นักเศรษฐศาสตร์มองเศรษฐกิจไทย 3 เดือนข้างหน้าเริ่มไม่สดใส จากปัจจัยการท่องเที่ยวและการส่งออก พร้อมชี้หากมีการเลือกตั้งใหม่อยากเห็นพรรคการเมืองแข่งกันนำเสนอนโยบายเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับพื้นฐานที่แท้จริงของประเทศมากกว่านโยบายประชานิยม
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 27 แห่ง จำนวน 72 คน เรื่อง “ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทย 3 เดือนข้างหน้า ” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 28 มี.ค.- 1 เม.ย. ที่ผ่านมา พบว่า
ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 50.63 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปีนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการสำรวจ ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนมุมมองนักเศรษฐศาตร์ที่มีต่อเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าว่าเริ่มจะไม่สดใส เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจพบว่าการปรับตัวลดลงของดัชนีคาดการณ์เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกทั้งการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับประเทศญี่ปุ่น ปัญหาการเมืองในลิเบีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวมถึงปัญหาน้ำท่วมและดินโคลนถล่มในพื้นที่ภาคใต้ที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มเข้าสู่ High season (กราฟและตารางที่ 1)
ส่วนดัชนีสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังคงอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งเห็นได้จากค่าดัชนีที่อยู่ในระดับ 54.82 ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า 50 เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พบว่า ปัจจัยการลงทุนภาคเอกชนค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าการลงทุนภาคเอกชนยังคงอยู่ในสถานะที่อ่อนแอ (กราฟและตารางที่ 1)
สำหรับการประเมินสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า จากจำนวน 12 ปัจจัยที่ทำการสำรวจ มีถึง 6 ปัจจัยที่จะส่งผลด้านลบต่อเศรษฐกิจไทย ประกอบด้วย อันดับ 1 ราคาน้ำมัน(ร้อยละ 94.4) อันดับ 2 ปัญหาการเมืองในลิเบีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (ร้อยละ 77.8) อันดับ 3 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป(ร้อยละ 65.3) อันดับ 4 ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น (ร้อยละ 63.9) อันดับ 5 ปัจจัยด้านการเมือง (ร้อยละ 62.5) อันดับ 6 ภาพรวมเศรษฐกิจโลก (ร้อยละ 56.9) ขณะที่ปัจจัยอื่นๆ ที่เหลืออีก 6 ปัจจัย มองว่าไม่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า (ตารางที่ 2)
ส่วนประเด็นการเมืองซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ยังคงมองว่าส่งผลด้านลบต่อเศรษฐกิจมากกว่าด้านบวกนั้น กรุงเทพโพลล์ได้สอบถามถึงประเด็นที่ว่าหากมีการยุบสภาฯ และเลือกตั้งใหม่ในช่วงเดือนพฤษภาคม 54 นี้ นักเศรษฐศาสตร์อยากเห็นพรรคการเมืองนำเสนอนโยบายเศรษฐกิจในรูปแบบใดแก่ประชาชนมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 (ร้อยละ 73.6) อยากเห็นนโยบายที่เสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่สอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ และสังคมไทย อันดับ 2 (ร้อยละ 66.7) อยากเห็นนโยบายสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม อันดับ 3 (ร้อยละ 65.3) อยากเห็นนโยบายที่แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ขณะที่นโยบายที่อยากเห็นน้อยที่สุด (ร้อยละ11.1) คือ นโยบายประชานิยม (พรรคการเมืองแข่งกันเสนอ เพิ่มค่าจ้าง/เพิ่มเงินเดือน/เพิ่มราคาประกันสินค้าเกษตร/แก้ปัญหาหนี้สิน เป็นต้น) (ตารางที่ 3)
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
เดือน 6 เดือน และ 1 ปี
ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดัชนีสถานะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า 1) การบริโภคภาคเอกชน 39.1 50 56 50 79.3 64.2 53.6 50.7 2) การลงทุนภาคเอกชน 24.3 45.2 49.4 45.6 71 67.8 62.2 55.2 3) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ 58.1 56.2 58 55.7 65.2 55.5 63.6 59.3 4) การส่งออกสินค้า 76.1 69.6 65.2 69.3 63.6 28.4 47.6 48.6 5) การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 13.2 46.5 53.1 53.5 81.9 67.4 63.6 39.4 ดัชนีรวม 42.2 53.5 56.4 54.8 72.2 56.6 58.1 50.6
หมายเหตุ: ค่าดัชนีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดย
ค่าดัชนีเท่ากับ 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะปกติ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ เดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า)
