คนกรุงเทพฯ 54.1% พอใจการแก้ปัญหาน้ำท่วมของผู้ว่าฯ กทม. แต่ 59.7% ไม่เชื่อมั่นว่าจะรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในครั้งหน้าได้
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “คนกรุงเทพฯ คิดอย่างไร กับการแก้ปัญหาน้ำท่วมของผู้ว่าฯ กทม.” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,188 คน เมื่อวันที่ 25 - 28 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.1 พอใจกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมของผู้ว่าฯ กทม. ขณะที่ร้อยละ 45.9 ไม่พอใจ โดยเรื่องที่พอใจมากที่สุดคือ เรื่องความทุ่มเทในการทำงาน และการลงพื้นที่ (ร้อยละ 62.8) และเรื่องที่พอใจน้อยที่สุดคือ เรื่องการเตรียมความพร้อมในการรับมือ และความฉับไวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม (ร้อยละ 44.7)
ส่วนความเห็นต่อภาพรวมในวิธีการรับมือและการแก้ปัญหาน้ำท่วมของผู้ว่าฯ กทม. พบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.0 เห็นว่า ทำได้ค่อนข้างดีถึงดีมาก ขณะที่ร้อยละ 38.0 เห็นว่าทำได้ค่อนข้างแย่ถึงแย่มาก ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าหากเกิดวิกฤติน้ำท่วมในครั้งหน้า ผู้ว่าฯ กทม. จะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 59.7 ระบุว่าเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย และร้อยละ 40.3 ระบุว่าเชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
สำหรับเรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. ดำเนินการโดยเร่งด่วนให้คนกรุงเทพฯ หลังปัญหาวิกฤตน้ำท่วมอันดับแรกได้แก่ ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ประสบภัยให้ทั่วถึงโดยเร็ว ทั้งเรื่องเงิน และสภาพจิตใจ (ร้อยละ 37.7) รองลงมาคือ เก็บขยะ ทำความสะอาดให้กรุงเทพฯ (ร้อยละ 28.2) และวางแผนเตรียมรับมือและป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในครั้งหน้า เช่นขุดลอกคูคลองเพิ่มขึ้น ทำอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 12.3)
สุดท้ายเมื่อถามว่า “ถ้าวันนี้มีการเลือกตั้ง ท่านจะสนับสนุน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.3 ระบุว่าจะสนับสนุน ขณะที่ร้อยละ 29.6 ระบุว่าจะไม่สนับสนุน และร้อยละ 31.1 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
ประสบภัย ร้อยละ 43.3 ไม่ประสบภัย ร้อยละ 56.7 2. ความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของผู้ว่าฯ กทม. ในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ เรื่อง พอใจ(ร้อยละ) ไม่พอใจ(ร้อยละ) ความทุ่มเทในการทำงาน และการลงพื้นที่ 62.8 37.2 การให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ 60.9 39.1 ความชัดเจนในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ กทม. 52.4 47.6 การเจรจาทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 49.9 50.1 การเตรียมความพร้อมในการรับมือ และความฉับไวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม 44.7 55.3 เฉลี่ยรวม 54.1 45.9 3. ความคิดเห็นต่อภาพรวมในวิธีการรับมือและการแก้ปัญหาน้ำท่วมของผู้ว่าฯ กทม. ทำได้ค่อนข้างดีถึงดีมาก(โดยแบ่งเป็น ทำได้ค่อนข้างดีร้อยละ 55.9 และทำได้ดีมากร้อยละ 6.1) ร้อยละ 62.0 ทำได้ค่อนข้างแย่ถึงแย่มาก(โดยแบ่งเป็น ทำได้ค่อนข้างแย่ร้อยละ 29.5 และทำได้แย่มากร้อยละ 8.5) ร้อยละ 38.0 4. ความเชื่อมั่นต่อผู้ว่าฯ กทม. ในการรับมือกับปัญหาน้ำท่วมหากเกิดวิกฤติน้ำท่วมในครั้งหน้า เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 33.7 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 6.6) ร้อยละ 40.3 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย(โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 42.1 และไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 17.6) ร้อยละ 59.7 5. เรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. ดำเนินการโดยเร่งด่วนให้คนกรุงเทพฯ หลังปัญหาวิกฤตน้ำท่วม (5 อันดับแรก) คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ประสบภัยให้ทั่วถึงโดยเร็ว ทั้งเรื่องเงิน และสภาพจิตใจ ร้อยละ 37.7 เก็บขยะ ทำความสะอาดให้กรุงเทพฯ ร้อยละ 28.2 วางแผนเตรียมรับมือและป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในครั้งหน้า เช่นขุดลอกคูคลองเพิ่มขึ้น ทำอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.3 ซ่อมแซมถนนหนทาง รวมถึงฟื้นฟูสถานที่ประสบภัยน้ำท่วม เช่น วัด โรงเรียน ร้อยละ 8.4 ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีงานทำ ลดค่าครองชีพ แก้ปัญหาปากท้อง สินค้าราคาแพง ร้อยละ 7.6 6. ถ้าวันนี้มีการเลือกตั้ง ท่านจะสนับสนุน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่ สนับสนุน ร้อยละ 39.3 ไม่สนับสนุน ร้อยละ 29.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 31.1
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา จตุจักร ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางคอแหลม บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สาทร และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,188 คน เป็นชายร้อยละ 49.2 และหญิงร้อยละ 50.8
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25 - 28 พฤศจิกายน 2554 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 30 พฤศจิกายน 2554
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ
ชาย 585 49.2 หญิง 603 50.8 รวม 1,188 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 292 24.5 26 - 35 ปี 293 24.7 36 - 45 ปี 299 25.2 46 ปีขึ้นไป 304 25.6 รวม 1,188 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 770 64.8 ปริญญาตรี 365 30.7 สูงกว่าปริญญาตรี 53 4.5 รวม 1,188 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 111 9.3 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 319 26.9 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 358 30.1 รับจ้างทั่วไป 157 13.2 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 113 9.5 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 130 11.0 รวม 1,188 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--