วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อต้องการประเมินความพึงพอใจคุณภาพชีวิตของคน กทม. ทั้งสองระดับคือ คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล และคุณภาพชีวิตของประเทศ ตลอดจนความคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐบาลทักษิณต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต
1. คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล ประเมินความพึงพอใจทางด้านมาตรฐานการดำรงชีพ สุขภาพอนามัย ความสำเร็จในชีวิต ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ความมั่นคงในอนาคตและความมั่นคงทางด้านการเงิน
2. คุณภาพชีวิตของประเทศไทย ประเมินความพึงพอใจทางด้านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สภาพสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติ สภาพทางสังคม รัฐบาล ธุรกิจ และความมั่นคงของประเทศไทย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของ
กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และ ชั้นนอก จำนวน 50 เขต ดังนี้พระนคร ป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน บางรัก ยานนาวา สาทร บางคอแหลม ดุสิต บางซื่อ พญาไท ราชเทวี ห้วยขวาง คลองเตย จตุจักร ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ดินแดง วัฒนา พระโขนง ประเวศ บางเขน บางกะปิ ลาดพร้าว บึงกุ่ม บางพลัด ภาษีเจริญ จอมทอง ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง บางนา ทุ่งครุ บางแค วังทองหลาง คันนายาว สะพานสูง สายไหม มีนบุรี ดอนเมือง หนองจอก ลาดกระบัง ตลิ่งชัน หนองแขม บางขุนเทียน หลักสี่ คลองสามวา บางบอน ทวีวัฒนา
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขต สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,650 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ความพึงพอใจคุณภาพชีวิตของคน กทม."
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 7 - 15 มกราคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 กุมภาพันธ์ 2547
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของคน กทม.
บทนำ
รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต่างมุ่งพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเครื่องชี้วัดมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก ในการชี้วัดความเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่ อัตราการเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ดังเห็นได้จากภาพรวมเศรษฐกิจประเทศไทยในปี พ.ศ. 2546 พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.2 และมีแนวโน้มว่าจะมีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 6 - 8 ในปี พ.ศ. 2547
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะเป็นอัตราการขยายตัวที่น่าพอใจ แต่พบว่ามีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมไทยด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการกระจายรายได้ ความยากจน สิ่งแวดล้อม เป็นพิษ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น ตัวชี้วัดดังกล่าวจึงยังไม่เพียงพอสำหรับการวัดความอยู่ดีมีสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพชีวิตของคนในประเทศได้ ยกตัวอย่างเช่น ความเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น มาจากการบริโภค และการผลิตที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นการเพิ่มขยะ ของเสีย ตลอดจนมลพิษต่าง ๆ ทั้งทางอากาศ น้ำ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของประชาชนและสังคม ค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวไม่ได้นำพามาซึ่งคุณภาพชีวิตของคนในประเทศที่ดีขึ้น
คุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสิ่งที่รัฐต้องคำนึงถึงเช่นเดียวกับอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการมีตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำให้เราทราบถึงสภาพการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนสามารถใช้เป็นเครื่องเปรียบเทียบในช่วงเวลาต่าง ๆ กันได้
ดัชนีคุณภาพชีวิต (Wellbeing Index)
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตขึ้น เรียกว่า ดัชนีคุณภาพชีวิต (Wellbeing Index) ตามกรอบแนวคิดของหน่วยงาน ศึกษาดัชนีคุณภาพชีวิตของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบุคคลมีความพึงพอใจต่อแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตเพียงใด
ดัชนีคุณภาพชีวิต ประกอบด้วยดัชนีย่อย 2 ดัชนี ได้แก่
1) ดัชนีคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing Index) เป็นการพิจารณาระดับของความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตของบุคคล จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ สุขภาพอนามัย ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มาตรฐานการดำรงชีพ ความสำเร็จในชีวิต การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และความมั่นคงโดยรวมในอนาคต
