ด้วยวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้เป็นวันเปิดฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ สำรวจความคิดเห็นประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ติดตามการแข่งขันในฤดูกาล 2010 ที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 1,136 คน พบว่า
แฟนบอลร้อยละ 47.4 เห็นว่าภาพรวมของฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2010 ที่ผ่านมามีการพัฒนาค่อนข้างน้อย โดยด้านที่แฟนบอลเห็น ว่ามีการพัฒนามากที่สุดอันดับแรกได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์และการถ่ายทอดสด (ร้อยละ 15.0) รองลงมาคือ โปรแกรมและรูปแบบจัดการแข่งขัน ของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก (ร้อยละ 8.8) และมาตรฐานของสนามฟุตบอล (ร้อยละ 8.6) ส่วนด้านที่แฟนบอลเห็นว่ายังไม่พัฒนาเลยอันดับแรกได้แก่ มารยาทของแฟนบอล (ร้อยละ 37.9) รองลงมาคือ ระบบรักษาความปลอดภัยในสนามและการควบคุมแฟนบอล (ร้อยละ 31.1) และมาตรฐานการ ตัดสินของผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน (ร้อยละ 11.3) สำหรับการติดตามชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2011 พบว่า ร้อยละ 81.4 จะ ติดตาม มีเพียงร้อยละ 18.6 ที่จะไม่ติดตาม
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อระบบรักษาความปลอดภัยในสนามฟุตบอลของฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก 2011 พบว่า แฟนบอลส่วนใหญ่ร้อยละ 79.3 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย เมื่อสอบถามว่าเหตุการณ์แฟนบอลตีกันเมื่อปีที่ผ่านมา มีผลทำให้ไม่อยากไปชมฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก 2011 ที่สนามหรือไม่ ปรากฎว่าแฟนบอลร้อยละ 71.9 ระบุว่ามีผล มีเพียงร้อยละ 28.1 ที่ระบุว่าไม่มีผล ส่วนความเห็นของแฟนบอลต่อสาเหตุหลักที่ ทำให้แฟนบอลตีกันอันดับแรกพบว่า นักเตะไม่มีน้ำใจนักกีฬา ไม่รู้แพ้รู้ชนะ ไม่รับฟังคำตัดสิน (ร้อยละ 40.5) รองลงมาคือ การยั่วยุจากกองเชียร์แต่ละ ฝ่าย (ร้อยละ 23.5) และการดื่มสุรา ของมึนเมา (ร้อยละ 16.6) ขณะที่สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกเพื่อแก้ปัญหาแฟนบอลตีกันได้แก่ จัดหาเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัยในสนามให้เพียงพอ (ร้อยละ 22.7) ห้ามแฟนบอลนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในสนามแข่งขัน (ร้อยละ 19.4) และแยกพื้นที่ กองเชียร์ออกจากกันให้ชัดเจน (ร้อยละ 17.6)
แฟนบอลส่วนใหญ่ร้อยละ 56.5 เห็นว่าการที่นักการเมืองเข้ามามีบทบาทในฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกจะส่งผลดีต่อการพัฒนาฟุตบอลลีกของ ไทย โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้ฟุตบอลลีกพัฒนาเร็วขึ้น มีเงินทุนสนับสนุนจำนวนมากมาพัฒนาทีมฟุตบอล พัฒนาสนาม และช่วยในเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ คนรู้จักฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกมากขึ้น ส่วนเรื่องการเปิดโต๊ะพนันบอลแบบถูกกฎหมายนั้น แฟนบอลส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.6 เชื่อว่าจะไม่ช่วยให้ฟุตบอลไทย พรีเมียร์ลีกพัฒนาได้อย่างรวดเร็วเหมือนกับพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ ในขณะที่ร้อยละ 41.4 เชื่อว่าจะช่วยได้ โดยในจำนวนนี้มากกว่า 1 ใน 3 เป็น กลุ่มเยาวชนอายุ 15-25 ปี
