กรุงเทพโพลล์: “คิดอย่างไรกับการแถลงนโยบายของรัฐบาล”

ข่าวผลสำรวจ Monday August 29, 2011 07:30 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลพบว่า หลังจากที่ได้ฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภาฯ แล้ว พบว่า ร้อยละ 35.6 รู้สึกพอๆ กับที่คาดหวังไว้ก่อนการแถลงผล ดีกว่าที่คาดหวังร้อยละ 19.0 แย่กว่าที่คาดหวังร้อยละ 13.5 และไม่ได้คาดหวัง ร้อยละ 31.9

ประชาชนมีความเห็นว่านโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่สามารถทำให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมได้ในปีแรกมีเพียงนโยบายเดียวคือ นโยบายด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

ส่วนนโยบายที่เห็นว่าสามารถทำให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรมได้แต่ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี คือ นโยบายด้านความปรองดองและความสมานฉันท์ของคนในชาติ นโยบายด้านการแก้ปัญหายาเสพติด และนโยบายด้านการแก้ปัญหาปากท้องและค่าครองชีพของประชาชน

สำหรับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ประชาชนเห็นว่าไม่สามารถทำได้คือ นโยบายด้านการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ นโยบายด้านการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น

ทั้งนี้ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจในการทำหน้าที่ในสภาฯ ของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำฝ่ายรัฐบาล ได้ 6.61 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านได้ 5.27 คะแนน ฝ่ายรัฐบาลได้ 6.39 คะแนน ฝ่ายค้านได้ 5.16 คะแนน ประธานสภาฯได้ 6.29 คะแนน และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)ได้ 5.88 คะแนน

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. การติดตามการแถลงนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 — 25 สิงหาคม พบว่า
          - ติดตามการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง                         ร้อยละ       9.6
          - ติดตามการถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ                            ร้อยละ      52.3
          - ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ                        ร้อยละ      38.1

2. ความรู้สึกหลังจากได้ฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาเปรียบเทียบกับตอนก่อนการแถลงนโยบาย พบว่า
          - ดีกว่าที่คาดหวัง                                        ร้อยละ      19.0
          - พอๆ กับที่คาดหวัง                                      ร้อยละ      35.6
          - แย่กว่าที่คาดหวัง                                       ร้อยละ      13.5
          - ไม่ได้คาดหวัง                                         ร้อยละ      31.9

3. ความเห็นที่มีต่อรัฐบาลว่าจะสามารถดำเนินนโยบายเร่งด่วนให้เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ภายในปีแรก ตามที่แถลงต่อสภาฯ คือ
   นโยบาย                                         ทำได้                ทำไม่ได้   ไม่แน่ใจ/ไม่ออกความเห็น
                                         ภายในปีแรก  ใช้เวลามากกว่า1ปี    (ร้อยละ)        (ร้อยละ)

(ร้อยละ) (ร้อยละ)

-ด้านความปรองดองและความสมานฉันท์ของคนในชาติ     18.0          33.2          26.4          22.4
-ด้านการแก้ปัญหายาเสพติด                        31.1          37.5          17.0          14.4
-ด้านการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น                 11.3          27.3          44.5          16.9
-ด้านแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้        5.3          26.5          46.6          21.6
-ด้านความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ   48.1          31.8           5.4          14.7
-ด้านการแก้ปัญหาปากท้องและค่าครองชีพของประชาชน-
 เช่น น้ำมันแพง เงินเฟ้อ เป็นต้น                   28.7          37.3          18.6          15.4

4.  ความคิดเห็นที่มีต่อรัฐบาลหากจะมีการดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
   ประเด็น                              เห็นด้วย(ร้อยละ)  ไม่เห็นด้วย(ร้อยละ)    ไม่แน่ใจ/ไม่ออกความเห็น(ร้อยละ)
-แก้รัฐธรรมนูญ / ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่-
 แทนฉบับปี 50 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน                    38.3           34.0                    27.7
-นิรโทษกรรมผู้กระทำผิดทางการเมือง                30.9           45.1                    24.0
-ช่วยเหลือและเยียวยาผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต 91 ศพ-
 จากเหตุการณ์เดือน เม.ย.—พ.ค.53                59.8           23.0                    17.2
-นำพ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร กลับประเทศ             30.4           40.9                    28.7

5. คะแนนความพึงพอใจการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆในการแถลงนโนบายของรัฐบาลต่อสภาฯ วันที่ 23-24สิงหาคมที่ผ่านมา จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า
          - น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำรัฐบาล                               ได้คะแนน 6.61
          - ฝ่ายรัฐบาล                                                 ได้คะแนน 6.39
          - ประธานสภาฯ                                               ได้คะแนน 6.29
          - สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)                                        ได้คะแนน 5.88
          - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน                              ได้คะแนน 5.27
          - ฝ่ายค้าน                                                   ได้คะแนน 5.16

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภาฯ ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 15 วัน ในเรื่องของความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ตลอดจนความพึงพอใจที่มีต่อการทำหน้าที่ในสภาฯ ของฝ่ายต่างๆ เพื่อสะท้อนให้สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวมต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จำนวนทั้งสิ้น 28 เขต ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกะปิ บางเขน บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม หนองแขม และหลักสี่ และจังหวัดในเขตปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี และปทุมธานี ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,164 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.5 และเพศหญิงร้อยละ 49.5

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   24 - 26 สิงหาคม 2554

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   28 สิงหาคม 2554

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                            จำนวน         ร้อยละ
เพศ
                       ชาย                    588          50.5
                       หญิง                    576          49.5
          รวม                               1,164         100.0

อายุ
                      18 - 25 ปี               279          24.0
                      26 - 35 ปี               300          25.8
                      36 - 45 ปี               295          25.3
                      46 ปีขึ้นไป                290          24.9
          รวม                               1,164         100.0

การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี                   723          62.1
               ปริญญาตรี                        374          32.1
               สูงกว่าปริญญาตรี                    67           5.8
          รวม                               1,164         100.0

อาชีพ
     ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ                 98           8.4
     พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                 278          23.9
     ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                  366          31.4
     รับจ้างทั่วไป                                179          15.4
     พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                      95           8.2
     อื่นๆ อาทิ เกษตรกรรม อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ    148          12.7
          รวม                               1,164         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์-- -พห-


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