ด้วยวันที่ 20 ธันวาคม 2553 เป็นวันครบรอบ 2 ปี การทำงานของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประเมินผลงาน 2 ปี รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,448 คน เมื่อวันที่ 10-14 ธันวาคม ที่ผ่านมา พบว่า
ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล 3.82 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากผลสำรวจเมื่อตอนที่ รัฐบาลทำงานครบ 1 ปี 0.05 คะแนน โดยให้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านสังคมและคุณภาพชีวิตมากที่สุด แต่พึงพอใจผลงานด้านการบริหารจัดการ และการบังคับใช้กฎหมายน้อยที่สุด
สำหรับผลงานและโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ โครงการเรียนฟรี 15 ปี โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา และ โครงการประกันราคาสินค้าเกษตร ตามลำดับ
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่าย ค้าน พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ 4.11 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 3.42 คะแนน และพรรคฝ่ายค้าน ได้ 3.85 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
สำหรับคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเฉลี่ย 4.44 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากผลการประเมินเมื่อตอนที่ทำงานครบ 1 ปี 0.26 คะแนน โดยได้คะแนนความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ มากที่สุด แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด
ส่วนเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลทำอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนคือ ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นเพื่อจะได้ให้คนมีงานทำ มีราย ได้ ร้อยละ 19.9 รองลงมาคือ ทำให้บ้านเมืองสงบ มีความสามัคคี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้คนในชาติ ร้อยละ 12.8 และให้ยุบสภาแล้วลือกตั้ง ใหม่ ร้อยละ 11.6
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 1 ปี พบว่ามีคะแนน เพิ่มขึ้น ดังตารางต่อไปนี้
1 ปี (คะแนนที่ได้) 2 ปี(คะแนนที่ได้) เพิ่มขึ้น / ลดลง ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต 3.76 4.12 + 3.36 ด้านการต่างประเทศ 3.75 3.90 + 0.15 ด้านเศรษฐกิจ 4.41 3.78 - 0.63 ด้านความมั่นคงของประเทศ 3.73 3.74 + 0.01 ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย 3.71 3.53 - 0.18 เฉลี่ยรวม 3.87 3.82 - 0.05
หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
- โครงการเรียนฟรี 15 ปี ร้อยละ 23.5 - โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา ร้อยละ 13.9
- โครงการประกันราคาสินค้าเกษตร(เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ) ร้อยละ 9.9
- การต่ออายุโครงการค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ฟรี ร้อยละ 9.5 - การต่ออายุโครงการรถเมล์ รถไฟ ฟรี ร้อยละ 8.2 3. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ครบ 1 ปี(คะแนนที่ได้) ครบ 2 ปี(คะแนนที่ได้) เพิ่มขึ้น / ลดลง
พรรคแกนนำรัฐบาล (พรรคประชาธิปัตย์) 4.23 4.11 - 0.12 พรรคร่วมรัฐบาล (พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเผื่อแผ่นดิน ฯลฯ) 3.44 3.42 - 0.02 พรรคฝ่ายค้าน (พรรคเพื่อไทย พรรคประชาราช ฯลฯ) 3.37 3.85 + 0.48
หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
ครบ1 ปี(คะแนน) ครบ 2 ปี(คะแนน) เพิ่มขึ้น / ลดลง
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ 5.35 5.02 - 0.33 ความซื่อสัตย์สุจริต 5.44 4.86 - 0.58 การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 4.83 4.53 - 0.30 ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ 4.62 4.30 - 0.32 ความสามารถในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ ที่มี 4.25 4.18 - 0.07 ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ 3.72 3.75 + 0.03 คะแนนเฉลี่ย 4.70 4.44 - 0.26
หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
- ดีกว่าที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 11.3 - พอๆ กับที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 34.3 - แย่กว่าที่คาดหวังไว้ ร้อยละ 25.1 - ไม่ได้คาดหวังไว้ ร้อยละ 29.3 6. เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์ ทำอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) - ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นเพื่อจะได้ให้คนมีงานทำ มีรายได้ ไม่ว่างงาน ร้อยละ 19.9
- ทำให้บ้านเมืองสงบ มีความสามัคคี และสร้างความเชื่อมั่นให้คนในชาติ ร้อยละ 12.8
- ให้ยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 11.6 - ให้ควบคุมราคาสินค้า อุปโภค บริโภค และราคาน้ำมัน ร้อยละ 7.8 - ให้เร่งแก้ปัญหา ยาเสพติด อบายมุข และโจรผู้ร้าย ร้อยละ 5.8
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ในทุกภาคของประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,448 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.6 และเพศหญิงร้อยละ 50.4
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้ นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 10 — 14 ธันวาคม 2553 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 20 ธันวาคม 2553
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 718 49.6 หญิง 730 50.4 รวม 1,448 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 330 22.8 26 ปี — 35 ปี 390 26.9 36 ปี — 45 ปี 373 25.8 46 ปีขึ้นไป 355 24.5 รวม 1,448 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 870 60.1 ปริญญาตรี 500 34.5 สูงกว่าปริญญาตรี 78 5.4 รวม 1,448 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 150 10.4 พนักงานบริษัทเอกชน 368 25.3 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 436 30.1 รับจ้างทั่วไป 219 15.1 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 89 6.2 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน 186 12.9 รวม 1,448 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--