กรุงเทพโพลล์: ดัชนีความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ และความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาสำคัญของชาติ

ข่าวผลสำรวจ Wednesday January 26, 2011 09:42 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,236 คน พบว่า ความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเมื่อเปรียบ เทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา (6 เดือนที่แล้ว) พบว่า

มีคะแนนความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 0.44 คะแนน โดยความเสี่ยงด้านการเมืองมีคะแนนสูงที่สุดคือ 7.45 คะแนน รองลงมาคือความเสี่ยงด้าน ค่าครองชีพและหนี้สิน (6.99 คะแนน) และความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย (6.73 คะแนน) ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาในรายตัวชี้วัดทั้ง 10 ตัว พบว่า ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว มีคะแนนความเสี่ยงเพิ่มขึ้นสูงที่สุด โดยเพิ่มขึ้น 1.14 คะแนน รองลงมาได้แก่ ความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สิน (0.98คะแนน) และความเสี่ยงด้านการงานและอาชีพ (0.63 คะแนน) ตาม ลำดับ

สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ เป็นห่วง และกังวลมากที่สุด ต่อกรณีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ พบว่าอันดับแรก ห่วงเรื่องความแตก แยกของคนไทยด้วยกัน (ร้อยละ 38.9) รองลงมา ห่วงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว (ร้อยละ 22.7) ห่วงความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (ร้อยละ 12.0) ห่วงภาพลักษณ์ของประเทศ (ร้อยละ 10.7) ห่วงการเผชิญหน้าและการใช้อำนาจ เกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่ (ร้อยละ 8.3) และห่วงเรื่องการจราจรและการเดินทาง (ร้อยละ 7.4) ตามลำดับ

ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการการแก้ปัญหาสำคัญๆ ที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ในขณะนี้ พบว่า มีคะแนนความเชื่อมั่นเพียง 3.34 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีคะแนนความเชื่อมั่นน้อยที่สุดคือ 2.82 คะแนน รองลงมา ได้แก่ ปัญหาราคาสินค้าและค่าครองชีพ (3.31 คะแนน) ปัญหาการชุมนุมทางการเมือง (3.32 คะแนน) ปัญหาชายแดนไทย — กัมพูชา (3.42 คะแนน) และปัญหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (3.82 คะแนน) ตามลำดับ

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. คะแนนความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6.38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการสำรวจ
เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว 0.44 คะแนน โดยความเสี่ยงในด้านการเมืองมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ความเสี่ยงในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว
มีคะแนนต่ำที่สุด
     ความเสี่ยงในด้านต่างๆ                                            สำรวจเดือน ก.ค.53     สำรวจเดือน ม.ค.54    เพิ่มขึ้น/ลดลง

(เต็ม 10 คะแนน) (เต็ม 10 คะแนน) 1) ความเสี่ยงด้านการเมือง เช่น ความไม่มั่นคงทางการเมืองความแตกแยก

    ขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง และระบอบประชาธิปไตยถูกสั่นคลอน                         7.59               7.45          -0.14
2)  ความเสี่ยงด้านค่าครองชีพและหนี้สิน เช่น มีรายจ่ายสูงกว่ารายรับ
    มีภาระ หนี้สิน หรือมีโอกาสเป็นหนี้ ฯลฯ                                           6.01               6.99          +0.98
3)  ความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย เช่น กินอาหารไม่ถูกสุขอนามัย
    มีสารพิษเจือปน  ขาดการออกกำลังกาย  ได้รับมลพิษทางอากาศและทางน้ำ ฯลฯ             6.61               6.73          +0.12
4)  ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การถูกทำร้ายร่างกาย
    ถูกลูกหลง โจรกรรม ทรัพย์สิน  ฉกชิงวิ่งราว และล่วงละเมิดทางเพศ   ฯลฯ               6.41               6.71          +0.30
5)  ความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทาง เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร
    การเดินทาง  ตกรถ ตกเรือ ฯลฯ                                               6.02               6.63          +0.61
6)  ความเสี่ยงด้านการงานอาชีพ เช่น มีโอกาสตกงาน ถูกลดเงินเดือน รายได้ลดลง
    หน้าที่การงานไม่มั่นคง                                                        5.86               6.49          +0.63
7)  ความเสี่ยงด้านการสูญเสียวัฒนธรรมประเพณีและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่นความเสี่ยงที่จะสูญเสีย
    วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ความสัมพันธ์ในชุมชน วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม และห่างไกลจากศาสนา     5.70               6.27          +0.57
8)  ความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตใจ เช่นความเครียด  วิตกกังวล ทุกข์ใจ ซึมเศร้า ฯลฯ             5.91               6.21          +0.30
9)  ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรง เช่น  พายุ น้ำท่วม
    แผ่นดินไหว โรคไข้หวัด 2009 ฯลฯ                                              5.35               5.29          -0.06
10) ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายร่างกาย
    ห่างเหิน ไม่เข้าใจกัน และความแตกแยกในครอบครัว                                 3.90               5.04          +1.14
          เฉลี่ยรวม                                                           5.94               6.38          +0.44
หมายเหตุ  การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน

2.  สิ่งที่เป็นห่วงและกังวล มากที่สุด หากมีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ ทั้ง เสื้อเหลือง เสื้อแดง ได้แก่
          ความแตกแยกของคนไทยด้วยกัน                              ร้อยละ          38.9
          ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว ของไทย          ร้อยละ          22.7
          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน                   ร้อยละ          12.0
          ภาพลักษณ์ของประเทศไทย                                  ร้อยละ          10.7
          การเผชิญหน้าและการใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่           ร้อยละ           8.3
          ปัญหาจราจรและการเดินทาง                                ร้อยละ           7.4

3. คะแนนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ในการแก้ปัญหาสำคัญๆ ของชาติต่อไปนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
                    ปัญหา                              คะแนน
          ปัญหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ                     3.82
          ปัญหาชายแดนไทย - กัมพูชา                       3.42
          ปัญหาการชุมนุมทางการเมือง                       3.32
          ปัญหาราคาสินค้าและค่าครองชีพ                     3.31
          ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้          2.82
          เฉลี่ยรวม                                     3.34

รายละเอียดในการสำรวจ ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มถนน จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บ ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,236 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.6 และเพศหญิงร้อยละ 49.4

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           :   25 มกราคม 2553

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :   26 มกราคม 2553

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                                     จำนวน        ร้อยละ
เพศ
                       ชาย                            625          50.6
                       หญิง                            611          49.4
          รวม                                       1,236         100.0

อายุ
                      18 - 25 ปี                       289          23.4
                      26 - 35 ปี                       336          27.2
                      36 - 45 ปี                       268          21.7
                      46 ปีขึ้นไป                        343          27.7
          รวม                                       1,236         100.0

การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี                           793          64.2
               ปริญญาตรี                                387          31.3
               สูงกว่าปริญญาตรี                            40           3.2
              ไม่ระบุการศึกษา                             16           1.3
          รวม                                       1,236         100.0

อาชีพ
               ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ               40           3.2
               พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน               332          26.9
               ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                427          34.6
               รับจ้างทั่วไป                              182          14.7
               พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                   126          10.2
               อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น   125          10.1
               ไม่ระบุอาชีพ                                4           0.3
          รวม                                       1,236         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