คำชี้แจง: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนว นโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
นักเศรษฐศาสตร์รู้สึกเป็นห่วงและต้องการให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยคิดให้รอบคอบใน 14 โครงการจาก 26 โครงการ พร้อมเสนอ 8 ประเด็นที่รัฐบาลต้องคำนึง
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับรัฐบาลชุดใหม่ในการดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน การสำรวจความคิดเห็น นักเศรษฐศาสตร์ประจำเดือนนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “นโยบายที่หาเสียงไว้ของรัฐบาลชุด ใหม่ กับสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เป็นห่วง” โดยสำรวจความคิดเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับ ชั้นนำของประเทศ 26 แห่ง จำนวน 62 คน พบว่า
จากนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ 26 นโยบาย มีถึง 14 นโยบายที่ นักเศรษฐศาสตร์รู้สึกเป็นห่วงและอยากให้รัฐบาลพรรคเพื่อ ไทยคิดให้รอบคอบก่อนดำเนินการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับปากท้องของประชาชนโดยตรง ตรงข้ามกับนโยบายโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นว่าเป็นนโยบายที่ดีและต้องการให้เดินหน้าอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ นโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่รู้สึกเป็นห่วงและต้องการให้คิดให้รอบคอบก่อนดำเนินการมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ภายใน 90 วัน (ร้อยละ 93.5)
นโยบายแจกเครดิตการ์ดให้เกษตรกร เพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต (ร้อยละ 80.6)
นโยบายแจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน (ร้อยละ 80.6)
ส่วนนโยบายที่นักเศรษฐศาสตร์เชื่อมั่นว่าดีและต้องการให้เดินหน้าอย่างเต็มที่ 3 ลำดับแรก คือ
นโยบายจัดให้มีศูนย์ฝึกในอาชีวศึกษาทุกแห่ง (ร้อยละ 93.5)
นโยบายขจัดยาเสพติดใน 12 เดือน (ร้อยละ 87.1)
นโยบายจัดให้มีอินเทอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ (ร้อยละ 79.0)
นโยบายที่เชื่อมั่นว่าดีและ นโยบายที่รู้สึกเป็นห่วงและ ต้องการให้เดินหน้าอย่างเต็มที่ ต้องการคิดให้รอบคอบ นโยบายเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับประชาชนโดยตรง 1 นโยบาย 9 นโยบาย 1 คืนภาษี-เพิ่มค่าลดหย่อนให้ผู้ซื้อบ้านหลังแรก (75.8%) 1 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท (93.5%)
2 แจกเครดิตการ์ดให้เกษตรกร (80.6%)
3 จบปริญญาตรี เงินเดือน15,000 บ. (77.4%)
4 พักหนี้ครัวเรือน อย่างน้อย 3 ปี (69.4%)
5 จำนำข้าวเปลือกเจ้าเกวียนละ 15,000 บ. และข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บ. (66.1%)
6 ยกเลิกกองทุนน้ำมัน (64.5%)
7 คืนภาษีให้ผู้ซื้อรถคันแรก (61.3%)
8 เครดิตการ์ดพลังงาน (56.5%)
9 ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20%ในปี 56 (54.8%)
นโยบายเกี่ยวกับโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ 5 นโยบาย 1 นโยบาย 1 ทำสนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน (74.2%) 1 สร้างเขื่อนกั้นทะเลสมุทรสาคร-สมุทรปราการ (50.0%)
2 ทำรถไฟรางคู่เชื่อมชานเมือง ทำรถไฟความเร็วสูงไปหัวเมืองใหญ่ ขยายแอร์พอร์ตลิงค์ไปพัทยา (69.4%)
3 สร้างรถไฟฟ้า 10 สายเก็บ 20 บาทตลอดสาย (67.7%)
4 ปรับปรุง 25 ลุ่มน้ำ-ดึงน้ำจากพม่า-ลาว-กัมพูชา (61.3%)
5 ทำแลนด์บริดจ์ภาคใต้ เชื่อมเศรษฐกิจ 2 ฝั่ง (61.3%)
