ด้วยวันที่ 4 ธันวาคมที่จะถึงนี้ตรงกับวันสิ่งแวดล้อมไทย ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความพร้อมของไทยในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,272 คน เมื่อวันที่ 26-28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ประชาชนร้อยละ 68.2 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา โดยเห็นว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับประเทศไทยในอนาคต อันดับแรกได้แก่ ภัยน้ำท่วม (ร้อยละ 44.4) รองลงมาคือ ภัยแล้ง / อุณหภูมิสูงเกินกว่า 40 องศา (ร้อยละ 29.0) แผ่นดินไหว (ร้อยละ 9.0) และ สึนามิ (ร้อยละ7.1) นอกจากนี้เมื่อถามว่ากลัวหรือไม่ว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรงที่เกิดขึ้นจะเป็นสัญญาณเตือนจากธรรมชาติว่าใกล้จะถึงวันสิ้นโลกปรากฎว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.9 ระบุว่ากลัว ขณะที่ร้อยละ 46.1 ไม่กลัว
สำหรับความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของระบบการป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทยพบว่า ประชาชนร้อยละ 51.1 ไม่เชื่อมั่น โดยด้านการเตรียมพร้อมในการอพยพโยกย้ายคนไปยังที่ปลอดภัยเป็นด้านที่ประชาชนเชื่อมั่นน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 37.8
เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ที่กำหนดให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระการเสียภาษีพบว่า ประชาชนร้อยละ 74.5 เห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 25.5 ที่ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้เมื่อถามว่าใครควรเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยมากที่สุดพบว่า อันดับแรกได้แก่ ตัวเอง (ร้อยละ 44.0) รองลงมาคือ รัฐบาล (ร้อยละ 25.0) และโรงงานอุตสาหกรรม (ร้อยละ 15.0) ตามลำดับ ขณะที่หน่วยงานหรือองค์กรที่มีบทบาทในด้านการอนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุดอันดับแรกได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมป่าไม้ (ร้อยละ 58.3) รองลงมาคือ กลุ่มกรีนพีซ (ร้อยละ 12.8) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ร้อยละ 5.6)
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 68.2
(โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างมากร้อยละ 47.0 และกังวลมากที่สุดร้อยละ 21.2)
- กังวลค่อนข้างน้อยถึงไม่กังวลเลย ร้อยละ 31.8
(โดยแบ่งเป็น กังวลค่อนข้างน้อยร้อยละ 23.3 และไม่กังวลเลยร้อยละ 8.5)
- ภัยน้ำท่วม ร้อยละ 44.4 - ภัยแล้ง / อุณหภูมิสูงเกินกว่า 40 องศา ร้อยละ 29.0 - แผ่นดินไหว ร้อยละ 9.0 - สึนามิ ร้อยละ 7.1 - พายุที่รุนแรง ร้อยละ 4.2 - อื่นๆ อาทิเช่น คลื่นกัดเซาะชายฝั่ง ดินและโคลนถล่ม ไฟป่า ร้อยละ 6.3 3. จากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น ปรากฎการเอลนินโญ่ แผ่นดินไหวในเฮติ สึนามิในอินโดนีเซีย ท่านกลัวหรือไม่ว่าเป็นสัญญาณเตือนจากธรรมชาติว่าใกล้จะถึงวันสิ้นโลก - กลัว ร้อยละ 53.9 - ไม่กลัว ร้อยละ 46.1 4. ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของระบบการป้องกัน และรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทย ในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ พบว่า ด้าน เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น รวม (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) - การพยากรณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ 50.6 49.4 100.0
- การเตือนภัยล่วงหน้า เช่น การแจ้งรายละเอียดของภัย ความรุนแรงของภัย
และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 58.1 41.9 100.0 - การเตรียมพร้อมในการอพยพ โยกย้ายคน ไปยังที่ปลอดภัยได้เหมาะสมทันเวลา 37.8 62.2 100.0 เฉลี่ยรวม 48.9 51.1 100.0 5. ความคิดเห็นต่อการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ที่กำหนดให้ผู้ก่อมลพิษ เป็นผู้รับภาระการเสียภาษี เช่น นักช้อปปิ้งทั้งหลายต้องจ่ายเพิ่มสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่จะกลายเป็นขยะให้ต้องกำจัด หรือ โรงงานต้องเสียภาษีการปล่อยมลพิษทางน้ำ โดยจ่ายตามจำนวนมลพิษที่ปล่อย พบว่า - เห็นด้วย ร้อยละ 74.5
(โดยให้เหตุผลว่า ผู้ก่อมลพิษจะได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
โดยภาษีที่เก็บได้ควรนำมาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น)
- ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 25.5
(โดยให้เหตุผลว่า ประชาชนเสียภาษีอยู่แล้ว ไม่ควรเก็บเพิ่มอีก เป็นการเพิ่มภาระให้ผู้บริโภค
จะทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น)
- ตัวเอง ร้อยละ 44.0 - รัฐบาล ร้อยละ 25.0 - โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ร้อยละ 15.0 - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 9.8 - ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น จีน อเมริกา ร้อยละ 2.8 - อื่นๆ อาทิเช่น นักการเมือง นักธุรกิจ นักโฆษณา นักการตลาด ร้อยละ 3.4 7. หน่วยงานหรือองค์กร ที่มีบทบาทในด้านการอนุรักษ์และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างน่าชื่นชมยกย่องมากที่สุด (5 อันดับแรก) คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมป่าไม้ ร้อยละ 58.3
(โดยแบ่งเป็น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติร้อยละ 50.0 และกรมป่าไม้ร้อยละ 8.3)
- กลุ่มกรีนพีซ ร้อยละ 12.8 - บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 5.6 - กรุงเทพมหานคร (กทม.) ร้อยละ 4.9 - กระทรวงพลังงาน ร้อยละ 3.8 - บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 3.8
- อื่นๆ อาทิเช่น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 10.8
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 29เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร และสายไหม และจังหวัดในเขตปริมณฑลรวม 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,272 คน เป็นชายร้อยละ 49.7 และหญิงร้อยละ 50.3
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 26 - 28 พฤศจิกายน 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 2 ธันวาคม 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ
ชาย 632 49.7 หญิง 640 50.3 รวม 1,272 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 317 24.9 26 - 35 ปี 359 28.2 36 - 45 ปี 305 24.0 46 ปีขึ้นไป 291 22.9 รวม 1,272 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 767 60.3 ปริญญาตรี 446 35.1 สูงกว่าปริญญาตรี 44 3.5 ไม่ระบุการศึกษา 15 1.1 รวม 1,272 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 101 7.9 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 343 27.0 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 401 31.5 รับจ้างทั่วไป 180 14.2 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 96 7.5 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 145 11.4 ไม่ระบุอาชีพ 6 0.5 รวม 1,272 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--