กรุงเทพโพลล์ ระบุ คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่นอนน้อย ไม่ออกกำลังกาย โดยใช้เวลาว่างในการดูโทรทัศน์ /ฟังวิทยุ คุยโทรศัพท์ และเล่นคอมพิวเตอร์ มากกว่า
เนื่องในวันที่ 28 พฤษภาคม เป็นวันสุขบัญญัติแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้เปิดเผยผลสำรวจข้อมูลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,196 คน โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 22 - 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 42.9 ไม่ได้กินอาหารวันละ 3 มื้อ ร้อยละ 52.1 นอนวันละไม่ถึง 7 ชั่วโมง ร้อยละ 10.5 มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ร้อยละ 32.4 ไม่เคยตรวจสุขภาพ และร้อยละ 22.1 มีโรคประจำตัว
โดยโรคที่เป็นกันมากที่สุดอันดับแรกได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 5.9) รองลงมาคือ โรคภูมิแพ้ (ร้อยละ 4.2) และโรคเบาหวาน (ร้อยละ2.3) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงการใช้เวลาว่างพบว่าคนกรุงเทพฯ ใช้เวลาว่าง ในการดูโทรทัศน์ / ฟังวิทยุมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 88.7 รองลงมาคือ คุยโทรศัพท์ (ร้อยละ 60.8) อ่านหนังสือทุกประเภท (ร้อยละ 52.8) เล่นคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 44.6) ออกกำลังกาย (ร้อยละ 43.2) และช้อปปิ้ง ซื้อของ เดินเล่น (ร้อยละ 40.1)
สำหรับวิธีการดูแลสุขภาพ พบว่า ใช้วิธีการกินวิตามิน อาหารเสริม หรือสมุนไพรบำรุงร่างกาย (ร้อยละ 41.9) เข้าคอร์สรักษาสิว ดูแลผิวพรรณ (ร้อยละ 15.6) และเข้าฟิตเนสเพื่อลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน (ร้อยละ 12.0)
โปรดพิจารณารายละเอียด ดังต่อไปนี้ 1. พฤติกรรมการกินอาหาร
กินวันละ 3 มื้อ ร้อยละ 57.1 ไม่ได้กินวันละ 3 มื้อ ร้อยละ 42.9 โดยแบ่งเป็น - กินวันละ 1 มื้อ ร้อยละ 1.5 - กินวันละ 2 มื้อ ร้อยละ 26.8
- กินมากกว่าวันละ 3 มื้อ ร้อยละ 6.2
- กินไม่เป็นเวลา ร้อยละ 8.4 2. พฤติกรรมการนอนเฉลี่ยต่อวัน นอนไม่ถึง 7 ชั่วโมง ร้อยละ 52.1 นอน 7 - 8 ชั่วโมง ร้อยละ 40.5 นอนมากกว่า 8 ชั่วโมง ร้อยละ 7.4 3. พฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระ ไม่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย โดยถ่ายเป็นเวลาทุกวัน ร้อยละ 89.5 มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ร้อยละ 10.5 โดย ขับถ่าย 2 - 3 วัน/ครั้ง ร้อยละ 9.7 ขับถ่าย 4 - 5 วัน/ครั้ง ร้อยละ 0.5 ขับถ่าย 6 - 7 วัน/ครั้ง ร้อยละ 0.3 4. โรคประจำตัว ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 77.9 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 22.1
โดยโรคประจำตัวที่เป็นกันมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 5.9 โรคภูมิแพ้ ร้อยละ 4.2 โรคเบาหวาน ร้อยละ 2.3 โรคกระเพาะอาหาร ร้อยละ 1.4 โรคหอบหืด ร้อยละ 1.2 5. การตรวจสุขภาพ ไม่เคยตรวจสุขภาพ ร้อยละ 32.4 ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ร้อยละ 35.8 ตรวจสุขภาพบ้างแต่ไม่ได้ตรวจทุกปี ร้อยละ 31.8 6. การใช้เวลาว่างที่นอกเหนือจากการนอน การเรียน / การทำงาน และการเดินทาง (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ดูโทรทัศน์ / ฟังวิทยุ ร้อยละ 88.7 โดยเฉลี่ยวันละไม่ถึงชั่วโมง ร้อยละ 2.9
โดยเฉลี่ยวันละ 1 - 3 ชั่วโมง ร้อยละ 59.6
โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 6 ชั่วโมง ร้อยละ 23.3
โดยเฉลี่ยวันละ 7 - 9 ชั่วโมง ร้อยละ 1.2
โดยเฉลี่ยวันละ 10 - 12 ชั่วโมง ร้อยละ 1.6
โดยเฉลี่ยวันละมากกว่า 12 ชั่วโมง ร้อยละ 0.1 โทรศัพท์ ร้อยละ 60.8 โดยเฉลี่ยวันละไม่ถึงชั่วโมง ร้อยละ 23.0
โดยเฉลี่ยวันละ 1 - 3 ชั่วโมง ร้อยละ 34.2
โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 6 ชั่วโมง ร้อยละ 2.4
โดยเฉลี่ยวันละ 7 - 9 ชั่วโมง ร้อยละ 0.4
โดยเฉลี่ยวันละ 10 - 12 ชั่วโมง ร้อยละ 0.5