2) ดัชนีคุณภาพชีวิตของประเทศ (National Wellbeing Index) เป็นการพิจารณาระดับของความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ความพึงพอใจทางด้านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สภาพทางสังคม รัฐบาล ธุรกิจ และความมั่นคงของประเทศ
ผลการสำรวจ
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,650 คน เป็นชายร้อยละ 49.94 เป็นหญิงร้อยละ 50.06
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 20.6 มีอายุระหว่าง 15 - 24 ปี
ร้อยละ 23.88 มีอายุระหว่าง 25 - 34 ปี
ร้อยละ 22.30 มีอายุระหว่าง 35 - 44 ปี
ร้อยละ 16.55 มีอายุระหว่าง 45 - 54 ปี
ร้อยละ 10.30 มีอายุระหว่าง 55 - 64 ปี
และร้อยละ 6.36 มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 53.27 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือร้อยละ 46.73 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ดัชนีคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing Index)
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลโดยรวมเฉลี่ย เท่ากับ 62.75 คะแนน (คะแนนเต็มเท่ากับ 100 คะแนน)
หากพิจารณาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 71.29 คะแนน รองลงมาได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย และ ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 68.53 และ 65.49 คะแนนตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าความพึงพอใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีค่าต่ำที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.99 คะแนน (ดังแสดงในตารางที่ 1)
นอกจากนี้จากการพิจารณาจำแนกตามเพศ พบว่า ประชาชนหญิงส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลน้อยกว่าประชาชนชาย โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ที่พบว่าประชาชนหญิงมีความพึงพอใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีค่าเฉลี่ยเพียง 57.54 คะแนน (ดังแสดงในตารางที่ 2)
จากการพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษา พบแบบแผนของความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล กล่าวคือ ผู้มีระดับการศึกษาสูงขึ้นจะมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ยกเว้นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่พบแบบแผนดังกล่าวกลับกัน (ดังแสดงในตารางที่ 3)
จากการพิจารณาจำแนกตามช่วงรายได้ พบว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท มีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลทุกด้านต่ำกว่าผู้มีรายได้กลุ่มอื่น นอกจากนี้ยังพบแบบแผนของความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล กล่าวคือ ผู้มีรายได้สูงขึ้นจะมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น (ดังแสดงในตารางที่ 4)
ตารางที่ 1 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล
คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing) ค่าเฉลี่ย *
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม 62.75
มาตรฐานการดำรงชีพ 61.39
สุขภาพอนามัย 68.53
ความสำเร็จในชีวิต 63.46
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น 71.29
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 58.99
การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 63.53
ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต 65.49
ความมั่นคงด้านการเงิน 61.39
* คะแนนเต็มเท่ากับ 100 คะแนน
ตารางที่ 2 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ
คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing) เพศ
ชาย หญิง
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม 62.75 62.75
มาตรฐานการดำรงชีพ 61.28 61.51
สุขภาพอนามัย 68.72 68.35
ความสำเร็จในชีวิต 63.45 63.47
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น 70.60 71.97
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน* 60.44 57.54
การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 63.59 63.47
ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต 65.89 65.10
ความมั่นคงด้านการเงิน 61.67 61.12
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตารางที่ 3 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล จำแนกตามระดับการศึกษา
คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing) ระดับการศึกษา
ต่ำกว่าหรือ มัธยมศึกษา ปริญญาตรี/
ประถมศึกษา /ปวช. /ปวส. สูงกว่าปริญญาตรี
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม * 60.72 60.55 65.19
มาตรฐานการดำรงชีพ * 58.38 59.53 63.93
สุขภาพอนามัย * 63.24 68.88 70.18
ความสำเร็จในชีวิต * 61.22 60.65 66.45
