กรุงเทพโพลล์: "คนกรุงเทพฯ กับเทศกาลปีใหม่หลังน้ำลด”

ข่าวผลสำรวจ Wednesday December 21, 2011 09:08 —กรุงเทพโพลล์

คนกรุงเกือบครึ่งใช้งบประมาณจัดงานปีใหม่น้อยลง และจะนับถอยหลังปีใหม่ที่บ้านตัวเอง

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,188 คน พบว่า ประชาชนชน ร้อยละ 68.1 รู้สึกเฉยๆ กับเทศกาลปีใหม่ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่วัน (โดยให้เหตุผลว่า เหมือนเดิมทุกๆ ปี ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น เศรษฐกิจไม่ค่อยดี และปีนี้น้ำท่วม) ขณะที่ร้อยละ 23.5 รู้สึกตื่นเต้น ยินดี และ ร้อยละ 8.4 รู้สึกแย่ โดยกิจกรรมที่ตั้งใจว่าจะทำในวันหยุดยาวช่วงเทศกาลปีใหม่ 2555 คือ ทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม ร้อยละ 26.6 รองลงมาคือ จัดกิจกรรมอยู่ที่บ้าน ร้อยละ 25.5 และเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง ร้อยละ 17.4 มีเพียงร้อยละ 11.1 ที่ระบุว่าจะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด

ทั้งนี้คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 47.3 ระบุว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อกิจกรรมที่ตั้งใจว่าจะทำในช่วงปีใหม่ (โดยระบุว่า ทำให้ต้องทำกิจกรรมที่ใช้งบประมาณน้อยลง ทำให้ต้องยกเลิกหรืองดกิจกรรมช่วงปีใหม่ และทำให้ต้องเปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น) ในขณะที่ ร้อยละ 52.7 ระบุว่าไม่ส่งผลกระทบ

สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วพบว่าร้อยละ 47.0 ใช้น้อยกว่า ประหยัดกว่าปีที่แล้ว รองลงมาร้อยละ 35.8 ใช้พอๆ กับปีที่แล้ว และร้อยละ 17.2 ใช้มากกว่าปีที่แล้ว โดยระบุว่าสถานที่ที่ตั้งใจจะไปนับถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่ 2555 มากที่สุดคือ ที่บ้านตัวเองและบ้านญาติในกรุงเทพ ฯ ร้อยละ 55.1 รองลงมาคือบ้านที่ต่างจังหวัด ร้อยละ 16.1 และเซ็ลทรัลเวิลด์ ร้อยละ 5.4

ส่วนเรื่องที่เป็นห่วงและกังวลมากที่สุดในปีหน้าสำหรับประเทศไทย คือ เรื่องความแตกแยก ความวุ่นวายทางการเมือง ร้อยละ 36.8 รองลงมาคือ เรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ร้อยละ 31.3 และเรื่องภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง ร้อยละ 19.5

ส่วนพรปีใหม่ที่อยากขอให้ตัวเองมากที่สุดในปีใหม่นี้คือ ขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ไข้ร้อยละ 33.9 รองลงมาคือ ขอให้มีชีวิตที่มีความสุข ร้อยละ 13.6 และขอให้ร่ำรวยเงินทอง ร้อยละ 11.1

ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. เมื่อถามถึงความรู้สึกที่มีต่อเทศกาลปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ พบว่า
          - รู้สึกตื่นเต้น ยินดี                          ร้อยละ           23.5

(โดยให้เหตุผลว่า จะได้เจออะไรใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ดีใจที่เปลี่ยน พ.ศ.ใหม่ เป็นต้น)

          - รู้สึกเฉยๆ                               ร้อยละ           68.1

(โดยให้เหตุผลว่าเหมือนเดิมทุกๆ ปี ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น เศรษฐกิจไม่ค่อยดี และปีนี้น้ำท่วม เป็นต้น)

          - รู้สึกแย่                                 ร้อยละ            8.4

(โดยให้เหตุผลว่า ที่ทำงานไม่หยุด ไม่ได้เที่ยวตามที่ตั้งใจไว้ ต้องซ่อมบ้านหลังน้ำท่วม เป็นต้น)

2. กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันหยุดยาวช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ คือ
          - ทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม                                                  ร้อยละ 26.6
          - จัดกิจกรรมที่บ้าน                                                               ร้อยละ 25.5
          - กลับภูมิลำเนาของตนเอง                                                         ร้อยละ 17.4
          - เลี้ยงฉลองเทศกาลปีใหม่ / เคาท์ดาวน์อยู่ในกรุงเทพ ฯ                                  ร้อยละ 14.1
          - ไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด                                                          ร้อยละ 11.1
          - อื่นๆ อาทิ ไปงานการกุศลต่างๆ ขายของช่วงเทศกาลปีใหม่ ฯลฯ                            ร้อยละ 5.3

