กรุงเทพโพลล์: “ความเห็นคนกรุงต่อผลงาน ผบ.ตร. พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี และความเชื่อมั่นต่อว่าที่ ผบ.ตร. คนใหม่”

ข่าวผลสำรวจ Monday September 5, 2011 07:51 —กรุงเทพโพลล์

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความเห็นคนกรุงต่อผลงาน พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี และความเชื่อมั่นต่อว่าที่ ผบ.ตร. คนใหม่” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,259 คน เมื่อวันที่ 1 —3 กันยายน ที่ผ่านมา พบว่า

ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานโดยรวม ของตำรวจไทย ในช่วง 1 ปีที่ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) 5.66 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพึงพอใจผลงานด้านการพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดมากที่สุด (7.02 คะแนน) ขณะที่ด้านการควบคุมปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด และอบายมุขมีคะแนนความพึงพอใจน้อยที่สุด (5.06 คะแนน)

ด้านคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ผบ.ตร. ของ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ได้คะแนนความพึงพอใจโดยรวม 6.15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยได้คะแนนด้านการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติมากที่สุด (6.45 คะแนน) ขณะที่ด้านความฉับไวในการทำงาน และการแก้ปัญหา ได้คะแนนน้อยที่สุด (5.82 คะแนน)

สำหรับภาพลักษณ์ของตำรวจไทยในช่วง 1 ปี ที่พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. ประชาชนร้อยละ 63.1 เห็นว่ายังคงเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 23.1 เห็นว่าดีขึ้น และร้อยละ 13.8 เห็นว่าแย่ลง

เมื่อสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการโยกย้าย ผบ.ตร. ในช่วงเวลานี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.1 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ทำงานได้ดีอยู่แล้ว น่าจะให้โอกาสในการทำงานมากกว่านี้ / เป็นการแซกแซงจากฝ่ายการเมือง และเปลี่ยนไปก็เหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 45.9 เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีผลงานเด่นชัด / คนใหม่น่าจะทำงานได้ดีกว่า และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

ส่วนความเชื่อมั่นต่อ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ในการปราบปรามปัญหา บ่อนพนัน ยาเสพติด และอบายมุข ในพื้นที่ กรุงเทพฯ หากมีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. พบว่า ร้อยละ 52.1 ไม่เชื่อมั่น ขณะที่ร้อยละ 47.9 เชื่อมั่น

ส่วนปัญหาที่ต้องการให้ตำรวจเน้นแก้ไขมากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 49.5)

รองลงมาเป็น ปัญหาในแวดวงตำรวจเอง เช่น การคอร์รัปชั่น รับส่วย สินบน (ร้อยละ 17.0) ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (ร้อยละ 11.0) และปัญหาการจราจร (ร้อยละ 9.8)

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. คะแนนความพึงพอใจต่อผลงานด้านต่างๆ ของตำรวจไทย ในช่วง 1 ปีที่ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่ง
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 5.66 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดย ด้านการพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดล่วงละเมิดมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ด้านการควบคุมปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด และอบายมุขมีคะแนนต่ำที่สุด
          นโยบายของ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี                    คะแนน
- การพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์มิให้ผู้ใดล่วงละเมิด                     7.02
- การปรับปรุงพัฒนาการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ ให้ตำรวจพร้อม
  ให้ความช่วยเหลือประชาชนด้วยความเต็มใจ มีกริยาวาจาสุภาพ ยิ้มแย้ม          5.72
-  การใส่ใจบริการประชาชนไม่ใส่เกียร์ว่าง ไม่รับส่วย สินบน และข่มขู่รีดไถ       5.26
- การทำหน้าที่เป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ 2 มาตรฐาน                      5.26
- การควบคุมปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด และอบายมุข                   5.06
          เฉลี่ยรวม                                               5.66

2. คะแนนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ผบ.ตร.  ของ พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ในช่วง 1 ปี ที่ดำรงตำแหน่งพบว่า ได้คะแนนเฉลี่ย 6.15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยด้านการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติมีคะแนนสูงที่สุด ขณะที่ด้านความฉับไวในการทำงาน และการแก้ปัญหามีคะแนนต่ำที่สุด
          ด้าน                                 คะแนน
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ            6.45
ความซื่อสัตย์สุจริต                                 6.41
ความมีวิสัยทัศน์                                   6.26
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อประชาชน               6.23
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ                          6.00
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ         5.87
ความฉับไวในการทำงาน และการแก้ปัญหา               5.82
เฉลี่ยรวม                                       6.15

3. ภาพลักษณ์ของตำรวจไทยในช่วง 1 ปี  ที่พล.ต.อ. วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. พบว่า
ดีขึ้น                    ร้อยละ          23.1
เหมือนเดิม               ร้อยละ          63.1
แย่ลง                   ร้อยละ          13.8

4. ความเห็นต่อการโยกย้าย ผบ.ตร. ในช่วงเวลานี้ พบว่า
เห็นด้วย

(โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีผลงานเด่นชัด/คนใหม่น่าจะทำงานได้ดีกว่า/ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล) ร้อยละ 45.9 ไม่เห็นด้วย

(โดยให้เหตุผลว่า ทำงานได้ดีอยู่แล้ว น่าจะให้โอกาสในการทำงานมากกว่านี้ /เป็นการแซกแซง

           จากฝ่ายการเมือง/เปลี่ยนไปก็เหมือนเดิม)                                               ร้อยละ   54.1

5. ความเชื่อมั่นต่อ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์  ในการปราบปรามปัญหา บ่อนพนัน ยาเสพติด และอบายมุข ในพื้นที่ กรุงเทพฯ หากมีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. พบว่า
เชื่อมั่น            ร้อยละ          47.9
ไม่เชื่อมั่น          ร้อยละ          52.1

6. ปัญหาที่ต้องการให้ตำรวจเน้นแก้ไขเป็นอันดับแรกในขณะนี้  ได้แก่
ปัญหายาเสพติด                                        ร้อยละ          49.5
ปัญหาในแวดวงตำรวจเองเช่น การคอร์รัปชั่น รับส่วย สินบน       ร้อยละ          17.0
ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน             ร้อยละ          11.0
ปัญหาการจราจร                                       ร้อยละ           9.8
ปัญหาการชุมนุมประท้วง                                  ร้อยละ           4.5
ปัญหานักเรียนตีกัน                                      ร้อยละ           3.7
ปัญหาบ่อนพนัน หวย โต๊ะบอล                              ร้อยละ           2.8
ปัญหากลุ่มเด็กแว้น                                      ร้อยละ           1.7

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 32 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ลาดกระบัง วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม หนองแขม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,259 คน เป็นชายร้อยละ 50.7 และหญิงร้อยละ 49.3

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   1 — 3  กันยายน 2554

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   4 กันยายน 2554

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ

                       ชาย                   638          50.7
                       หญิง                   621          49.3
          รวม                              1,259         100.0

อายุ
                      18 - 25 ปี              326          25.9
                      26 - 35 ปี              341          27.0
                      36 - 45 ปี              298          23.7
                      46 ปีขึ้นไป               294          23.4
          รวม                              1,259         100.0

การศึกษา
               ต่ำกว่าปริญญาตรี                  852          67.7
               ปริญญาตรี                       363          28.8
               สูงกว่าปริญญาตรี                   28           2.2
              ไม่ระบุการศึกษา                    16           1.3
          รวม                              1,259         100.0

อาชีพ
     ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ               109           8.7
     พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน                332          26.4
     ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                 370          29.3
     รับจ้างทั่วไป                               194          15.4
     พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                    101           8.0
     อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น    153          12.2
          รวม                              1,259         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