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น 70.54 71.08 71.71
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 60.54 59.08 58.35
การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน * 65.67 62.04 63.91
ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต * 61.73 64.67 67.49
ความมั่นคงด้านการเงิน * 55.72 59.40 64.99
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตารางที่ 4 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล จำแนกตามรายได้ครัวเรือน/เดือน
คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล รายได้ครัวเรือน/เดือน (บาท)
(Personal Wellbeing)
ฃ 10,000 10,001-30,000 30,001-50,000 > 50,000
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม * 57.86 62.80 65.98 68.21
มาตรฐานการดำรงชีพ * 56.07 61.20 65.84 66.87
สุขภาพอนามัย * 66.08 69.43 69.86 67.77
ความสำเร็จในชีวิต * 56.85 63.85 68.42 68.49
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น * 69.27 70.87 72.94 74.86
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 57.56 58.81 60.81 60.22
การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน * 62.20 62.92 66.15 64.66
ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต * 61.44 65.66 68.35 69.16
ความมั่นคงด้านการเงิน * 53.84 61.31 66.91 69.72
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ดัชนีคุณภาพชีวิตของประเทศ (National Wellbeing Index)
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศโดยรวมเฉลี่ย เท่ากับ 64.15 คะแนน
หากพิจารณาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในรัฐบาลของประเทศมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 65.99 คะแนน รองลงมาได้แก่ ด้านความมั่นคงของประเทศ และ ธุรกิจของประเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 65.12 และ 62.75 คะแนนตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าประชาชนมีความพึงพอใจต่อสภาพสังคมของประเทศน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.73 คะแนน และมีความพึงพอใจน้อยในอันดับถัดมาได้แก่คุณภาพชีวิตด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.91 คะแนน (ดังแสดงในตารางที่ 5)
นอกจากนี้จากการพิจารณาจำแนกตามเพศ พบว่า ประชาชนหญิงมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศน้อยกว่าประชาชนชายในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย (ดังแสดงในตารางที่ 6)
จากการพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ผู้มีระดับการศึกษาในระดับต่าง ๆ มีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศในด้านต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ยกเว้นด้านรัฐบาลของประเทศ ที่พบว่าผู้มีระดับการศึกษาสูงจะมีความพึงพอใจต่อรัฐบาลของประเทศต่ำกว่า (ดังแสดงในตารางที่ 7)
จากการพิจารณาจำแนกตามช่วงรายได้ พบว่าผู้ที่มีรายได้ในระดับต่าง ๆ มีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศในด้านต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน (ดังแสดงในตารางที่ 8)
ตารางที่ 5 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศ
คุณภาพชีวิตของประเทศ (National Wellbeing) ค่าเฉลี่ย
ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำรงชีพในประเทศไทย 64.15
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย 60.29
สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทย 58.91
สภาพทางสังคมของประเทศไทย 52.73
รัฐบาลของประเทศไทย 65.99
ธุรกิจของประเทศไทย 62.75
ความมั่นคงของประเทศไทย 65.12
ตารางที่ 6 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศ จำแนกตามเพศ
คุณภาพชีวิตของประเทศ (National Wellbeing) เพศ
ชาย หญิง
ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำรงชีพในประเทศไทย 64.37 63.93
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย * 61.41 59.18
สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทย 59.26 58.57
สภาพทางสังคมของประเทศไทย 53.08 52.38
รัฐบาลของประเทศไทย 66.33 65.64
ธุรกิจของประเทศไทย 63.31 62.18
ความมั่นคงของประเทศไทย 65.68 64.56
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตารางที่ 7 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศจำแนกตามระดับการศึกษา
คุณภาพชีวิตของประเทศ ระดับการศึกษา
(National Wellbeing) ต่ำกว่าหรือ มัธยมศึกษา ปริญญาตรี/
ประถมศึกษา /ปวช. /ปวส. สูงกว่าปริญญาตรี
ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำรงชีพในประเทศไทย 64.60 63.18 64.75
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย 59.60 60.50 60.38
สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทย 58.85 58.68 59.12
