กรุงเทพโพลล์: “สุขภาพจิตของคนกรุงในช่วงเริ่มรัฐบาลยิ่งลักษณ์”

ข่าวผลสำรวจ Friday October 7, 2011 08:17 —กรุงเทพโพลล์

ปัญหาเศรษฐกิจทำคนกรุงเทพฯ เครียด มากกว่าปัญหาน้ำท่วม กลุ่มตัวอย่าง 1 ใน 10 ระบุเริ่มสุขภาพจิตไม่ดี

เนื่องในวันที่ 10 ตุลาคม ที่จะถึงนี้เป็นวันสุขภาพจิตโลก ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “สุขภาพจิตของคนกรุงในช่วงเริ่มรัฐบาลยิ่งลักษณ์” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,189 คน เมื่อวันที่ 30 กันยายน - 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า

คนกรุงเทพฯ ระบุเรื่องที่ทำให้ เครียด วิตกกังวล หรือเป็นทุกข์มากที่สุดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (เริ่มรัฐบาลยิ่งลักษณ์) คือ สินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น (ร้อยละ 35.7) รองลงมาเป็นเรื่อง การจราจรติดขัด (ร้อยละ 8.3) การเป็นหนี้ เป็นสิน (ร้อยละ 7.9) กลัวบ้านน้ำท่วม (ร้อยละ 6.4) และกลัวจะไม่ได้ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท หรือเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 ตามนโยบายที่รัฐเคยหาเสียงไว้ (ร้อยละ 6.3) โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 46.2 ให้ความเห็นต่อเรื่องที่ทำให้เครียด วิตกกังวล หรือเป็นทุกข์มากที่สุดในข้างต้นว่ามีสาเหตุมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ขณะที่ร้อยละ 15.9 ระบุว่ามีสาเหตุมาจากรัฐบาล และร้อยละ 10.3 ระบุว่ามีสาเหตุมาจากตัวเอง

สำหรับบุคคลที่คนกรุงเทพฯ คิดว่าจะปรึกษาหรือเป็นที่พึ่งทางใจ ในยามเครียด วิตกกังวล หรือเป็นทุกข์มากที่สุดคือ คนในครอบครัว (ร้อยละ 57.1) รองลงมาเป็น เพื่อน (ร้อยละ 19.5) และคนรัก (ร้อยละ 10.8) ขณะที่ ร้อยละ 8.6 ไม่ได้ปรึกษาใครและแก้ปัญหาด้วยตนเอง ทั้งนี้เมื่อถามถึงกิจกรรมที่ทำมากที่สุด เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล หรือเป็นทุกข์ พบว่า ร้อยละ 14.8 ระบุว่ากินข้าวกับครอบครัว ร้อยละ 14.2 ระบุว่านั่งสมาธิ เข้าวัด ฟังธรรม และร้อยละ 13.8 ระบุว่าเล่นอินเทอร์เน็ต แชท

ส่วนความคิดเห็นต่อการไปพบจิตแพทย์เมื่อเกิดความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือเป็นทุกข์ พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 71.1 คิดว่าจะไม่ไป (โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ไม่มีความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือเป็นทุกข์ถึงขนาดที่ต้องไปพบจิตแพทย์) ขณะที่ร้อยละ 28.9 คิดว่าจะไป

เมื่อถามว่าปัญหาความเครียด วิตกกังวล หรือเป็นทุกข์ที่ผ่านมา ทำให้ท่านเคยคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายบ้างหรือไม่ คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 94.4 ระบุว่าไม่เคยคิด มีเพียงร้อยละ 2.9 ระบุว่าเคยคิดทำร้ายตัวเอง และร้อยละ 2.7 ระบุว่าเคยคิดฆ่าตัวตาย

อย่างไรก็ตามเมื่อถามถึงสุขภาพจิตโดยรวมของคนกรุงเทพฯ พบว่า ร้อยละ 87.8 ระบุว่าตัวเองมีสุขภาพจิตดี มีเพียงร้อยละ 12.2 ที่ระบุว่าตัวเองมีสุขภาพจิตไม่ดี

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อนี้

1. เรื่องที่เครียด วิตกกังวล หรือเป็นทุกข์มากที่สุดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา (5 อันดับแรก)
สินค้ามีราคาแพงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น                                                        ร้อยละ         35.7
การจราจรติดขัด                                                                       ร้อยละ          8.3
การเป็นหนี้ เป็นสิน                                                                     ร้อยละ          7.9
กลัวบ้านน้ำท่วม                                                                        ร้อยละ          6.4
กลัวจะไม่ได้ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท หรือ เงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ตามนโยบายที่รัฐเคยหาเสียงไว้   ร้อยละ          6.3
ไม่มีเรื่องเครียด วิตกกังวล หรือเป็นทุกข์                                                     ร้อยละ         14.4

