ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภาคทั่วประเทศ พบว่า หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นลง ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 10 ท่านที่ถูกอภิปราย ดังนี้
ไว้วางใจ ไม่ไว้วางใจ ไม่ออกความเห็น/
(ร้อยละ) (ร้อยละ) ไม่มีข้อมูลเพียงพอ (ร้อยละ)
1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 25.6 57.2 17.2 2. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 22.9 53.2 23.9 3. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 19.6 55.1 25.3 4.นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ 16.6 56.1 27.3 5. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 16.4 65.6 18.0 6. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง 16.4 70.9 12.7 7. นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 14.0 70.3 15.7 8. นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 12.3 62.5 25.2 9. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 11.8 68.6 19.6 10. นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 11.7 69.6 18.7
สำหรับการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการอภิปรายที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้าน 6.48 คะแนน ฝ่ายรัฐบาล 4.28 คะแนน และประธานสภาฯ 5.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
โดยร้อยละ 49.8 ระบุว่าเชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ขณะที่ร้อยละ 19.7 เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า และร้อยละ 30.5 ไม่เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่าย
อย่างไรก็ตาม หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลงยังคงมีประเด็นที่ประชาชนค้างคาใจมากที่สุดคือเรื่องการสลายการชุมนุมในช่วงเดือน เมษายน — พฤษภาคม (ทำให้มีคนเสียชีวิต 91 ศพ และการเผาห้างสรรพสินค้าเซ็ลทรัลเวิลด์) ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ เรื่องน้ำมันปาล์มขาดตลาด ร้อยละ 27.4 และเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้น ร้อยละ 8.1 ตามลำดับ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
มีผู้ติดตามการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 10.2 ติดตามการถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ ร้อยละ 63.0 ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ ร้อยละ 26.8 2. หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายทั้ง 10 คน โดยเรียงลำดับรัฐมนตรีที่ประชาชนให้ความไว้วางใจจากมากไปน้อย ดังนี้ ไว้วางใจ ไม่ไว้วางใจ ไม่ออกความเห็น/ (ร้อยละ) (ร้อยละ) ไม่มีข้อมูลเพียงพอ(ร้อยละ) 1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 25.6 57.2 17.2 2. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 22.9 53.2 23.9 3. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 19.6 55.1 25.3 4.นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ 16.6 56.1 27.3 5. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 16.4 65.6 18.0 6. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง 16.4 70.9 12.7 7. นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 14.0 70.3 15.7 8. นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 12.3 62.5 25.2 9. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 11.8 68.6 19.6 10. นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 11.7 69.6 18.7 3. เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และประธานสภาฯ ในการอภิปราย ครั้งนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า - ให้คะแนนการทำหน้าที่ซักฟอกของฝ่ายค้าน 6.48 คะแนน - ให้คะแนนการทำหน้าที่ชี้แจงประเด็นที่ถูกอภิปรายของฝ่ายรัฐบาล 4.28 คะแนน - ให้คะแนนการทำหน้าที่ของประธานสภาฯ 5.57 คะแนน 4. เมื่อเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า - เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ร้อยละ 49.8 - เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า ร้อยละ 19.7 - ไม่เชื่อทั้งสองฝ่าย ร้อยละ 30.5 5. ภายหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประเด็นในการอภิปรายที่ประชาชนยังค้างคาใจอยู่ 3 อันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) คือ อันดับ 1 เรื่องการสลายการชุมนุมในช่วงเดือน เมษายน—พฤษภาคม (ทำให้มีคนเสียเชีวิต 91 ศพ และการเผาห้างเซ้ลทรัลเวิลด์) ร้อยละ 29.9 อันดับ 2 เรื่องน้ำมันปาล์มขาดตลาด และมีราคาแพง ร้อยละ 27.4 อันดับ 3 เรื่องราคาสินค้า อุปโภค — บริโภค ที่แพงขึ้น ร้อยละ 8.1
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวม 10 ท่าน เพื่อสะท้อนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวมต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและ จังหวัดต่างๆ ทุกภาคภาคทั่วประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่าง 1,246 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.3 และเพศหญิงร้อยละ 47.7
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 -19 มีนาคม 2554 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 20 มีนาคม 2554
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 652 52.3 หญิง 594 47.7 รวม 1,246 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 218 17.5 26 - 35 ปี 312 25.0 36 - 45 ปี 346 27.8 46 ปีขึ้นไป 370 29.7 รวม 1,246 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 677 54.3 ปริญญาตรี 493 39.6 สูงกว่าปริญญาตรี 76 6.1 รวม 1,246 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 168 13.5 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 345 27.7 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 358 28.7 รับจ้างทั่วไป 167 13.4 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 97 7.8 อื่นๆ อาทิ เกษตรกรรม อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ 111 8.9 รวม 1,246 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--