สภาพทางสังคมของประเทศไทย 53.03 52.65 52.68
รัฐบาลของประเทศไทย * 68.49 66.76 64.48
ธุรกิจของประเทศไทย 63.78 62.14 62.85
ความมั่นคงของประเทศไทย 64.46 65.57 65.01
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตารางที่ 8 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศ จำแนกตามรายได้ครัวเรือน/เดือน
คุณภาพชีวิตของประเทศ รายได้ครัวเรือน/เดือน (บาท)
(National Wellbeing)
ฃ 10,000 10,001-30,000 30,001-50,000 > 50,000
ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำรงชีพ
ในประเทศไทย 62.52 64.35 64.93 65.64
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย 60.91 59.71 59.93 61.90
สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ของประเทศไทย 57.83 59.09 60.73 57.32
สภาพทางสังคมของประเทศไทย 52.96 53.01 51.61 52.68
รัฐบาลของประเทศไทย 67.96 65.98 63.92 64.83
ธุรกิจของประเทศไทย 64.19 61.96 62.27 63.63
ความมั่นคงของประเทศไทย 66.37 65.15 64.42 63.02
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ความคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐบาลทักษิณถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต
ตารางที่ 9 นโยบายโดยรวมของรัฐบาลทักษิณ ทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ความคิดเห็น จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 927 56.18
ไม่เปลี่ยนแปลง 479 29.03
แย่ลง 66 4.00
ไม่มีความเห็น 178 10.79
รวม 1,650 100.00
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ว่านโยบายโดยรวมของรัฐบาลทักษิณ ทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร พบว่า กลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 56.18 ระบุว่าดีขึ้น ร้อยละ 29.03 ระบุว่าไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 4.00 ระบุว่าแย่ลง
บทส่งท้าย
ดัชนีคุณภาพชีวิต (Wellbeing Index) ที่ได้จากการสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของคน กทม. เป็นเสมือน "ปรอท" (Barometer) วัดคุณภาพชีวิตของคน กทม. ในด้านคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตของประเทศ ทำให้ทราบถึงสภาวการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาในอนาคตได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหรือแย่ลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งในการวัดพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มีมุมมองที่กว้างและลึกมากยิ่งขึ้น ซึ่งสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจะดำเนินการสำรวจ และ เป็นผู้วัด "ปรอท" คุณภาพชีวิตของคน กทม. อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นบริการข้อมูลเชิงวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อต้องการประเมินความพึงพอใจคุณภาพชีวิตของคน กทม. ทั้งสองระดับคือ คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล และคุณภาพชีวิตของประเทศ ตลอดจนความคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐบาลทักษิณต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต
1. คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล ประเมินความพึงพอใจทางด้านมาตรฐานการดำรงชีพ สุขภาพอนามัย ความสำเร็จในชีวิต ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ความมั่นคงในอนาคตและความมั่นคงทางด้านการเงิน
2. คุณภาพชีวิตของประเทศไทย ประเมินความพึงพอใจทางด้านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สภาพสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติ สภาพทางสังคม รัฐบาล ธุรกิจ และความมั่นคงของประเทศไทย
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของ
กรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และ ชั้นนอก จำนวน 50 เขต ดังนี้พระนคร ป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน บางรัก ยานนาวา สาทร บางคอแหลม ดุสิต บางซื่อ พญาไท ราชเทวี ห้วยขวาง คลองเตย จตุจักร ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ดินแดง วัฒนา พระโขนง ประเวศ บางเขน บางกะปิ ลาดพร้าว บึงกุ่ม บางพลัด ภาษีเจริญ จอมทอง ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง บางนา ทุ่งครุ บางแค วังทองหลาง คันนายาว สะพานสูง สายไหม มีนบุรี ดอนเมือง หนองจอก ลาดกระบัง ตลิ่งชัน หนองแขม บางขุนเทียน หลักสี่ คลองสามวา บางบอน ทวีวัฒนา
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขต สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,650 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ความพึงพอใจคุณภาพชีวิตของคน กทม."
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 7 - 15 มกราคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 กุมภาพันธ์ 2547
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของคน กทม.
