เนื่องในวันที่ 9 ธันวาคมที่จะถึงนี้เป็นวันต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นสากล ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “สังคมไทยกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” ขึ้นโดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,161 คน เมื่อวันที่ 2 - 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนร้อยละ 90.4 เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของสังคมไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับค่อนข้างรุนแรงถึงรุนแรงมาก มีเพียงร้อยละ 9.6 ที่เห็นว่าไม่ค่อยรุนแรงถึงไม่รุนแรงเลย ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าตัวท่านเองคิดเห็นอย่างไรกับการคอร์รัปชั่นพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 69.0 เห็นว่าควรต่อต้าน ขณะที่ร้อยละ 24.4 เห็นว่าเฉยๆ และร้อยละ 6.6 เห็นว่ายอมรับได้
ส่วนความคิดเห็นว่าใครควรมีส่วนรับผิดชอบที่ทำให้สังคมไทยยังมีการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในปัจจุบันพบว่า อันดับแรกคือ นักการเมืองระดับชาติ (ร้อยละ 52.7) รองลงมาคือ รัฐบาล (ร้อยละ 47.7) นักการเมืองท้องถิ่น (ร้อยละ 43.6) และระบบข้าราชการ (ร้อยละ 39.9) ทั้งนี้เมื่อถามว่าสังคมไทยมีทัศนคติต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในปัจจุบันเปลี่ยนไปในทิศทางใดเมื่อเทียบกับในอดีต พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 45.5 ระบุว่ามีทัศนคติต่อต้านเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 40.6 มีทัศนคติต่อต้านเหมือนเดิม และร้อยละ 13.9 มีทัศนคติต่อต้านลดลง
สำหรับความเห็นต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นอย่างไรหลังจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำงานครบ 3 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 56.4 เห็นว่ายังมีปัญหาเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 21.9 เห็นว่ามีปัญหาเพิ่มขึ้น และร้อยละ 21.7 เห็นว่ามีปัญหาลดลง เมื่อถามต่อว่าท่านเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะสามารถแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในสังคมไทยให้ดีขึ้นได้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 69.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย ขณะที่ร้อยละ 30.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ด้านนักการเมืองไทยในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 31.8) รองลงมาคือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ร้อยละ 27.4) และนายชวน หลีกภัย (ร้อยละ 22.3) ขณะที่นักการเมืองไทยในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตน้อยที่สุดคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง (ร้อยละ 39.4)
รองลงมาคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ (ร้อยละ 31.3) และ นายโสภณ ซารัมย์ (ร้อยละ 9.9)
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
ค่อนข้างรุนแรงถึงรุนแรงมาก ร้อยละ 90.4 (โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างรุนแรงร้อยละ 50.7 และรุนแรงมากร้อยละ 39.7) ไม่ค่อยรุนแรงถึงไม่รุนแรงเลย ร้อยละ 9.6 (โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยรุนแรงร้อยละ 8.4 และไม่รุนแรงเลยร้อยละ 1.2) 2. ประชาชนคิดเห็นอย่างไรกับการคอร์รัปชั่นในปัจจุบัน ยอมรับได้ ร้อยละ 6.6 เฉยๆ ร้อยละ 24.4 ต่อต้าน ร้อยละ 69.0 3. ความคิดเห็นว่าใครควรมีส่วนรับผิดชอบที่ทำให้สังคมไทยยังมีการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ในปัจจุบัน (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) นักการเมืองระดับชาติ (สส. สว.) ร้อยละ 52.7 รัฐบาล ร้อยละ 47.7 นักการเมืองท้องถิ่น (อบต. อบจ. สก. สข.) ร้อยละ 43.6 ระบบข้าราชการ ร้อยละ 39.9 ตำรวจ ร้อยละ 22.3 ภาคเอกชน (นักธุรกิจ พ่อค้า บริษัท ห้างร้าน) ร้อยละ 22.0 ตัวเอง ร้อยละ 18.5 สถาบันการศึกษา ร้อยละ 13.6 4. ทัศนคติต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของสังคมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนไปในทิศทางใดเมื่อเทียบกับในอดีต มีทัศนคติต่อต้านเพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.5 มีทัศนคติต่อต้านเหมือนเดิม ร้อยละ 40.6 มีทัศนคติต่อต้านลดลง ร้อยละ 13.9 5. ความเห็นต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นอย่างไรหลังจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำงานครบ 3 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ มีปัญหาลดลง ร้อยละ 21.7 มีปัญหาเหมือนเดิม ร้อยละ 56.4 มีปัญหาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.9 6. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในการแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นในสังคมไทยให้มีภาพลักษณ์ดีขึ้น (ปัจจุบันไทยติด อันดับโลกเรื่องการทุจริต ปี 54 โดยอยู่อันดับ 80 จาก 183 ประเทศทั่วโลก) เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างมากร้อยละ 24.7 และเชื่อมั่นมากที่สุดร้อยละ 6.1) ร้อยละ 30.8 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย (โดยแบ่งเป็นเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยร้อยละ 38.1 และไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 31.1) ร้อยละ 69.2 7. นักการเมืองไทยในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด (3 อันดับแรก) คือ(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 31.8 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้อยละ 27.4 นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 22.3 8. นักการเมืองไทยในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตน้อยที่สุด (3 อันดับแรก) คือ(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ร้อยละ 39.4 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ร้อยละ 31.3 นายโสภณ ซารัมย์ ร้อยละ 9.9
รายละเอียดในการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 29 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง สะพานสูง สาทร และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,161 คน เป็นชายร้อยละ 50.1 และหญิงร้อยละ 49.9
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 2 - 6 ธันวาคม 2554 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 8 ธันวาคม 2554
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ
ชาย 582 50.1 หญิง 579 49.9 รวม 1,161 100.0 อายุ 18 - 25 ปี 291 25.1 26 - 35 ปี 313 26.9 36 - 45 ปี 281 24.2 46 ปีขึ้นไป 276 23.8 รวม 1,161 100.0
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 657 56.6 ปริญญาตรี 433 37.3 สูงกว่าปริญญาตรี 71 6.1 รวม 1,161 100.0 อาชีพ ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 134 11.5 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน 369 31.8 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 276 23.8 รับจ้างทั่วไป 161 13.9 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 77 6.6 อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น 144 12.4 รวม 1,161 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--