สำหรับทีมที่แฟนบอลคาดว่าจะคว้าแชมป์ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2011 อันดับแรกได้แก่ ทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด (ร้อยละ 30.9) รองลงมาคือ ทีมชลบุรีเอฟซี (ร้อยละ 27.6) ทีมบุรีรัมย์ พีอีเอ (ร้อยละ 18.2) ทีมบางกอกกล๊าสเอฟซี (ร้อยละ 7.4) และทีมการท่า เรือ เอฟซี (ร้อยละ 7.4) ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อสอบถามความเห็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ว่าจะสามารถช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลไทยให้ดีขึ้น ได้หรือไม่ แฟนบอลร้อยละ 45.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ ขณะที่ร้อยละ 35.4 เชื่อว่าได้ และร้อยละ 18.9 เชื่อว่าไม่ได้
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาในแต่ละด้านของฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2010 ที่ผ่านมา พบว่า
ด้าน มีการพัฒนา
มาก(ร้อยละ) ค่อนข้างมาก(ร้อยละ) ค่อนข้างน้อย(ร้อยละ) ไม่พัฒนาเลย(ร้อยละ)
ทักษะ มารยาท และความเป็นมืออาชีพของนักฟุตบอล 6.0 30.8 52.4 10.8 มาตรฐานของสนามฟุตบอล 8.6 40.3 44.6 6.5 มาตรฐานการตัดสินของผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน 4.2 30.0 54.5 11.3 มารยาทของแฟนบอล 2.8 13.0 46.3 37.9 การประชาสัมพันธ์และการถ่ายทอดสด 15.0 42.1 37.1 5.8 ระบบรักษาความปลอดภัยในสนามและการควบคุมแฟนบอล 2.5 8.9 57.5 31.1 โปรแกรมและรูปแบบจัดการแข่งขันของบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก 8.8 44.7 39.6 6.9 ภาพรวมเฉลี่ย 6.8 30.0 47.4 15.8 2. การติดตามชมถ่ายทอดสดฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก 2011 พบว่า ติดตามชมการถ่ายทอดสด โดย ร้อยละ 81.4 ติดตามชมทุกอาทิตย์ ร้อยละ 21.1 ติดตามชมเฉพาะคู่ใหญ่ๆ เจอกัน ร้อยละ 28.7 ติดตามชมเฉพาะทีมใหญ่ๆลงแข่ง ร้อยละ 15.2 ติดตามชมเฉพาะทีมที่เชียร์ ร้อยละ 16.4 ไม่ติดตามชมการถ่ายทอดสด โดยให้เหตุผลว่า ร้อยละ 18.6 ติดตามเฉพาะข่าว ผลการแข่งขัน ทางทีวี นสพ. อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 16.7 ฟุตบอลลีกไทยยังไม่มีการพัฒนา ยังไม่ได้มาตรฐาน ดูไม่สนุก ร้อยละ 1.7 ไม่มีเวลา ต้องทำงาน ร้อยละ 0.2 3. ความเชื่อมั่นต่อระบบรักษาความปลอดภัยในสนามฟุตบอลของฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก 2011 พบว่า เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 20.7
(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นมาก ร้อยละ 3.3 และเชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 17.4)
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 79.3
(โดยแบ่งเป็น เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย ร้อยละ 59.7 และไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 19.6)
มีผล ร้อยละ 71.9 ไม่มีผล ร้อยละ 28.1 5. ความคิดเห็นต่อสาเหตุหลักที่ทำให้แฟนบอลตีกัน พบว่า นักเตะไม่มีน้ำใจนักกีฬา ไม่รู้แพ้รู้ชนะ ไม่รับฟังคำตัดสิน ร้อยละ 40.5 การยั่วยุจากกองเชียร์แต่ละฝ่าย ร้อยละ 23.5 การดื่มสุรา ของมึนเมา ร้อยละ 16.6 การทำหน้าที่ของผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินไม่ได้มาตรฐาน ร้อยละ 15.1 การติดสินบนผู้ตัดสินเพื่อล็อคผลการแข่งขัน ร้อยละ 4.3 6. สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกเพื่อแก้ปัญหาแฟนบอลตีกัน พบว่า จัดหาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสนามให้เพียงพอ ร้อยละ 22.7 ห้ามแฟนบอลนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในสนามแข่งขัน ร้อยละ 19.4 แยกพื้นที่กองเชียร์ออกจากกันให้ชัดเจน ร้อยละ 17.6 ให้อำนาจตำรวจในการดูแลความสงบเรียบร้อยในสนามฟุตบอล ร้อยละ 13.7 ทีมเจ้าบ้านต้องดูแลรับผิดชอบความปลอดภัย ความสงบของแฟนบอลตัวเอง ร้อยละ 12.5 ยกระดับการตัดสินของผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน ร้อยละ 10.8 ปรับปรุงสนามแข่งขันให้ได้มาตรฐาน มีทางเข้าทางออกที่สะดวก ไม่แคบเกินไป ร้อยละ 3.3 7. การที่นักการเมืองเข้ามามีบทบาทในฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก ส่งผลดีหรือผลเสียมากกว่ากันในการพัฒนาฟุตบอลลีก ส่งผลดีมากกว่า ร้อยละ 56.5
(โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้ฟุตบอลลีกพัฒนาเร็วขึ้น มีเงินทุนสนับสนุนจำนวนมากมาพัฒนาทีมฟุตบอล
พัฒนาสนาม และช่วยในเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกมากขึ้น)
ส่งผลเสียมากกว่า ร้อยละ 43.5
(โดยให้เหตุผลว่า อาจมีการใช้อิทธิพล ทำให้มีผลต่อผู้ตัดสิน ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ส่งผลกระทบต่อ
ผลการแข่งขัน และมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง)
เชื่อว่าช่วยได้ ร้อยละ 41.4
(โดยให้เหตุผลว่า สามารถนำรายได้มหาศาลมาพัฒนาฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกได้ และทำให้คนสนใจติดตามฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกมากขึ้น)
เชื่อว่าช่วยไม่ได้ ร้อยละ 58.6
(โดยให้เหตุผลว่า ประเทศไทยยังมีการบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบ ไม่โปร่งใส มีการทุจริต
ไม่เหมือนอย่างประเทศอังกฤษ และจะทำให้มีการล้มบอล ล็อคผลการแข่งขัน ติดสินบนผู้ตัดสิน)
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ที่เชื่อว่าการเปิดโต๊ะพนันบอลแบบถูกกฎหมาย จะช่วยให้ฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก พัฒนาได้อย่างรวดเร็วเหมือนพรีเมียร์ลีกในอังกฤษ พบว่า
เป็นผู้ที่มีอายุ 15-25 ปี ร้อยละ 38.7 26-35 ปี ร้อยละ 36.0 36 ปีขึ้นไป ร้อยละ 25.3 9. ทีมที่จะคว้าแชมป์ฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก 2011 (5 อันดับแรก) ได้แก่ เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ร้อยละ 30.9 ชลบุรีเอฟซี ร้อยละ 27.6 บุรีรัมย์ พีอีเอ ร้อยละ 18.2 บางกอกกล๊าสเอฟซี ร้อยละ 7.4 การท่าเรือ เอฟซี ร้อยละ 7.4 10. ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จะสามารถช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลไทยได้หรือไม่ เชื่อว่าได้ ร้อยละ 35.4 เชื่อว่าไม่ได้ ร้อยละ 18.9 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 45.7
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 27 เขต จาก 50 เขต ทั้ง เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสาน จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางซื่อ บางนา บาง บอน บางพลัด บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานาวา ลาดกระบัง สวนหลวง สาทร สายไหม หนองแขม หนองจอก และหลักสี่ และจังหวัดในเขตปริมณฑลรวม 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,136 คน เป็นชายร้อยละ 91.9 และหญิงร้อยละ 8.1
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน +/- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 4 - 6 กุมภาพันธ์ 2554 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 10 กุมภาพันธ์ 2554
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ ชาย 1,044 91.9 หญิง 92 8.1 รวม 1,136 100.0 อายุ 15 - 25 ปี 436 38.4 26 - 35 ปี 389 34.2 36 ปีขึ้นไป 311 27.4 รวม 1,136 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 658 57.9 ปริญญาตรี 416 36.6 สูงกว่าปริญญาตรี 45 4.0 ไม่ระบุการศึกษา 17 1.5 รวม 1,136 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 107 9.4 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 380 33.5 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 208 18.3 รับจ้างทั่วไป 154 13.6 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 16 1.4 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 264 23.2 ไม่ระบุอาชีพ 7 0.6 รวม 1,136 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--