3. เมื่อถามถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นว่าส่งผลกระทบต่อกิจกรรมที่ตั้งใจว่าจะทำในช่วงปีใหม่หรือไม่  พบว่า
          - ไม่ส่งผลกระทบ                                        ร้อยละ          52.7
          - ส่งผลกระทบ                                          ร้อยละ          47.3

โดยระบุว่า

                    ทำให้ต้องทำกิจกรรมที่ใช้งบประมาณน้อยลง                    ร้อยละ  26.7
                    ทำให้ต้องยกเลิก /งด กิจกรรมช่วงปีใหม่                     ร้อยละ  11.8
                    ทำให้ต้องเปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยว                           ร้อยละ   4.5
                    อื่นๆ อาทิ ทำให้ไม่ได้หยุดปีใหม่ การเดินทางลำบาก ฯลฯ         ร้อยละ   4.3

4. เมื่อถามถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า
          - ใช้น้อย / ประหยัดกว่าปีที่แล้ว                     ร้อยละ 47.0
          - ใช้พอๆ กับปีที่แล้ว                              ร้อยละ 35.8
          - ใช้มากกว่าปีที่แล้ว                              ร้อยละ 17.2

5. สถานที่ที่ตั้งใจจะไปนับถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่ 2555 มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
          - บ้านตัวเอง และบ้านญาติในกรุงเทพ ฯ                                    ร้อยละ 55.1
          - บ้านที่ต่างจังหวัด                                                    ร้อยละ 16.1
          - เซ็ลทรัลเวิลด์                                                      ร้อยละ 5.4
          - จังหวัดทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน                    ร้อยละ 3.8
          - สวดมนต์ข้ามคืนตามวัดต่างๆ                                            ร้อยละ 3.4

6. ความเห็นต่อเรื่องที่เป็นห่วงและกังวลมากที่สุดในปีหน้า สำหรับประเทศไทย คือ
          - เรื่องความแตกแยก / ความวุ่นวายทางการเมือง                            ร้อยละ 36.8
          - เรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน                                       ร้อยละ 31.3
          - เรื่องภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง                                       ร้อยละ 19.5
          - เรื่องปัญหาสังคม อาชญากรรม ยาเสพติด                                  ร้อยละ 10.2
          - เรื่องโรคระบาด                                                    ร้อยละ 2.2

7. พรปีใหม่ที่อยากขอให้ตัวเองมากที่สุดในปีใหม่นี้ 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
          - ขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่ไข้                               ร้อยละ 33.9
          - ขอให้มีชีวิตที่มีความสุข                                                ร้อยละ 13.6
          - ขอให้ร่ำรวยเงินทอง                                                 ร้อยละ 11.1
          - ขอให้คนในครอบครัว ปลอดภัย และมีความสุข                               ร้อยละ 5.3
          - ขอให้ทำมาค้าขึ้น ค้าขายดี                                             ร้อยละ 4.6

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเทศปีใหม่หลังน้ำลด ในเรื่องอารมณ์ความรู้สึก กิจกรรมต่างๆ ที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตลอดจนเรื่องที่เป็นห่วง กังวลในปีหน้า และพรที่อยากขอให้ตัวเอง เป็นต้น เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จำนวนทั้งสิ้น 30 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทร และหนองจอก จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,188 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.7 และเพศหญิงร้อยละ 50.3

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  9 - 12 ธันวาคม 2554

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  21 ธันวาคม 2554

ข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง

จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ

          ชาย                                     591          49.7
          หญิง                                     597          50.3
          รวม                                   1,188         100.0

อายุ
          18 - 25 ปี                              295           24.8
          26 - 35 ปี                              323           27.2
          36 - 45 ปี                              286           24.1
          46 ปีขึ้นไป                               284           23.9
          รวม                                  1,188          100.0

การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                           820           69.0
          ปริญญาตรี                                334           28.1
          สูงกว่าปริญญาตรี                            34            2.9
          รวม                                  1,188          100.0

อาชีพ
          ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ              114            9.6
          พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน               337           28.4
          ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว                333           28.0
          รับจ้างทั่วไป                              182           15.3
          พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ                   100            8.4
          อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น   122           10.3
          รวม                                  1,188          100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