กรุงเทพโพลล์: เหตุการณ์ยอดแย่แห่งปี 2553

ข่าวผลสำรวจ Thursday December 30, 2010 08:50 —กรุงเทพโพลล์

ผลสำรวจเรื่อง เหตุการณ์ยอดแย่แห่งปี 2553

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “เหตุการณ์ยอดแย่แห่งปี 2553” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,304 คน เมื่อวันที่ 24 - 26 ธันวาคมที่ผ่านมา พบว่า

10 อันดับเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกแย่ที่สุดในปี 2553 อันดับแรกได้แก่ การเผาทำลายบ้าน เมืองในช่วงเดือนพฤษภาคม (ร้อยละ 28.7) รองลงมาคือ การพบศพเด็กทารกจากการทำแท้ง 2,000 กว่าศพ ที่วัดไผ่เงิน (ร้อยละ 22.6)

การสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง (ร้อยละ 16.4) การเกิดอุทกภัยร้ายแรงในประเทศไทย (ร้อยละ 8.7) การตัดสินไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 6.5) น้องโตมี่ถูก แก๊งโหดใช้อาวุธปืนยิงถล่ม (ร้อยละ 5.5) การขึ้นเงินเดือนของ ส.ส. และ ส.ว. (ร้อยละ 4.2) การเสียชีวิตของจ่าเพียร (ร้อยละ 3.4) การตัดไม้เพื่อขยายถนนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (ร้อยละ 1.5) และทีมชาติไทยเสมอทีมชาติลาวและตกรอบแรกในศึกซูซูกิคัพ 2010 ตามลำดับ

สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ที่ประชาชนเห็นว่ามีผลงานน่าผิดหวังที่สุดในปี 2553 อันดับแรกได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ร้อยละ 23.4) รองลงมาคือ กระทรวงมหาดไทย (ร้อยละ 9.7) และกระทรวง คมนาคม (ร้อยละ 8.2)

ส่วนสมาคมกีฬาที่ประชาชนเห็นว่ามีผลงานน่าผิดหวังที่สุดในปี 2553 อันดับแรก ได้แก่ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ (ร้อยละ 88.2) รองลงมาคือ สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยฯ (ร้อยละ 6.3) และสมาคมกีฬายิงปืนแห่งประเทศไทยฯ (ร้อยละ 2.1)

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1. เหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ที่สุดในปี 2553 ( 10 อันดับแรก) ได้แก่

- การเผาทำลายบ้านเมืองในช่วงเดือนพฤษภาคม                ร้อยละ          28.7
- การพบศพเด็กทารกจากการทำแท้ง 2,000 กว่าศพที่วัดไผ่เงิน     ร้อยละ          22.6
- การสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง                      ร้อยละ          16.4
- การเกิดอุทกภัยร้ายแรงในประเทศไทย                      ร้อยละ          8.7
- การตัดสินไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ      ร้อยละ          6.5
- น้องโตมี่ถูกแก๊งโหดใช้อาวุธปืนยิงถล่ม                       ร้อยละ          5.5
- การขึ้นเงินเดือน สส. และ สว.                          ร้อยละ          4.2
- การเสียชีวิตของจ่าเพียร                                ร้อยละ          3.4
- การตัดไม้ เพื่อขยายถนนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่          ร้อยละ          1.5
- ทีมชาติไทยเสมอทีมชาติลาว และตกรอบแรกในศึกซูซูกิคัพ 2010    ร้อยละ          1.4

2. หน่วยงานภาครัฐที่มีผลงานน่าผิดหวังที่สุดในปี 2553 (5 อันดับแรก) ได้แก่
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ    ร้อยละ          23.4
- กระทรวงมหาดไทย        ร้อยละ          9.7
- กระทรวงคมนาคม         ร้อยละ          8.2
- กระทรวงการคลัง         ร้อยละ          6.4
- กระทรวงพาณิชย์          ร้อยละ          5.9

3. สมาคมกีฬา ที่มีผลงานน่าผิดหวังที่สุดในปี 2553 (5 อันดับแรก) ได้แก่
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

- สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์             ร้อยละ          88.2
- สมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์    ร้อยละ          6.3
- สมาคมกีฬายิงปืนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์           ร้อยละ          2.1
- สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์           ร้อยละ          0.9
- สมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย                             ร้อยละ          0.3

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 30 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา
จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต  ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา
บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง
วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หนองจอกและหลักสี่ และจังหวัดในเขตปริมณฑลรวม
3 จังหวัด ได้แก่  นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น
จำนวน 1,304 คน เป็นชายร้อยละ 49.9 และหญิงร้อยละ 50.1

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   24 - 26 ธันวาคม 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :    30  ธันวาคม 2553


ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)   โทร. 02-350-3500 ต่อ 1770, 1776
E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th      Website: http://research.bu.ac.th
Twitter :  http://twitter.com/bangkok_poll


ข้อมูลประชากรศาสตร์

          จำนวน (คน)          ร้อยละ
เพศ
ชาย          651             49.9
หญิง          653             50.1
รวม          1,304          100.0
อายุ
          18 - 25 ปี          350          26.8
          26 - 35 ปี          352          27.0
          36 - 45 ปี          311          23.8
          46 ปีขึ้นไป          291           22.4
รวม                       1,304          100.0
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี          814          62.5
          ปริญญาตรี               444          34.0
          สูงกว่าปริญญาตรี          30           2.3
          ไม่ระบุการศึกษา          16           1.2
รวม                        1,304           100.0
อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ            89          6.8
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน            359          27.5
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว             431          33.1
          รับจ้างทั่วไป                           197          15.1
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                 87           6.7
          อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น141          10.8
รวม                                        1,304          100.0




--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