระบบการคิด รวมถึงการปรับทัศนคติเชิงบวกให้กับคน
ไทย เพื่อการเปิดรับความคิดสร้างสรรค์ ร้อยละ 10.9 7. ความสนใจที่จะเข้าร่วมงานมหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์นานาชาติ ซึ่งรัฐบาลกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 28-30 พฤศจิกายนนี้ ที่ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สนใจ ร้อยละ 56.9 ไม่สนใจ ร้อยละ 43.1 8. สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการเข้าร่วมงานมหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์นานาชาติ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
1. ได้รับความรู้และไอเดียใหม่ๆ ที่จะสามารถนำมาใช้ได้จริงกับกิจการที่ทำอยู่ ร้อยละ 59.1
2. คาดว่าจะได้เห็นตัวอย่างนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์จากในประเทศ
และต่างประเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง ร้อยละ 20.7
3. คาดว่าจะมีการจัดสัมมนา Workshop ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงกับกิจการ ร้อยละ 5.0
4. คาดว่าจะมีบูธให้คำแนะนำด้านการตลาด ด้านการเงินภายในงาน
ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนเพื่อการคิดค้นและพัฒนา รวมถึงเงินทุนหมุนเวียน ร้อยละ 4.4
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการในกิจการประเภทต่างๆ จำนวน 7 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) กลุ่มแฟชั่น (2) กลุ่มก่อ สร้าง (3) กลุ่มยานยนต์และเครื่องจักรกล (4) กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (5) กลุ่มอาหารและยา (6) กลุ่มบริการและบริการการ ค้า (7) กลุ่มสนับสนุน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความสะดวก และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 462 กิจการ
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน บันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22-24 พฤศจิกายน 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 26 พฤศจิกายน 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 148 32.0 หญิง 314 68.0 รวม 462 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 36 7.8 26 ปี — 35 ปี 190 41.2 36 ปี — 45 ปี 134 29.0 46 ปีขึ้นไป 102 22.0 รวม 462 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 61 13.3 ปริญญาตรี 327 70.7 ปริญญาโท 74 16.0 รวม 462 100.0 ตำแหน่ง เจ้าของกิจการ/ผู้บริหาร 133 28.8 หัวหน้างาน 152 32.9 พนักงานระดับปฎิบัติการ 177 38.3 รวม 462 100.0 ขนาดของกิจการ กิจการขนาดเล็ก (จำนวนพนักงาน 1-49 คน) 238 51.5 กิจการขนาดกลาง (จำนวนพนักงาน 50-199 คน) 120 25.9 กิจการขนาดใหญ่ (จำนวนพนักงาน 200 คนขึ้นไป) 104 22.6 รวม 462 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--