กรุงเทพโพลล์: “ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทย 3 เดือนข้างหน้า ”

ข่าวผลสำรวจ Friday July 29, 2011 10:47 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ 26 แห่ง จำนวน 62 คน เรื่อง “ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทย 3 เดือนข้างหน้า”โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15-21 ก.ค. ที่ผ่านมา พบว่า

ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 62.11 ซึ่งเป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในครั้งก่อนหน้า และเป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบปี ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนมุมมองนักเศรษฐศาตร์ที่มีต่อเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ยังคงสดใส โดยเฉพาะการคลายความกังวลจากปัจจัยการเมืองภายหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้ด้วยดี เมื่อพิจารณาการคาดการณ์ในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อน เศรษฐกิจ พบว่า การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีคาดการณ์เป็นผลมาจาก (1) การท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูการท่อง เที่ยวในช่วงหน้าหนาว (2) การบริโภคภาคเอกชนที่จะได้รับผลดีจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายของ รัฐบาลใหม่ (3) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ได้ผลดีจากการมีรัฐบาลใหม่และโครงการต่างๆ ที่จะเริ่มดำเนินการตามที่ได้หา เสียงไว้

ส่วนดัชนีสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังคงอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งเห็นได้จากค่าดัชนีที่อยู่ในระดับ 56.94 ซึ่งเป็นระดับที่สูง กว่า 50 เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พบว่า ค่าดัชนีอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ทุกปัจจัยเช่นกัน โดยเฉพาะปัจจัยด้านการส่งออก และการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ค่าดัชนีอยู่ในระดับที่สูงกว่า 50 ค่อนข้างมาก คือเท่ากับ 69.17 และ 59.68 ตามลำดับ

จากที่กล่าวมาทำให้สรุปได้ว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่ง แนวโน้ม 3 เดือนข้างหน้าก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

ตาราง ปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และคาดการณ์อนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 เดือน

6 เดือน 9 เดือน และ 1 ปี

                                       ---------------- ดัชนีสถานะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน---------------------        -----------ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า----------------
ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ                    ก.ค. 53    ต.ค. 53    ม.ค. 54    เม.ย. 54    ก.ค. 54     เปลี่ยนแปลง     ก.ค. 53    ต.ค. 53    ม.ค. 54    เม.ย. 54    ก.ค.54    เปลี่ยนแปลง
 1)  การบริโภคภาคเอกชน                  39.13       50        56.02        50        52.46        2.46         79.29      64.19      53.61      50.71      66.07       15.36
 2)  การลงทุนภาคเอกชน                   24.26      45.21      49.39      45.59       50.82        5.23         71.01      67.81      62.2       55.15      57.41        2.26
 3)  การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ           58.09      56.16      58.02      55.71       52.59        -3.12        65.22      55.48      63.58      59.29      70.69        11.4
 4)  การส่งออกสินค้า                      76.09      69.59      65.24      69.29       69.17        -0.12        63.57      28.38      47.56      48.57      49.12        0.55
 5)  การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ            13.24      46.53      53.09      53.52       59.68        6.16         81.88      67.36      63.58      39.44      67.24        27.8
               ดัชนีรวม                  42.16      53.5       56.35      54.82       56.94        2.12         72.19      56.64      58.11      50.63      62.11       11.48

หมายเหตุ: ค่าดัชนีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดย

ค่าดัชนีเท่ากับ 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะปกติ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือ หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ เดิม/ไม่เปลี่ยนแปลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า)

ค่าดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะแข็งแกร่ง (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ดีขึ้น (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า)

ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะอ่อนแอ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) หรือหมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ แย่ลง (สำหรับการคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า)

************************************************************************************************************

หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ

นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า

2. เพื่อทราบสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าจะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า

3. เพื่อสะท้อนข้อเสนอแนะประเด็นเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 26 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เอเชีพลัส บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  15-21 กรกฎาคม 2554

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  29 กรกฎาคม 2554

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                        จำนวน          ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ                    27          43.5
           หน่วยงานภาคเอกชน                 21          33.9
           สถาบันการศึกษา                    14          22.6
          รวม                              62         100.0

เพศ
            ชาย                            30          48.4
            หญิง                            32          51.6
          รวม                              62         100.0

อายุ
            26 ปี — 35 ปี                    25          40.3
            36 ปี — 45 ปี                    20          32.3
            46 ปีขึ้นไป                       17          27.4
          รวม                              62         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                        3           4.8
             ปริญญาโท                       47          75.8
             ปริญญาเอก                      12          19.4
          รวม                              62         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                       12          19.4
              6-10 ปี                       24          38.7
              11-15 ปี                       6           9.6
              16-20 ปี                       7          11.3
              ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป                13          21.0
          รวม                              62         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