นโยบายด้านสังคม 6 นโยบาย 4 นโยบาย 1 จัดให้มีศูนย์ฝึกในอาชีวศึกษาทุกแห่ง (93.5%) 1 แจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน (80.6%) 2 ขจัดยาเสพติดใน 12 เดือน (87.1%) 2 ชายแดนใต้ 3 จว. เป็นเขตปกครองพิเศษ (64.5%) 3 ฟรีอินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะ (79.0%) 3 ตั้งกองทุนตั้งตัว 1,000 ล้านบาทในมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน เพื่อให้นักศึกษาหรืออาจารย์ สามารถกู้ไปประกอบธุรกิจได้ (62.9%) 4 30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง (75.8%) 4 จัดตั้งกองทุนทรัพย์สินของชาติโดยใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนหนึ่งเพื่อลงทุนในต่างประเทศ (62.9%)
5 กองทุนให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(ICL)) (71.0%)
6 ตั้งกองทุนร่วมทุนทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนในแต่ละ จังหวัดสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน (46.8%)
รวม 12 นโยบาย 14 นโยบาย
สำหรับข้อคิดเห็นในการดำเนินนโยบายทั้ง 26 นโยบาย มีดังนี้
1. นักเศรษฐศาสตร์มีความเป็นห่วงว่าจะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจไทย
2. เงินงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับสูง ขณะที่การดำเนินโครงการบางโครงการก็จะทำให้รายได้ของ รัฐบาลลดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลต้องประสบกับปัญหาทางการคลัง จนอาจทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการต่างๆ ได้ทั้งหมดตามที่ได้หาเสียง ไว้
3. การดำเนินโครงการบางโครงการอาจทำให้ความสามารถในการแข่งขันในสินค้าส่งออกลดลงอันเป็นผลจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จะส่งผลกระทบกับธุรกิจ SMEs ที่อาจจะต้องปิดตัวลง เกิดการย้ายฐานการผลิต และอาจนำมาซึ่งการว่างงานที่เพิ่มขึ้นกับแรงงานไทย นอกจากนี้ จะทำให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมากอันจะนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ ตามมา
4. การดำเนินโครงการบางโครงการอาจสุ่มเสี่ยงหรือมีช่องทางให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ รวมถึง โครงการตั้งกองทุนร่วมทุนทุกจังหวัด และ โครงการรับจำนำข้าว
5. การดำเนินโครงการบางโครงการไม่เพียงไม่ช่วยแก้ปัญหา แต่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการสร้างปัญหาใหม่ให้เกิดขึ้น เช่น โครงการ แจกเครดิตการ์ดให้เกษตรกรเพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต โครงการคืนภาษีให้ผู้ซื้อรถคันแรก โครงการเครดิตการ์ดพลังงานเพื่อเติมน้ำมันหรือก๊าซ NGV สำหรับคนขับแท๊กซี่ สามล้อ รถตู้ และมอเตอร์ไซต์รับจ้าง และโครงการพักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี เป็นต้น
6. โครงการใดที่เป็นของรัฐบาลชุดเก่าซึ่งเป็นนโยบายที่ดีอยู่แล้วก็ควรจะมีการสานต่อและพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง เป็นต้น
7. โครงการบางโครงการที่หาเสียงไว้มีความอ่อนไหวค่อนข้างมาก ดังนั้น ควรมีการพิจารณาให้รอบคอบเป็นพิเศษ เช่น การจัด ชายแดนใต้ 3 จว. เป็นเขตปกครองพิเศษ โครงการจัดตั้งกองทุนทรัพย์สินของชาติโดยใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการลง ทุนของนักลงทุนไทยในต่างประเทศ
8. การดำเนินโครงการต่างๆ ควรอยู่ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าเพราะจะทำให้เศรษฐกิจค่อยๆ มีการปรับตัว ไม่เกิดภาวะ ช็อค หรือในบางโครงการที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ก็ไม่ควรเร่งรีบดำเนินการจนขาดการละเลยในการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างถี่ถ้วน ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญของโครงการจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลชุดใหม่จำเป็นต้องคำนึง
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
