กรุงเทพโพลล์: "ประชาชนคิดอย่างไร กรณีทหารไทยปะทะทหารกัมพูชา”

ข่าวผลสำรวจ Tuesday February 8, 2011 09:25 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทย — กัมพูชา ลุกลามจนเกิดเหตุการณ์ปะทะกันขึ้นนั้น ร้อยละ 26.4 มองว่าเกิดจากการยั่วยุของฝ่าย กัมพูชา รองลงมาร้อยละ 25.6 เกิดจากรัฐบาลไทยขาดเอกภาพในการทำงาน ร้อยละ 21.4 มองว่าเป็นเพราะการเดินเกมที่ผิดพลาดของรัฐบาล ไทย และร้อยละ 12.8 มองว่าเกิดจากความเคลื่อนไหวกดดันของกลุ่มพันธมิตร ตามลำดับ

สำหรับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประชาชนส่วนใหญ่พอใจการทำหน้าที่ของกองทัพในการปกป้องรักษา แผ่นดินไทย (พอใจร้อยละ 67.5) แต่ไม่พอใจการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการแก้ปัญหาข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ทับซ้อน (ไม่พอใจร้อยละ 80.2) และการชี้ แจงข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจ (ไม่พอใจร้อยละ 74.9) ส่วนการเตรียมพร้อมในการอพยพและดูแลชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมีกลุ่ม ผู้ที่ระบุว่าพอใจและไม่พอใจในสัดส่วนใกล้เคียงกัน (พอใจร้อยละ 50.6 ไม่พอใจร้อยละ 49.4)

เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพและความพร้อมของกองทัพไทยในการรับมือกับปัญหาความขัดแย้งที่อาจลุกลามบานปลาย พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.4 ระบุว่าเชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านการเจรจาของกระทรวงการต่างประเทศเพื่อยุติปัญหาความขัด แย้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.3 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย

สำหรับสิ่งที่อยากให้รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ทำมากที่สุดในขณะนี้เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทย — กัมพูชา พบว่า อันดับแรกต้อง การให้รัฐบาลเปิดโต๊ะเจรจากับกัมพูชา ร้อยละ 46.6 รองลงมาให้เร่งชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสหประชาชาติ (UN) ร้อยละ 25.3 และให้อาเซี่ยน มาเป็นคนกลางแก้ปัญหา ร้อยละ 10.4 ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 6.0 ที่ต้องการให้ใช้กำลังทหารเข้าต่อสู้จนรู้แพ้รู้ชนะ

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทย — กัมพูชา ลุกลามจนเกิดเหตุการณ์ปะทะกันขึ้น คือ
          - การยั่วยุจากฝ่ายกัมพูชา                                               ร้อยละ 26.4
          - รัฐบาลขาดเอกภาพในการทำงาน                                        ร้อยละ 25.6
          - การเดินเกมที่ผิดพลาดของรัฐบาล                                        ร้อยละ 21.4
          - ความเคลื่อนไหวกดดันของกลุ่มพันธมิตร                                    ร้อยละ 12.8
          - ความอ่อนแอของกองทัพไทย                                            ร้อยละ 4.9
  • อื่นๆ อาทิ ผู้นำทั้งสองฝ่ายขาดการพูดคุยทำความเข้าใจกัน และ
            เป็นเรื่องการเมืองภายในของทั้งสองประเทศ          ฯลฯ                  ร้อยละ 8.9

2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ จากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง ไทย — กัมพูชา จนถึงขณะนี้
          ประเด็น                                                  พอใจ         ไม่พอใจ
          การทำหน้าที่ของกองทัพไทยในการปกป้องรักษาแผ่นดินไทย              67.5          32.5
          การเตรียมพร้อมในการอพยพ และดูแลชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ          49.4          50.6
          การชี้แจงข้อเท็จจริงของรัฐบาลให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจ        25.1          74.9
          การทำหน้าที่ของรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ทับซ้อน      19.8          80.2

3. ความเชื่อมั่นในศักยภาพและความพร้อมของกองทัพไทย ในการรับมือกับปัญหาความขัดแย้งที่อาจลุกลามบานปลาย พบว่า
          - เชื่อมั่น                                ร้อยละ 67.4

(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 23.8 และเชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 43.6 )

          - ไม่เชื่อมั่น                              ร้อยละ 32.6

(โดยแบ่งเป็น ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 7.2 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 25.4 )

4. ความเชื่อมั่นในศักยภาพด้านการเจรจาเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งของกระทรวงการต่างประเทศ พบว่า
          - เชื่อมั่น                                ร้อยละ 24.7

(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 3.3 และเชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 21.4 )

          - ไม่เชื่อมั่น                              ร้อยละ 75.3

(โดยแบ่งเป็น ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 31.0 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 44.3 )

5. สิ่งที่อยากให้รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ทำมากที่สุดในขณะนี้เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทย — กัมพูชา คือ
          - เปิดโต๊ะเจรจากับกัมพูชา                              ร้อยละ 46.6
          - เร่งชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสหประชาชาติ (UN)                ร้อยละ 25.3
          - ให้อาเซี่ยนมาเป็นคนกลางแก้ปัญหา                       ร้อยละ 10.4
          - ยกเลิก MOU 43 ระหว่างไทย — กัมพูชา                  ร้อยละ  8.1

ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตร

          - ใช้กำลังทหารเข้าต่อสู้จนรู้แพ้รู้ชนะ                       ร้อยละ  6.0
          - อื่นๆ อาทิ ยุบสภา                                   ร้อยละ  3.6

รายละเอียดในการสำรวจ ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น ตอน (Multi-Stage Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,075 คน เป็นเพศชายร้อยละ 55.0 และเพศหญิงร้อยละ 45.0

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบ เลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจ สอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  7 กุมภาพันธ์ 2554

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   8 กุมภาพันธ์ 2554

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

                                              จำนวน          ร้อยละ
เพศ
            ชาย                                 591           55.0
            หญิง                                 484           45.0
          รวม                                 1,075          100.0

อายุ
            18 ปี - 25 ปี                         267           24.8
            26 ปี — 35 ปี                         313           29.1
            36 ปี — 45 ปี                         243           22.7
            46 ปีขึ้นไป                            252           23.4
          รวม                                 1,075          100.0

การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                        465           43.3
            ปริญญาตรี                             502           46.7
            สูงกว่าปริญญาตรี                        108           10.0
          รวม                                 1,075          100.0

อาชีพ
            ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ                   132           12.3
            พนักงานบริษัทเอกชน                     367           34.1
            ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว             282           26.2
            รับจ้างทั่วไป                            93            8.7
            พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ             61            5.7
            อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน   140           13.0
          รวม                                 1,075          100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