ค่าดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะแข็งแกร่ง (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ดีขึ้น (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า)
ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะอ่อนแอ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ แย่ลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า)
สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ คาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
ในอีก 3 เดือนข้างหน้า
ส่งผลด้านลบ ไม่ส่งผล ส่งผลด้านบวก
1. ภาพรวมราคาน้ำมัน 94 5.6 0 0 2. ปัญหาการเมืองในลิเบีย ตะวันออกกลาง และประเทศภูมิภาคแอฟริกา (ชุมนุมประท้วง สงคราม) 78 19 0 2.8 3. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 65 33 0 1.4 4. ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น (แผ่นดินไหว สึนามิ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์) 64 17 17 2.7 5. ปัจจัยด้านการเมืองภายในประเทศ 63 14 11 13 6. ภาพรวมเศรษฐกิจโลก 57 19 17 7 7. ค่าเงินหยวนของจีน 17 63 4.2 17 8. อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 24 57 4.2 15 9. วิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป 35 57 0 8.4 10. อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ 33 51 6.9 8.4 11. ความเชื่อมั่นผู้บริโภค 32 44 18 5.6 12. ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ 26 46 22 5.6 ตารางที่ 3 หากมีการยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ในช่วงเดือนพฤษภาคม 54 นี้ นโยบายเศรษฐกิจรูปแบบใดที่อยากเห็นพรรคการเมืองนำเสนอแก่
ประชาชนมากที่สุด 4 ลำดับแรก
อับดับ/ร้อยละ นโยบายเศรษฐกิจ อันดับ 1 ร้อยละ 73.6 นโยบายที่เสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่สอดคล้อง
กับพื้นฐานเศรษฐกิจ และสังคมไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 66.7 นโยบายสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำด้านในสังคม อันดับ 3 ร้อยละ 65.3 นโยบายที่แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน อันดับ 4 ร้อยละ 61.1 นโยบายที่มุ่งรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ (เงินเฟ้อ การเติบโตของ GDP
การลงทุน อัตราแลกเปลี่ยน ทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นต้น)
อันดับ 5 ร้อยละ 48.6 นโยบายที่มุ่งตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานของประชาชน (เรียนฟรี การรักษาโรค สาธารณูปโภค เป็นต้น) อันดับ 6 ร้อยละ 40.3 นโยบายที่มุ่งดูแลเสถียรภาพของราคาสินค้า (รักษาค่าครองชีพประชาชน) อันดับ 7 ร้อยละ 13.9 นโยบายที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ(ที่วางไว้จากรัฐบาลที่ผ่านมาทั้งหลาย) อันดับ 8 ร้อยละ 11.1 นโยบายประชานิยม (พรรคการเมืองแข่งกันเสนอ เพิ่มค่าจ้าง/เพิ่มเงินเดือน/
เพิ่มราคาประกันสินค้าเกษตร/แก้ปัญหาหนี้สิน เป็นต้น)
อันดับ 9 ร้อยละ 8.3 นโยบายอื่นๆ ได้แก่
- นโยบายที่มุ่งสร้างความเติบโตที่ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เน้นการเพิ่มขีด
ความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว รวมถึงการพัฒนาคุณภาพทางศึกษารและจริยธรรม
โดยจัดทำให้เป็นวาระแห่งชาติและต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ
- นโยบายรับมือกับสภาวอากาศที่แปรปรวน เช่น ระบบเตือนภัยภิบัติ หรือ การเข้าถึงผู้ที่เดือดร้อน
จากภัยธรรมชาติรูปแบบต่างๆ
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า
2. เพื่อทราบสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าจะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า
3. เพื่อสะท้อนข้อเสนอแนะประเด็นเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัททริสเรทติ้ง คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาการการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28 มีนาคม — 1 เมษายน 2554 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 4 เมษายน 2554
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่ หน่วยงานภาครัฐ 30 41.7 หน่วยงานภาคเอกชน 25 34.7 สถาบันการศึกษา 17 23.6 รวม 72 100.0 เพศ ชาย 38 52.8 หญิง 34 47.2 รวม 72 100.0 อายุ 26 ปี — 35 ปี 30 41.6 36 ปี — 45 ปี 21 29.2 46 ปีขึ้นไป 21 29.2 รวม 72 100.0 การศึกษา ปริญญาตรี 1 1.4 ปริญญาโท 55 76.4 ปริญญาเอก 16 22.2 รวม 72 100.0 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 19 26.4 6-10 ปี 19 26.4 11-15 ปี 9 12.5 16-20 ปี 8 11.1 ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป 17 23.6 รวม 72 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--