นิยาม :
เชื่อมั่นว่าดี/เดินหน้าเต็มที่ คือ เชื่อมั่นว่าโครงการเศรษฐกิจดังกล่าว จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวม และมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของไทย แม้ว่าในทางปฎิบัติอาจมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของโครงการบ้างเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ทางเศรษฐกิจของสังคมไทย หรือความจำเป็นของโครงการที่ต้องมีการดำเนินการภายใน 4 ปีนี้ เป็นต้น จึงสนับสนุนให้มีการเดินหน้าโครงการดัง กล่าวอย่างเต็มที่
รู้สึกเป็นห่วง/คิดให้รอบคอบ คือ หากมีการดำเนินการในโครงการเศรษฐกิจดังกล่าว อาจสุ่มเสี่ยง ที่จะสร้างปัญหาในระยะยาว (แม้ว่า ในระยะสั้นอาจจะส่งผลดีก็ตาม) รวมถึงอาจเป็นโครงการที่ไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทย รวมถึงงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการดำเนิน โครงการ หรือ เป็นโครงการที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการภายใน 4 ปีนี้ เป็นต้น จึงขอให้รัฐบาลคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจดำเนิน โครงการดังกล่าว
นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย เชื่อมั่นว่าดี/ รู้สึกเป็นห่วง/ ความคิดเห็นเพิ่มเติม ไม่ตอบ/ เดินหน้าเต็มที่ คิดให้รอบคอบ ไม่แน่ใจ โครงการเศรษฐกิจ 1 ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ภายใน 90 วัน 6.5 93.5 ? อาจทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ในลักษณะวนไปเรื่อยๆ (spiral inflation) 0
? ควรปรับขึ้นค่าแรงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในอัตราที่เหมาะสมอย่างรอบคอบ และไม่ควรปรับในอัตราเดียวทั่วประเทศ
? ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นโดยเฉพาะ SMEs นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิต ดังนั้นหากจะปรับขึ้นค่าแรงควรต้องปรับเพิ่มจากฝีมือในการทำงานที่เพิ่มขึ้นด้วย
? นำมาซึ่งปัญหาจากแรงงานต่างด้าว
2 แจกเครดิตการ์ดให้เกษตรกร เพื่อใช้ซื้อปัจจัยการผลิต 16.1 80.6 ? จะเป็นการสร้างหนี้ให้กับเกษตรกรมากกว่าการช่วยเหลือ เพราะมีความเป็นไปได้ว่าเกษตรกรบางส่วนอาจขาดวินัยทางการเงิน หรือไม่มีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอในการใช้บัตรเครดิต 3.3
? เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่าต้นเหตุ ในกรณีที่รายได้เกษตรกรไม่เป็นไปตามที่คาด ภาระหนี้ที่เกิดขึ้นรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไร
? หากจะดำเนินการจริงรัฐต้องวางแผนให้รัดกุมเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาส ไม่ใช่การเพิ่มภาระให้เกษตรกร
3 จบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท 22.6 77.4 ? จะสร้างปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะกระทบกับเกษตรกรหรือประชาชนที่ไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการต่างๆ ของรัฐบาลเลย 0
? ภาคเอกชนอาจไม่ทำตาม ในส่วนของภาครัฐลูกจ้างเดิมจะดำเนินการอย่างไร แล้วสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบันจะยังคงอยู่หรือไม่ ซึ่งหากมีการดำเนินการจริงจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และจำเป็นต้องปรับเงินเดือนทั้งระบบ
? เงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 ซึ่งอาจถือได้ว่าสูงกว่าความรู้ความสามารถ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานเลย
? หากจะปรับเพิ่มควรปรับเพิ่มในบางสาขาวิชาเท่านั้น หรือเฉพาะคนที่มีผลการเรียนที่ดีเยี่ยม เป็นต้น