2. สาเหตุที่ทำให้เครียด วิตกกังวล หรือเป็นทุกข์มากที่สุด (5 อันดับแรก) มีสาเหตุมาจาก
ปัญหาทางเศรษฐกิจ                     ร้อยละ          46.2
รัฐบาล                              ร้อยละ          15.9
ตัวเอง                              ร้อยละ          10.3
ครอบครัว ญาติพี่น้อง                    ร้อยละ          6.6
เกี่ยวกับงาน หัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงาน   ร้อยละ          6.1

3. บุคคลที่คิดว่าจะเป็นที่ปรึกษาหรือเป็นที่พึ่งทางใจ  ในยามเครียด วิตกกังวล หรือเป็นทุกข์มากที่สุด
คนในครอบครัว                       ร้อยละ          57.1
เพื่อน                              ร้อยละ          19.5
คนรัก                              ร้อยละ          10.8
พระ                               ร้อยละ          3.0
หมอจิตแพทย์                         ร้อยละ          1.0
ไม่ได้ปรึกษาใคร แก้ปัญหาด้วยตนเอง       ร้อยละ          8.6

4. กิจกรรมที่ทำมากที่สุด  (5 อันดับแรก) เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล หรือเป็นทุกข์
กินข้าวกับครอบครัว                 ร้อยละ          14.8
นั่งสมาธิ เข้าวัด ฟังธรรม            ร้อยละ          14.2
เล่นอินเทอร์เน็ต แชท               ร้อยละ          13.8
ดูหนัง ช้อปปิ้ง                     ร้อยละ          13.4
ออกกำลังกาย                     ร้อยละ          11.6

5. ความคิดเห็นต่อการไปพบจิตแพทย์  เมื่อเกิดความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือเป็นทุกข์ พบว่า
คิดว่าจะไป                                                                      ร้อยละ       28.9
คิดว่าจะไม่ไป                                                                    ร้อยละ       71.1
โดยให้เหตุผลว่า  ไม่มีความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า  หรือเป็นทุกข์ถึงขนาดที่ต้องไปพบจิตแพทย์ ร้อยละ       30.6
               เป็นเรื่องคนผิดปกติ คนบ้า คนโรคจิต                                ร้อยละ       18.3
               ไม่รู้จัก และไม่รู้จะไปพบที่ไหน                                     ร้อยละ       11.3
               ไม่มีเงิน สิ้นเปลือง                                             ร้อยละ       10.9

6. จากปัญหาความเครียด วิตกกังวล หรือเป็นทุกข์ที่ผ่านมา ทำให้ท่านเคยคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายบ้างหรือไม่
เคยคิดทำร้ายตัวเอง          ร้อยละ          2.9
เคยคิดฆ่าตัวตาย             ร้อยละ          2.7
ไม่เคยคิด                  ร้อยละ         94.4

7. ความเห็นต่อสุขภาพจิตของประชาชนในปัจจุบัน พบว่า
สุขภาพจิตดี            ร้อยละ          87.8
สุขภาพจิตไม่ดี          ร้อยละ          12.2

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 30เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,189 คน เป็นชายร้อยละ 49.9 และหญิงร้อยละ 50.1

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   30  กันยายน — 3 ตุลาคม 2554

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :    7 ตุลาคม 2554

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) โทร. 02-350-3500 ต่อ 1770, 1776

E-mail: bangkokpoll@bu.ac.th Website: http://research.bu.ac.th

Twitter : http://twitter.com/bangkok_poll

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ

          ชาย                                    593          49.9
          หญิง                                    596          50.1
        รวม                                    1,189         100.0

อายุ
          18 - 25 ปี                              313          26.3
          26 - 35 ปี                              314          26.4
          36 - 45 ปี                              283          23.8
          46 ปีขึ้นไป                               279          23.5
        รวม                                    1,189         100.0

การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                           822          69.1
          ปริญญาตรี                                301          25.3
          สูงกว่าปริญญาตรี                            53           4.5
          ไม่ระบุการศึกษา                            13           1.1
        รวม                                    1,189         100.0

อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ              122          10.3
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน               326          27.4
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                273          23.0
          รับจ้างทั่วไป                              221          18.6
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                    87           7.3
          อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น   160          13.4
        รวม                                    1,189         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