บทนำ
รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต่างมุ่งพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยเครื่องชี้วัดมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก ในการชี้วัดความเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่ อัตราการเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ดังเห็นได้จากภาพรวมเศรษฐกิจประเทศไทยในปี พ.ศ. 2546 พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.2 และมีแนวโน้มว่าจะมีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 6 - 8 ในปี พ.ศ. 2547
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะเป็นอัตราการขยายตัวที่น่าพอใจ แต่พบว่ามีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมไทยด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการกระจายรายได้ ความยากจน สิ่งแวดล้อม เป็นพิษ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดังนั้น ตัวชี้วัดดังกล่าวจึงยังไม่เพียงพอสำหรับการวัดความอยู่ดีมีสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพชีวิตของคนในประเทศได้ ยกตัวอย่างเช่น ความเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น มาจากการบริโภค และการผลิตที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นการเพิ่มขยะ ของเสีย ตลอดจนมลพิษต่าง ๆ ทั้งทางอากาศ น้ำ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของประชาชนและสังคม ค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวไม่ได้นำพามาซึ่งคุณภาพชีวิตของคนในประเทศที่ดีขึ้น
คุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นสิ่งที่รัฐต้องคำนึงถึงเช่นเดียวกับอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการมีตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำให้เราทราบถึงสภาพการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนสามารถใช้เป็นเครื่องเปรียบเทียบในช่วงเวลาต่าง ๆ กันได้
ดัชนีคุณภาพชีวิต (Wellbeing Index)
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ทำการศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตขึ้น เรียกว่า ดัชนีคุณภาพชีวิต (Wellbeing Index) ตามกรอบแนวคิดของหน่วยงาน ศึกษาดัชนีคุณภาพชีวิตของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบุคคลมีความพึงพอใจต่อแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตเพียงใด
ดัชนีคุณภาพชีวิต ประกอบด้วยดัชนีย่อย 2 ดัชนี ได้แก่
1) ดัชนีคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing Index) เป็นการพิจารณาระดับของความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตของบุคคล จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ สุขภาพอนามัย ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มาตรฐานการดำรงชีพ ความสำเร็จในชีวิต การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และความมั่นคงโดยรวมในอนาคต
2) ดัชนีคุณภาพชีวิตของประเทศ (National Wellbeing Index) เป็นการพิจารณาระดับของความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ ความพึงพอใจทางด้านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สภาพทางสังคม รัฐบาล ธุรกิจ และความมั่นคงของประเทศ
ผลการสำรวจ
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,650 คน เป็นชายร้อยละ 49.94 เป็นหญิงร้อยละ 50.06
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 20.6 มีอายุระหว่าง 15 - 24 ปี
ร้อยละ 23.88 มีอายุระหว่าง 25 - 34 ปี
ร้อยละ 22.30 มีอายุระหว่าง 35 - 44 ปี
ร้อยละ 16.55 มีอายุระหว่าง 45 - 54 ปี
ร้อยละ 10.30 มีอายุระหว่าง 55 - 64 ปี
และร้อยละ 6.36 มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 53.27 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือร้อยละ 46.73 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ดัชนีคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing Index)
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลโดยรวมเฉลี่ย เท่ากับ 62.75 คะแนน (คะแนนเต็มเท่ากับ 100 คะแนน)
หากพิจารณาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 71.29 คะแนน รองลงมาได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย และ ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 68.53 และ 65.49 คะแนนตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าความพึงพอใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีค่าต่ำที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.99 คะแนน (ดังแสดงในตารางที่ 1)
นอกจากนี้จากการพิจารณาจำแนกตามเพศ พบว่า ประชาชนหญิงส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลน้อยกว่าประชาชนชาย โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ที่พบว่าประชาชนหญิงมีความพึงพอใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีค่าเฉลี่ยเพียง 57.54 คะแนน (ดังแสดงในตารางที่ 2)
จากการพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษา พบแบบแผนของความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล กล่าวคือ ผู้มีระดับการศึกษาสูงขึ้นจะมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ยกเว้นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่พบแบบแผนดังกล่าวกลับกัน (ดังแสดงในตารางที่ 3)
จากการพิจารณาจำแนกตามช่วงรายได้ พบว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท มีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลทุกด้านต่ำกว่าผู้มีรายได้กลุ่มอื่น นอกจากนี้ยังพบแบบแผนของความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล กล่าวคือ ผู้มีรายได้สูงขึ้นจะมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น (ดังแสดงในตารางที่ 4)
ตารางที่ 1 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล
คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing) ค่าเฉลี่ย *
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม 62.75
มาตรฐานการดำรงชีพ 61.39
สุขภาพอนามัย 68.53
ความสำเร็จในชีวิต 63.46
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น 71.29
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 58.99
การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 63.53
ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต 65.49
ความมั่นคงด้านการเงิน 61.39
* คะแนนเต็มเท่ากับ 100 คะแนน
ตารางที่ 2 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ
คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing) เพศ
ชาย หญิง
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม 62.75 62.75
มาตรฐานการดำรงชีพ 61.28 61.51
สุขภาพอนามัย 68.72 68.35
ความสำเร็จในชีวิต 63.45 63.47
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น 70.60 71.97
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน* 60.44 57.54
การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 63.59 63.47
ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต 65.89 65.10
ความมั่นคงด้านการเงิน 61.67 61.12
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตารางที่ 3 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล จำแนกตามระดับการศึกษา
คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล (Personal Wellbeing) ระดับการศึกษา
ต่ำกว่าหรือ มัธยมศึกษา ปริญญาตรี/
ประถมศึกษา /ปวช. /ปวส. สูงกว่าปริญญาตรี
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม * 60.72 60.55 65.19
มาตรฐานการดำรงชีพ * 58.38 59.53 63.93
สุขภาพอนามัย * 63.24 68.88 70.18
ความสำเร็จในชีวิต * 61.22 60.65 66.45
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น 70.54 71.08 71.71
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 60.54 59.08 58.35
การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน * 65.67 62.04 63.91
ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต * 61.73 64.67 67.49
ความมั่นคงด้านการเงิน * 55.72 59.40 64.99
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตารางที่ 4 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล จำแนกตามรายได้ครัวเรือน/เดือน
คุณภาพชีวิตส่วนบุคคล รายได้ครัวเรือน/เดือน (บาท)
(Personal Wellbeing)
ฃ 10,000 10,001-30,000 30,001-50,000 > 50,000
ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม * 57.86 62.80 65.98 68.21
มาตรฐานการดำรงชีพ * 56.07 61.20 65.84 66.87
สุขภาพอนามัย * 66.08 69.43 69.86 67.77
ความสำเร็จในชีวิต * 56.85 63.85 68.42 68.49
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น * 69.27 70.87 72.94 74.86
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 57.56 58.81 60.81 60.22
การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน * 62.20 62.92 66.15 64.66
ความมั่นคงโดยรวมในอนาคต * 61.44 65.66 68.35 69.16
ความมั่นคงด้านการเงิน * 53.84 61.31 66.91 69.72
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ดัชนีคุณภาพชีวิตของประเทศ (National Wellbeing Index)
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศโดยรวมเฉลี่ย เท่ากับ 64.15 คะแนน
หากพิจารณาคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในรัฐบาลของประเทศมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 65.99 คะแนน รองลงมาได้แก่ ด้านความมั่นคงของประเทศ และ ธุรกิจของประเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 65.12 และ 62.75 คะแนนตามลำดับ อย่างไรก็ตาม พบว่าประชาชนมีความพึงพอใจต่อสภาพสังคมของประเทศน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 52.73 คะแนน และมีความพึงพอใจน้อยในอันดับถัดมาได้แก่คุณภาพชีวิตด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.91 คะแนน (ดังแสดงในตารางที่ 5)
นอกจากนี้จากการพิจารณาจำแนกตามเพศ พบว่า ประชาชนหญิงมีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศน้อยกว่าประชาชนชายในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย (ดังแสดงในตารางที่ 6)
จากการพิจารณาจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ผู้มีระดับการศึกษาในระดับต่าง ๆ มีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศในด้านต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ยกเว้นด้านรัฐบาลของประเทศ ที่พบว่าผู้มีระดับการศึกษาสูงจะมีความพึงพอใจต่อรัฐบาลของประเทศต่ำกว่า (ดังแสดงในตารางที่ 7)
จากการพิจารณาจำแนกตามช่วงรายได้ พบว่าผู้ที่มีรายได้ในระดับต่าง ๆ มีความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศในด้านต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน (ดังแสดงในตารางที่ 8)
ตารางที่ 5 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศ
คุณภาพชีวิตของประเทศ (National Wellbeing) ค่าเฉลี่ย
ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำรงชีพในประเทศไทย 64.15
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย 60.29
สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทย 58.91
สภาพทางสังคมของประเทศไทย 52.73
รัฐบาลของประเทศไทย 65.99
ธุรกิจของประเทศไทย 62.75
ความมั่นคงของประเทศไทย 65.12
ตารางที่ 6 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศ จำแนกตามเพศ
คุณภาพชีวิตของประเทศ (National Wellbeing) เพศ
ชาย หญิง
ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำรงชีพในประเทศไทย 64.37 63.93
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย * 61.41 59.18
สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทย 59.26 58.57
สภาพทางสังคมของประเทศไทย 53.08 52.38
รัฐบาลของประเทศไทย 66.33 65.64
ธุรกิจของประเทศไทย 63.31 62.18
ความมั่นคงของประเทศไทย 65.68 64.56
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตารางที่ 7 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศจำแนกตามระดับการศึกษา
คุณภาพชีวิตของประเทศ ระดับการศึกษา
(National Wellbeing) ต่ำกว่าหรือ มัธยมศึกษา ปริญญาตรี/
ประถมศึกษา /ปวช. /ปวส. สูงกว่าปริญญาตรี
ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำรงชีพในประเทศไทย 64.60 63.18 64.75
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย 59.60 60.50 60.38
สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทย 58.85 58.68 59.12
สภาพทางสังคมของประเทศไทย 53.03 52.65 52.68
รัฐบาลของประเทศไทย * 68.49 66.76 64.48
ธุรกิจของประเทศไทย 63.78 62.14 62.85
ความมั่นคงของประเทศไทย 64.46 65.57 65.01
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตารางที่ 8 ความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของประเทศ จำแนกตามรายได้ครัวเรือน/เดือน
คุณภาพชีวิตของประเทศ รายได้ครัวเรือน/เดือน (บาท)
(National Wellbeing)
ฃ 10,000 10,001-30,000 30,001-50,000 > 50,000
ความพึงพอใจโดยรวมต่อการดำรงชีพ
ในประเทศไทย 62.52 64.35 64.93 65.64
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย 60.91 59.71 59.93 61.90
สภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ของประเทศไทย 57.83 59.09 60.73 57.32
สภาพทางสังคมของประเทศไทย 52.96 53.01 51.61 52.68
รัฐบาลของประเทศไทย 67.96 65.98 63.92 64.83
ธุรกิจของประเทศไทย 64.19 61.96 62.27 63.63
ความมั่นคงของประเทศไทย 66.37 65.15 64.42 63.02
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ความคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐบาลทักษิณถึงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต
ตารางที่ 9 นโยบายโดยรวมของรัฐบาลทักษิณ ทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ความคิดเห็น จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 927 56.18
ไม่เปลี่ยนแปลง 479 29.03
แย่ลง 66 4.00
ไม่มีความเห็น 178 10.79
รวม 1,650 100.00
จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ว่านโยบายโดยรวมของรัฐบาลทักษิณ ทำให้คุณภาพชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร พบว่า กลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 56.18 ระบุว่าดีขึ้น ร้อยละ 29.03 ระบุว่าไม่เปลี่ยนแปลง และร้อยละ 4.00 ระบุว่าแย่ลง
บทส่งท้าย
ดัชนีคุณภาพชีวิต (Wellbeing Index) ที่ได้จากการสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพชีวิตของคน กทม. เป็นเสมือน "ปรอท" (Barometer) วัดคุณภาพชีวิตของคน กทม. ในด้านคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตของประเทศ ทำให้ทราบถึงสภาวการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำไปใช้เปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาในอนาคตได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหรือแย่ลงมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งในการวัดพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มีมุมมองที่กว้างและลึกมากยิ่งขึ้น ซึ่งสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจะดำเนินการสำรวจ และ เป็นผู้วัด "ปรอท" คุณภาพชีวิตของคน กทม. อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นบริการข้อมูลเชิงวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-