4 พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี 24.2 69.4 ? นโยบายนี้อาจทำให้คนไทยขาดวินัยในการใช้เงิน ใช้งบประมาณสูง หากจะดำเนินการจริงควรพักแค่ 1 ปีก็เพียงพอแล้ว และต้องจัดกลุ่มว่าหนี้สินที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากสิ่งใด 6.4 5 จำนำข้าวเปลือกเจ้าเกวียนละ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท 24.2 66.1 ? อาจส่งผลต่อการสูญเสียตลาดส่งออกได้ เพราะราคาสูงกว่าตลาดโลกมาก ซึ่งหากดำเนินการจริงรัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก 9.7
? มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการทุจริตเหมือนเดิม
? จะส่งผลดีต่อเกษตรกร แต่ต้องตระหนักในปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมา
6 ยกเลิกกองทุนน้ำมัน 32.3 64.5 ? 3.2 7 คืนภาษีให้ผู้ซื้อรถคันแรก 30.6 61.3 ควรมีแผนที่ชัดเจนในกรณีราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวน ซึ่งอาจกระทบต่อต้นทุนขนส่ง และส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมในท้ายที่สุด 8.1
? นำพามาซึ่งปัญหาการจราจร ปัญหามลภาวะ ส่งผลให้ต้องมีการนำเข้าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงน่าจะพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมให้ครอบคลุมและมีระบบมากกว่า
8 เครดิตการ์ดพลังงาน เพื่อเติมน้ำมันหรือก๊าซ NGV สำหรับคนขับแท๊กซี่ สามล้อ รถตู้ และมอเตอร์ไซต์รับจ้าง 35.5 56.5 ? จะเป็นการสร้างหนี้ให้กับคนขับรถมากกว่าการช่วยเหลือ เนื่องจากจะนำรายได้ไปใช้จ่ายในส่วนอื่นก่อน และอาจทำให้เสียวินัยทางการเงินได้ 8
? ควรเน้นที่ราคาพลังงานที่เป็นธรรมและชัดเจนก็น่าจะเพียงพอแล้ว
9 ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20 % ในปี 2556 38.7 54.8 ? รายได้ของรัฐจะลดลง การคลังอาจมีปัญหา ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการดำเนินโครงการต่างๆของรัฐบาล โดยเฉพาะในกรณีที่เศรษฐกิจไม่ได้มีการขยายตัวตามที่คาดการณ์ไว้ 6.5
? หากจะปรับลดควรมีการขยายฐานภาษีให้มากขึ้น
? อัตราภาษีที่จะลดควรอยู่ในระดับที่เหมาะสม ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศส่วนใหญ่ ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อภาคเอกชนและภาครัฐเอง
10 คืนภาษี-เพิ่มค่าลดหย่อนให้ผู้ซื้อบ้านหลังแรก 75.8 17.7 ? เป็นการช่วยเหลือด้านความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของประชาชน แต่ต้องมีเงื่อนไขที่ไม่ปล่อยให้คนที่มีเงินซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไร นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกส่วนหนึ่ง
6.5
11 สร้างเขื่อนกั้นทะเลสมุทรสาคร-สมุทรปราการ 33.9 50 ? คงได้ไม่คุ้มเสียเพราะต้องใช้เงินลงทุนสูง และสิ่งแวดล้อมในอ่าวเสียหาย ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาให้ถี่ถ้วน รวมถึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรีบดำเนินการใน 4 ปีนี้ 16.1 12 ปรับปรุง 25 ลุ่มน้ำ-ดึงน้ำจากพม่า-ลาว-กัมพูชา 61.3 22.6 ? น่าจะเป็นประโยชน์มากหากทำได้จริง 16.1 13 ทำแลนด์บริดจ์ภาคใต้ ทำสะพานเชื่อมเศรษฐกิจ 2 ฝั่ง (ระหว่างอันดามันและอ่าวไทย) 61.3 27.4 -ไม่มี- 11.3 14 สร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ใน กทม.เก็บ 20 บาท ตลอดสาย 67.7 29.0 ? เป็นโครงการที่ดีแต่การเก็บค่าโดยสารในระดับต่ำเกินไปอาจทำให้โครงการไม่คุ้มทุน 3.3
? ในการก่อสร้างควรทยอยทำจะได้ไม่เป็นภาระต่องบประมาณมากนัก
15 ทำรถไฟรางคู่เชื่อมชานเมือง ทำรถไฟความเร็วสูงไปเชียงใหม่ โคราช และระยอง/ขยายแอร์-พอร์ตลิงค์ไปฉะเชิงเทรา ไปชลบุรี และไปพัทยา 69.4 22.6 ? เป็นโครงการที่ดี แต่ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการสูง 8.0
