ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 26 แห่ง จำนวน 83 คน เรื่อง “ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทย 3 เดือนข้างหน้า (พ.ค. 54) โดยเก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 19-25 ม.ค. ที่ผ่านมา พบว่า
ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 58.11 ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า 50 และอยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ การคาดการณ์ครั้งก่อนหน้า แสดงให้เห็นว่านักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กลับพบว่า การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีคาดการณ์ฯ เป็นผลมาจากปัจจัยการใช้ จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ กับ ปัจจัยการส่งออก ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือกลับปรับตัวลดลง (ตารางที่ 1)
ส่วนดัชนีสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน(ม.ค. 54) ยังคงอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องเห็นได้จากค่าดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ติดต่อกันทั้ง 3 ครั้งที่ทำการสำรวจ กล่าวคือปรับเพิ่มขึ้นจาก 42.16 เป็น 53.50 และ 56.35 ในการสำรวจครั้งนี้และเป็นระดับที่สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งขึ้น เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พบว่า ปัจจัย การลงทุนภาคเอกชนแม้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจะปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ แต่ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าการลงทุนภาคเอกชนยัง คงอยู่ในสถานะที่อ่อนแอ ส่วนปัจจัยการส่งออก แม้ว่าค่าดัชนีจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการส่งออกยังคงอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่ง แต่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงกลับมีทิศทางที่ลดลง ข้อมูลดังกล่าวสื่อให้เห็นว่าบทบาทของการส่งออกต่อเศรษฐกิจของไทยจะไม่มากเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่าน มา (ตารางที่ 1)
สำหรับการประเมินสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า จากจำนวน 10 ปัจจัยที่ทำ การสำรวจ มีถึง 6 ปัจจัยที่จะส่งผลด้านลบต่อเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย อันดับ 1 ราคาน้ำมัน(ร้อยละ 92.8) อันดับ 2 ปัจจัยด้านการเมือง (ร้อยละ 65.1) อันดับ 3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป(ร้อยละ 65.1) อันดับ 4 วิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป(ร้อยละ 53.0) อันดับ 5 อัตราดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์(ร้อยละ 47.0) อันดับ 6 อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท(ร้อยละ 42.2) ขณะที่ปัจจัยที่จะส่งผลด้านบวกต่อเศรษฐกิจไทย มี 2 ปัจจัย ประกอบด้วย ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ(ร้อยละ 48.2 ) และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค(ร้อยละ 42.2) ส่วนค่าเงินหยวนของจีน เชื่อว่าจะไม่ส่งผล กระทบ(ร้อยละ 43.4) สำหรับเศรษฐกิจโลกนั้นนักเศรษฐศาสตร์ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกัน โดยร้อยละ 36.1 เชื่อว่าจะส่งผลกระทบด้านลบ และ อีกร้อยละ 35.0 เชื่อว่าจะส่งผลด้านบวกต่อเศรษฐกิจไทย (ตารางที่ 2)
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 เดือน และ 6 เดือน
ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดัชนีสถานะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า ก.ค.53 ต.ค.53 ม.ค.54 ก.ค.53 ต.ค.53 ม.ค.54 1) การบริโภคภาคเอกชน 39.13 50.00 56.02 79.29 64.19 53.61 2) การลงทุนภาคเอกชน 24.26 45.21 49.39 71.01 67.81 62.20 3) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ 58.09 56.16 58.02 65.22 55.48 63.58 4) การส่งออกสินค้า 76.09 69.59 65.24 63.57 28.38 47.56 5) การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 13.24 46.53 53.09 81.88 67.36 63.58 ดัชนีรวม 42.16 53.50 56.35 72.19 56.64 58.11
หมายเหตุ: ค่าดัชนีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดย
ค่าดัชนีเท่ากับ 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะปกติ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือ หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ เดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า)
ค่าดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะแข็งแกร่ง (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ดีขึ้น (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า)
ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะอ่อนแอ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ แย่ลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า)
สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ คาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ ส่งผลด้านลบ ไม่ส่งผล ส่งผลด้านบวก - ราคาน้ำมันโดยภาพรวม 92.8 4.8 1.2 1.2 - ปัจจัยด้านการเมือง 65.1 13.3 9.6 12.0 - อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 65.1 28.9 4.8 1.2 - วิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป 53.0 41.0 1.2 4.8 - อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ 47.0 36.2 8.4 8.4 - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 42.2 42.2 7.2 8.4 - เศรษฐกิจโลกโดยภาพรวม 36.1 19.3 35.0 9.6 - ค่าเงินหยวนของจีน 32.6 43.4 12.0 12.0 - ความเชื่อมั่นผู้บริโภค 22.9 31.3 42.2 3.6 - ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ 22.9 27.7 48.2 1.2 ************************************************************************************************* หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด *************************************************************************************************
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-350-3500 ต่อ 1776
E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://research.bu.ac.th
Twitter : http://twitter.com/bangkok_poll
รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า
2. เพื่อทราบสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าจะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า
3. เพื่อสะท้อนข้อเสนอแนะประเด็นเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้อง ใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 26 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนัก งานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัย นโยบายเศรษฐกิจการคลัง บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุง ศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัท หลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 19-25 มกราคม 2554 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 27 มกราคม 2554
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่ หน่วยงานภาครัฐ 36 43.4 หน่วยงานภาคเอกชน 28 33.7 สถาบันการศึกษา 19 22.9 รวม 83 100.0 เพศ ชาย 43 51.8 หญิง 40 48.2 รวม 83 100.0 อายุ 26 ปี — 35 ปี 32 38.6 36 ปี — 45 ปี 25 30.1 46 ปีขึ้นไป 26 31.3 รวม 83 100.0 การศึกษา ปริญญาตรี 4 4.8 ปริญญาโท 64 77.1 ปริญญาเอก 15 18.1 รวม 83 100.0 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 17 20.5 6-10 ปี 25 30.1 11-15 ปี 9 10.8 16-20 ปี 11 13.3 ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป 21 25.3 รวม 83 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--