กรุงเทพโพลล์: "นโยบายบริหารจัดการราคาสินค้าของรัฐบาล”

ข่าวผลสำรวจ Thursday March 17, 2011 09:10 —กรุงเทพโพลล์

นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 46.2 ประเมินรัฐบาลบริหารจัดการแก้ปัญหาราคาสินค้าได้แค่ระดับพอใช้ ขณะที่ร้อยละ 44.6 ประเมินว่าอยู่ในระดับค่อนข้างแย่ถึงแย่มาก ร้อยละ 61.6 มองการตรึงราคาน้ำมันดีเซลมาไม่ถูกทาง พร้อมเสนอ 3 แนวทางแก้ปัญหา

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 24 แห่ง จำนวน 65 คน เรื่อง “นโยบายบริหารจัดการราคาสินค้าของรัฐบาล” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 14-16 มี.ค. ที่ผ่านมา พบว่า

นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 73.9 ประเมินว่าปัญหาราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในปัจจุบันมีความรุนแรงจัดอยู่ในระดับปานกลาง และนักเศรษฐศาสตร์มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 53.8) มองว่าในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือ ภาวะเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นพร้อมๆ กับการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือมีการว่างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 46.2ได้ประเมินความสามารถด้านการบริหารจัดการและแก้ปัญหาราคาสินค้าของรัฐบาลอยู่ในระดับแค่พอใช้ ขณะที่ร้อยละ 44.6 มองว่าอยู่ในระดับค่อนข้างแย่ถึงแย่มาก มีเพียงร้อยละ 9.2 เท่านั้นที่มองว่าอยู่ในระดับค่อนข้างดี

เมื่อสอบถามถึงความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตรจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 61.6 มองว่าเป็นการดำเนินนโยบายที่ไม่ถูกทาง พร้อมทั้งเสนอแนวทางที่เหมาะสมสำหรับใช้ในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป คือ แนวทางที่ 1 ปล่อยให้ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด แนวทางที่ 2 ทยอยลดการอุดหนุนราคาน้ำมันเป็นขั้นๆ จนเท่ากับราคาตลาดในระยะเวลาที่เหมาะสม และแนวทางที่ 3 ปล่อยให้ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดพร้อมกับการอุดหนุนบางส่วนในสัดส่วนที่เหมาะสมกับราคาน้ำมันในตลาดโลก

ส่วนความเห็นเกี่ยวกับการที่นายกฯอภิสิทธิ์ จะนำแนวคิดในการปรับเพิ่มค่าแรงเพื่อสร้างความสมดุลให้ทันกับราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น (ทฤษฏี 2 สูง ของคุณธนินท์ เจียรวนนท์) มาใช้เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 46.2 ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าจะทำให้เกิดการคาดการณ์เงินเฟ้อ และทำให้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น อีกทั้งแรงงานบางส่วนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้น การเพิ่มค่าแรงจะทำให้ผู้ประกอบการลดการจ้างงานกับแรงงานกลุ่มดังกล่าว แล้วหันไปจ้างแรงงานต่างด้าว ดังนั้น หากจะเพิ่มค่าแรงควรเพิ่มเฉพาะแรงงานทำงานมีประสิทธิภาพสูงเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยเพิ่มขึ้น

สำหรับความเห็นเกี่ยวกับการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อนั้น นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 66.2 เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า เป็นการช่วยชะลอการปรับเพิ่มของเงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปสงค์ ทำให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ อีกทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณให้เอกชนรับทราบ ป้องกันการเกิดเงินเฟ้อในรอบที่สอง

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1 ความเห็นเกี่ยวกับระดับความรุนแรงของปัญหาราคาสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน
          รุนแรงมาก                                   ร้อยละ          13.8
          รุนแรงปานกลาง                               ร้อยละ          73.9
          ไม่รุนแรง                                    ร้อยละ          10.8
          ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ                        ร้อยละ           1.5

2  ความเห็นเกี่ยวกับโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะ Stagflation หรือ ภาวะเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นพร้อมๆ กับการชะลอตัวของเศรษฐกิจหรือมีการว่างงานเพิ่มขึ้น ในช่วง 1-2 ปีนี้
          มีโอกาส                                     ร้อยละ          53.8
          ไม่มีโอกาส                                   ร้อยละ          40.0
          ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ                        ร้อยละ           6.2

3  การประเมินความสามารถด้านการบริหารจัดการและแก้ปัญหาราคาสินค้าของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ฯ
          ดีเยี่ยม                                      ร้อยละ           0.0
          ค่อนข้างดี                                    ร้อยละ           9.2
          พอใช้                                       ร้อยละ          46.2
          ค่อนข้างแย่                                   ร้อยละ          35.4
          แย่มาก                                      ร้อยละ           9.2

