กรุงเทพโพลล์: บทสรุปน้ำท่วมกับการทำหน้าที่ของภาคส่วนต่างๆ

ข่าวผลสำรวจ Friday November 25, 2011 09:58 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนพึงพอใจทหารมากสุด ขณะที่พึงพอใจ สส./นักการเมืองท้องถิ่นน้อยสุด และ 50% เชื่อปีหน้าจะเกิดวิกฤตมหาอุทกภัยอีก

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “บทสรุปน้ำท่วมกับการทำหน้าที่ของภาคส่วนต่างๆ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ทั้งผู้ประสบภัยและไม่ประสบภัย จำนวน 1,087 คน ระหว่างวันที่ 22 — 24 พ.ย. ที่ผ่านมา พบว่า

ประชาชนร้อยละ 72.6 มองว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตมหาอุทกภัยในครั้งนี้เกิดจากสภาพแวดล้อม/ธรรมชาติที่ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปกติ รองลงมาร้อยละ 58.0 มองว่ามีสาเหตุมาจาก คนการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ไม่มีศักยภาพ บริหารจัดการผิดพลาด และร้อยละ 55.6 มองว่ามีสาเหตุมาจาก ระบบชลประทานของประเทศที่มีศักยภาพจำกัดและไม่ได้สร้างมารองรับกับวิกฤตภัยธรรมชาติขนาดใหญ่

นอกจากนี้ ประชาชนได้ประเมินความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่หรือการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในสังคมไทยที่ได้ร่วมกันกอบกู้วิกฤตครั้งนี้ โดย

กลุ่มบุคคลที่ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
ความพึงพอใจการทำหน้าที่/การมีส่วนร่วมของ ทหาร                  ร้อยละ 98.3
ความพึงพอใจการมีส่วนร่วม  ช่วยเหลือ  ให้กำลังใจ ของคนไทย ทุกคน   ร้อยละ 98.2
ความพึงพอใจการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือของ มูลนิธิและกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ  ร้อยละ  96.6

ส่วนกลุ่มบุคคลที่ประชาชนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
ความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของ  สส./นักการเมืองท้องถิ่น ในพื้นที่ประสบภัย ร้อยละ 51.8
ความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ ศปภ.                                ร้อยละ  64.3
ความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของ นายกรัฐมนตรี                       ร้อยละ 67.7

เมื่อสอบถามความคิดเห็นว่า ในปีหน้าจะเกิดวิกฤตมหาอุทกภัยแบบนี้ขึ้นอีกหรือไม่ ประชาชน ร้อยละ 50.0 เชื่อว่าจะเกิดขึ้นอีก ขณะที่ร้อยละ 25.5 เชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้น

ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการย้ายเมืองหลวง ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.4 ไม่เห็นด้วย โดยมีเพียงร้อยละ 27.8 เท่านั้นที่เห็นด้วย โดยประชาชนกลุ่มนี้เสนอ จังหวัดนครราชสีมา เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่มากที่สุด

สุดท้ายเมื่อถามว่า “ถ้าวันนี้มีการเลือกตั้ง ท่านจะสนับสนุน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี หรือไม่” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.0 ระบุว่าจะสนับสนุน ขณะที่ร้อยละ 24.5 ไม่สนับสนุน

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ที่พักอาศัยในปัจจุบันของผู้ตอบแบบสอบถาม ประสบภัยน้ำท่วม หรือไม่
ร้อยละ          33.0          ประสบภัยน้ำท่วม
ร้อยละ          67.0          ไม่ได้ประสบภัยน้ำท่วม

2. สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตมหาอุทกภัยในครั้งนี้   (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ร้อยละ          72.6          สภาพแวดล้อม/ธรรมชาติ (ที่ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปกติ)
ร้อยละ          58.0          คน/การบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  (ที่ไม่มีศักยภาพ บริหารจัดการผิดพลาด)
ร้อยละ          55.6          ระบบชลประทานของประเทศ (ที่มีศักยภาพจำกัดหรือไม่ได้สร้างมารองรับกับวิกฤตภัยธรรมชาติขนาดใหญ่)
ร้อยละ          21.7          อื่นๆ  คือ  เกมการเมือง  ความเห็นแก่ตัวของนักการเมือง ความเห็นแก่ตัวของชุมชนและคนในชุมชน

3. ความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่หรือการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ
การทำหน้าที่/การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ  ในสังคมไทย                                    ร้อยละ
                                                                         ไม่พอใจ        พอใจ
1.          การทำหน้าที่/การมีส่วนร่วมของ ทหาร  ในวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้น                1.7          98.3
2.          การมีส่วนร่วม  ช่วยเหลือ  ให้กำลังใจ ของคนไทยโดยรวม                   1.8          98.2
3.          การมีส่วนร่วม ช่วยเหลือของ มูลนิธิและกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ                   3.4          96.6
4.          การมีส่วนร่วมของ องค์กรภาคเอกชน (เช่น บริษัท ห้าง ร้าน ต่างๆ ) โดยรวม    7.5          92.5
5.          การทำหน้าที่/การมีส่วนร่วมของ  สื่อมวลชน  ในวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้น            8.7          91.3
6.          การมีส่วนร่วมของ  สถาบันการศึกษา และนักวิชาการ                       17.3          82.7
7.          การทำหน้าที่/การมีส่วนร่วมของ ตำรวจ  ในวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้น              19.8          80.2
8.          การทำหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จังหวัด/กทม.                   26.4          73.6
9.          การทำหน้าที่ของ นายกรัฐมนตรี ในวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้น                     32.3          67.7
10.          การทำหน้าที่ ศปภ. โดยรวม                                        35.7          64.3
11.          การทำหน้าที่ของ  สส./นักการเมืองท้องถิ่น ในพื้นที่ประสบภัย                48.2          51.8
12.          อื่นๆ  คือ สถานทูต องค์กรต่างประเทศ  กระทรวงต่างๆ กลุ่มชุมชนเข้มแข็ง     14.8          85.2

4. ความคิดเห็นว่า  ในปีหน้าจะเกิดวิกฤตมหาอุทกภัยแบบนี้ขึ้นอีกหรือไม่
เชื่อว่าจะเกิดขึ้นอีก                    ร้อยละ          50.0
เชื่อว่าจะไม่เกิดขึ้น                    ร้อยละ          25.5
ไม่แน่ใจ/ไม่รู้                        ร้อยละ          24.5

5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการย้ายเมืองหลวง
เห็นด้วย                              ร้อยละ          27.8     โดยกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มนี้เสนอ จังหวัดนครราชสีมา

เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่มากที่สุด รองลงมาคือ จังหวัด

ขอนแก่น และจังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ

ไม่เห็นด้วย                            ร้อยละ          60.4
ไม่แน่ใจ/ไม่รู้                          ร้อยละ          11.8

6. ถ้าวันนี้มีการเลือกตั้ง ท่านจะสนับสนุน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี  หรือไม่
สนับสนุน                       ร้อยละ          47.0
ไม่สนับสนุน                     ร้อยละ          24.5
ไม่แน่ใจ/ไม่รู้                   ร้อยละ          28.5

รายละเอียดในการสำรวจ

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  22 - 24 พฤศจิกายน 2554

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  25 พฤศจิกายน 2554

ข้อมูลประชากรศาสตร์

                                              จำนวน        ร้อยละ
เพศ
            ชาย                                568          52.3
            หญิง                                519          47.7
          รวม                                1,087         100.0

อายุ
            18 ปี - 25 ปี                        183          16.9
            26 ปี — 35 ปี                        276          25.4
            36 ปี — 45 ปี                        291          26.8
            46 ปีขึ้นไป                           337          30.9
          รวม                                1,087         100.0

การศึกษา
            ต่ำกว่าปริญญาตรี                       795          73.2
            ปริญญาตรี                            248          22.8
            สูงกว่าปริญญาตรี                        44           4.0
          รวม                                1,087         100.0
อาชีพ
            ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/ลูกจ้างรัฐบาล       136          12.5
            พนักงานบริษัทเอกชน                    216          19.9
            ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว            201          18.5
            รับจ้างทั่วไป                          183          16.8
            พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ            80          7.4
            นิสิต/นักศึกษา                          57           5.3
            เกษตรกร                            155          14.2
            อื่นๆ เช่น อาชีพอิสระ ว่างงาน             59           5.4
          รวม                                1,087         100.0

ที่อยู่ (ตามทะเบียนบ้าน)
          กรุงเทพมหานครและปริมณฑล                245         22.5
          ภาคกลาง                              183         16.8
          ภาคเหนือ                              190         17.5
          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                   288         26.5
          ภาคตะวันออก                            67          6.2
          ภาคใต้                                114         10.5
รวม                                          1,087        100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