? ในการก่อสร้างควรทยอยทำจะได้ไม่เป็นภาระต่องบประมาณมากนัก
16 ทำสนามบินสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน 74.2 19.4 ? เป็นประโยชน์ต่อการค้าและการท่องเที่ยวอย่างมาก 6.4 โครงการด้านสังคม 17 แจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน 12.9 80.6 ? ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำถึงขนาดนั้น อีกทั้งวุฒิภาวะและความรู้ในการใช้ประโยชน์จากแทบเลตยังไม่มี นอกจากนี้ รัฐจะหา content อะไรให้เด็กๆ เพื่อให้ใช้ แท็บเลต ได้อย่างคุ้มค่า 6.5
? ควรปรับปรุงอุปกรณ์การเรียนในประเภทอื่นๆ ด้วย
18 ตั้งกองทุนตั้งตัว 1,000 ล้านบาท ในมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน เพื่อให้นักศึกษาหรืออาจารย์ สามารถกู้ไปประกอบธุรกิจได้ โดยตั้งกรรมการประกอบด้วยอาจารย์และศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และตัวแทนภาครัฐ 30.6 62.9 ? เป็นช่องทางเข้าถึงเงินทุน แต่การบริหารงานอาจยากจากหนี้ซ้ำซ้อนที่กู้ยืมเรียน 6.5
? ช่วยให้บัณฑิตและอาจารย์สามารถกู้ไปลงทุนได้ ซึ่งจะช่วยสร้างผู้ประกอบการได้จำนวนหนึ่ง
? ควรมีแผนรองรับอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเกิดหนี้เสีย
19 ชายแดนใต้ 3 จว. เป็นเขตปกครองพิเศษ 22.6 64.5 ? เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องศึกษาให้รอบคอบ 12.9 20 จัดตั้งกองทุนทรัพย์สินของชาติ โดยใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการลงทุนของนักลงทุนไทยในต่างประเทศ 27.4 62.9 ? เป็นแนวคิดที่ดีแต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ 9.7 21 ตั้งกองทุนร่วมทุนทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนในแต่ละจังหวัดสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยมีกรรมการที่เข้าใจเศรษฐกิจในจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้อนุมัติเงินกู้ให้กับแนวคิดธุรกิจที่น่าสนใจ 46.8 40.3 ? อาจนำมาซึ่งช่องทางการทุจริตช่องใหม่ รวมถึงปัญหาความลำเอียงในการให้กู้ยืม ความหละหลวมอันจะก่อให้เกิดหนี้เสีย ดังนั้นการปล่อยให้สถาบันการเงินที่มีอยู่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจึงน่าจะดีกว่า 12.9
? โดยปกติแต่ละหมู่บ้านจะมีกองทุนอยู่แล้ว การเข้าถึงเงินกู้จึงมิใช่ปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่การจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
22 ใช้ระบบเรียนก่อน ผ่อนทีหลัง (กองทุนให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(ICL)) 71.0 25.8 ? เป็นนโยบายที่ดีแต่ต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ดังเช่นที่กำลังเกิดกับกองทุน กยศ. 3.2 23 30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง 75.8 17.7 ? คุณภาพการรักษาไม่ควรต่ำกว่ามาตรฐาน 6.5
? หากดำเนินการต่อเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลชุดเก่าได้น่าจะดียิ่งขึ้น
24 ฟรีอินเทอร์เน็ตในที่สาธารณะ 79.0 17.7 ? ช่วยให้ประชาชนและนักเรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น แต่รัฐต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก 3.3 25 ขจัดยาเสพติดใน 12 เดือน 87.1 9.7 ? ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 3.2
? ไม่ควรก่อให้เกิดการฆ่าตัดตอนเหมือนในครั้งที่ผ่านมา ควรอยู่ในกรอบของกฎหมาย
26 จัดศูนย์ฝึกในอาชีวศึกษาทุกแห่ง 93.5 4.8 ? ควรเน้นเป็นพิเศษในแนวทางที่ตลาดต้องการ 1.7 หมายเหตุ: เป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยประกาศไว้ตอนปราศัยใหญ่ที่เวทีราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อ 1 ก.ค. 54
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--