4   ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตรจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้ เพื่อลดต้นทุนภาคขนส่งเพื่อช่วยชะลอการปรับขึ้นของราคาสินค้าว่าเป็นการดำเนินนโยบายที่ถูกทางหรือไม่
          เป็นการดำเนินนโยบายที่ถูกทาง                              ร้อยละ          21.5
          เป็นการดำเนินนโยบายที่ไม่ถูกทาง                            ร้อยละ          61.6

โดยแนวทางที่เหมาะสมสำหรับใช้ในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป คือ

(1) ปล่อยให้ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด 100%

(2) ทยอยลดการอุดหนุนราคาน้ำมันเป็นขั้นๆ จนเท่ากับราคาตลาดในระยะเวลาที่เหมาะสม

(3) ปล่อยให้ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดพร้อมกับการอุดหนุนบางส่วนในสัดส่วนที่เหมาะสม

กับราคาน้ำมันในตลาดโลก

          ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ                                  ร้อยละ          16.9

5   ความเห็นเกี่ยวกับการที่นายกฯอภิสิทธิ์ จะนำแนวคิดในการปรับเพิ่มค่าแรงเพื่อสร้างความสมดุลให้ทันกับราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น (ทฤษฏี 2 สูง ของคุณธนินท์ เจียรวนนท์) มาใช้เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน
          เห็นด้วย                                ร้อยละ          33.8

(1) ค่าแรงในปัจจุบันยังต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ

(2) เพื่อให้รายได้เพียงพอกับราคาสินค้าที่สูงขึ้น

(3) เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง แต่ต้องมีมาตรการไม่ให้ราคาสินค้าอื่นเพิ่มตาม

          ไม่เห็นด้วย                               ร้อยละ          46.2

เพราะ (1) เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้เกิดการคาดการณ์เงินเฟ้อ และทำให้ปัญหาเงินเฟ้อ

รุนแรงขึ้น สุดท้ายรายได้ก็อาจเพิ่มขึ้นไม่ทันกับเงินเฟ้ออยู่ดี

(2) แรงงานบางส่วนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้น การเพิ่มค่าแรงจะทำให้ผู้ประกอบการ

ลดการจ้างงานกับแรงงานกลุ่มดังกล่าว แล้วหันไปจ้างแรงงานต่างด้าว

(3) ควรเพิ่มค่าแรงเฉพาะกับแรงงานทำงานมีประสิทธิภาพสูงเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ความสามารถ

ในการแข่งขันของสินค้าไทยเพิ่มขึ้น

          ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ                    ร้อยละ          20.0

6  ความเห็นเกี่ยวกับการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อ
          เห็นด้วย                                 ร้อยละ          66.2

เพราะ (1) เป็นการช่วยชะลอการปรับเพิ่มของเงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปสงค์ ทำให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหว

อย่างมีเสถียรภาพ รวมถึงทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ

(2) เป็นการส่งสัญญาณให้เอกชนรับทราบ ป้องกันการเกิดเงินเฟ้อในรอบที่สอง

(3) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่สูงมากเมื่อเทีบกับภูมิภาคอื่น

          ไม่เห็นด้วย                               ร้อยละ          23.0

เพราะ (1) เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นมาจากด้านอุปทาน จากปัญหาราคาน้ำมันแพง ราคาสินค้าเกษตรแพง

การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะเป็นการซ้ำเติมประชาชน

(2) เงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากด้านอุปสงค์ การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะไม่น่าแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้

          ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ                    ร้อยละ          10.8
          หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้  เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                   นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน

2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 24 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  14-16  มีนาคม  2554

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   17  มีนาคม 2554

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                   จำนวน        ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ              32          49.3
           หน่วยงานภาคเอกชน           22          33.8
           สถาบันการศึกษา              11          16.9
          รวม                        65         100.0

เพศ
            ชาย                      34          52.3
            หญิง                      31          47.7
          รวม                        65         100.0

อายุ
            26 ปี — 35 ปี              31          47.6
            36 ปี — 45 ปี              17          26.2
            46 ปีขึ้นไป                 17          26.2
          รวม                        65         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                  3           4.6
             ปริญญาโท                 49          75.4
             ปริญญาเอก                13          20.0
          รวม                        65         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                 17          26.2
              6-10 ปี                 22          33.8
              11-15 ปี                 7          10.8
              16-20 ปี                 4           6.1
              ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป          15          23.1
          รวม                        65         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