โดยเฉลี่ยวันละมากกว่า 12 ชั่วโมง ร้อยละ 0.3 อ่านหนังสือทุกประเภท ร้อยละ 52.8 โดยเฉลี่ยวันละไม่ถึงชั่วโมง ร้อยละ 14.8
โดยเฉลี่ยวันละ 1 - 3 ชั่วโมง ร้อยละ 36.1
โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 6 ชั่วโมง ร้อยละ 1.8
โดยเฉลี่ยวันละมากกว่า 6 ชั่วโมง ร้อยละ 0.1 เล่นคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 44.6 โดยเฉลี่ยวันละไม่ถึงชั่วโมง ร้อยละ 1.8
โดยเฉลี่ยวันละ 1 - 3 ชั่วโมง ร้อยละ 32.2
โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 6 ชั่วโมง ร้อยละ 7.7
โดยเฉลี่ยวันละ 7 - 9 ชั่วโมง ร้อยละ 1.8
โดยเฉลี่ยวันละ 10 - 12 ชั่วโมง ร้อยละ 1.1
ออกกำลังกาย ร้อยละ 43.2 โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละไม่ถึงชั่วโมง ร้อยละ 0.8
โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 - 3 ชั่วโมง ร้อยละ 27.5
โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 4 - 6 ชั่วโมง ร้อยละ 6.6
โดยเฉลี่ยมากกว่าสัปดาห์ 6 ชั่วโมง ร้อยละ 8.3 ช้อปปิ้ง ซื้อของ เดินเล่น ร้อยละ 40.1 โดยเฉลี่ยวันละไม่ถึงชั่วโมง ร้อยละ 5.1
โดยเฉลี่ยวันละ 1 - 3 ชั่วโมง ร้อยละ 32.6
โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 6 ชั่วโมง ร้อยละ 2.2
โดยเฉลี่ยวันละมากกว่า 6 ชั่วโมง ร้อยละ 0.2 7. ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาได้ไปพบหมอเพื่อรักษาโรคบ้างหรือไม่ พบว่า ได้ไป ร้อยละ 49.3 ไม่ได้ไป ร้อยละ 50.7 8. แหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จากโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เอกสารเผยแพร่ต่างๆ ร้อยละ 73.6
จากคนรู้จักใกล้ชิด เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อน ร้อยละ 42.6 จากแพทย์ พยาบาล ร้อยละ 37.8 จากคอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 27.8 9. การดูแลสุขภาพด้วยวิธีดังต่อไปนี้
เคย ไม่เคย
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
การกินวิตามิน อาหารเสริม หรือสมุนไพรบำรุงร่างกาย 41.9 58.1 การเข้าคอร์สรักษาสิว ดูแลผิวพรรณ 15.6 84.4 การเข้าฟิตเนสเพื่อลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน 12.0 88.0 การซื้อยามากินเพื่อลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน 8.5 91.5 การเข้าคลินิก / โรงพยาบาล เพื่อลดน้ำหนัก เสริมความงาม 7.5 92.5
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 13 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 เขต จาก 50 เขต โดยครอบคลุมทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดุสิต ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระขโนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สายไหม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,196 คน เป็นชายร้อยละ 49.0 และหญิงร้อยละ 51.0
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22 - 25 พฤษภาคม 2554
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 27 พฤษภาคม 2554 ข้อมูลประชากรศาสตร์ จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ ชาย 586 49.0 หญิง 610 51.0 รวม 1,196 100.00 อายุ 13 ปี — 25 ปี 308 25.8 26 ปี — 35 ปี 317 26.5 36 ปี — 45 ปี 276 23.1 46 ปีขึ้นไป 294 24.6 รวม 1,196 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 822 68.7 ปริญญาตรี 317 26.5 สูงกว่าปริญญาตรี 43 3.6 ไม่ระบุระดับการศึกษา 14 1.2 รวม 1,196 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 111 9.3 พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 271 22.7 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 285 23.9 รับจ้างทั่วไป 162 13.5 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 126 10.5 นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา 211 17.6 อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน 30 2.5 รวม 1,196 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--