วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรของรัฐบาล ในประเด็นดังนี้
- ความคุ้มค่าของการใช้เงิน 700,000 ล้านบาทในการแก้ไขปัญหาการจราจร
- ความมั่นใจเรื่องระยะเวลา 6 ปี ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดิน ให้เห็นเป็นรูปธรรม
- ความคิดเห็นเรื่องผู้ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดิน
- ผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากปัญหาการจราจร
- ความคิดเห็นต่อระดับการแก้ไขปัญหาจราจร จากโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล(รถไฟฟ้าใต้ดิน) ที่กำลังจะเปิดให้บริการประชาชนในวันที่ 13 เมษายนนี้ 2547
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างคนทำงานอาชีพต่าง ๆ ตามสถานที่ทำงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน และบริเวณหน้าศูนย์การค้า อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ทำงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 753 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง " ความคิดเห็นของคนกรุงเทพต่อนโยบายการแก้ไขปัญหาจราจรของรัฐบาล "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 26 กุมภาพันธ์ 2547
ผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม จากคนทำงานอาชีพต่าง ๆ ตามสถานที่ทำงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน และบริเวณหน้าศูนย์การค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 753 คน ร้อยละ 50.3 เป็นชาย ร้อยละ 49.7 เป็นหญิง
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 21.2 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี
ร้อยละ 43.2 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 28.0 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี
และร้อยละ 7.6 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 12.0 ประถมศึกษา
ร้อยละ 15.7 มัธยมศึกษา
ร้อยละ 7.3 ระดับปวช.
ร้อยละ 8.8 ระดับปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 49.3 ระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.0 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
ร้อยละ 34.3 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 21.6 ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.3 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.6
รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.4 รับราชการ และร้อยละ 4.8 อาชีพอื่น ๆ
2. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ กับนโยบายของรัฐบาลที่จะขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดินให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจราจร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 89.0ระบุว่าเห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 7.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.0 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับคำถาม คิดว่าคุ้มหรือไม่กับการทุ่มเงินกว่า 700,000 ล้านบาท เพื่อใช้แก้ปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่
ร้อยละ 58.7 ระบุว่าคุ้ม
ร้อยละ 27.8 ระบุว่าไม่คุ้ม
และร้อยละ 13.5 ระบุว่าไม่มีความเห็น
4. ส่วนคำถาม มั่นใจหรือไม่ว่าภายใน 6 ปี ประชาชนจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในการสร้างรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดิน ที่ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจร
กลุ่มตัวอย่างระบุใกล้เคียงกัน คือ
ร้อยละ 46.3 ระบุว่ามั่นใจ
ร้อยละ 45.9 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 7.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น
5. เมื่อถามว่านโยบายนี้ รัฐบาลทำเพื่อใคร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่
ร้อยละ 70.3 ระบุว่าเพื่อประชาชน
ร้อยละ 20.7 ระบุว่าเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
และมีเพียงร้อยละ 6.2 ระบุว่าเพื่อประชาชนและเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
6. สำหรับคำถามมั่นใจหรือไม่ว่า โครงการดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 47.5 ระบุว่ามั่นใจ
ร้อยละ 42.8 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 9.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น
7. ส่วนคำถาม คิดว่าปัญหาการจราจรในปัจจุบันกระทบต่อตัวท่านด้านใดมากที่สุด
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.5 ระบุว่าทำให้เสียเวลาการเดินทางมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 17.0 ระบุว่าทำให้มีปัญหาทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เช่นความเครียด
ร้อยละ 12.2 ระบุว่าทำให้เสียสุขภาพอามัย
ร้อยละ 6.8 ระบุว่าทำให้เปลื้องค่าใช้จ่าย
และร้อยละ 6.2 ระบุว่าทำให้มีปัญหาการทำงาน เช่น เข้าทำงานไม่ทัน ตามลำดับ
8. คำถามคิดว่า โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล(รถไฟฟ้าใต้ดิน) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการประชาชนในวันที่ 13 เมษายน 2547 นี้ จะแก้ไขปัญหาจราจรได้มากน้อยแค่ไหน
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.1 ระบุว่ามาก
ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.9 ระบุว่าปานกลาง
ร้อยละ 18.6 ระบุว่าน้อย
และร้อยละ 5.4 ระบุว่าไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 379 50.3
หญิง 374 49.7
อายุ :
18 - 25 ปี 160 21.2
26 - 35 ปี 325 43.2
36 - 45 ปี 211 28.0
45 ปีขึ้นไป 57 7.6
การศึกษา:
ประถมศึกษา 90 12.0
มัธยมศึกษา 118 15.7
ปวช. 55 7.3
ปวส./อนุปริญญา 66 8.8
ปริญญาตรี 371 49.3
สูงกว่าปริญญาตรี 53 7.0
อาชีพ :
พนักงานบริษัทเอกชน 258 34.3
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 163 21.6
รับจ้างทั่วไป 130 17.3
รัฐวิสาหกิจ 95 12.6
รับราชการ 71 9.4
อื่น ๆ 36 4.8
ตารางที่ 2 ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับ นโยบายของรัฐบาลที่จะขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดินให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจราจร
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 670 89.0
ไม่เห็นด้วย 53 7.0
ไม่มีความเห็น 30 4.0
ตารางที่ 3 ท่านคิดว่า คุ้มหรือไม่กับการทุ่มเงินกว่า 700,000 ล้านบาท เพื่อใช้แก้ปัญหาจราจรในเขต กทม. - ปริมณฑล
จำนวน ร้อยละ
คุ้ม 442 58.7
ไม่คุ้ม 209 27.8
ไม่มีความเห็น 102 13.5
ตารางที่ 4 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่า ภายใน 6 ปี ประชาชนจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในการสร้างรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดินที่ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจร
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 349 46.3
ไม่มั่นใจ 346 45.9
ไม่มีความเห็น 58 7.7
ตารางที่ 5 ท่านคิดว่า นโยบายนี้รัฐบาลทำเพื่อใคร
จำนวน ร้อยละ
เพื่อประชาชน 529 70.3
เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง 156 20.7
เพื่อประชาชนและเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง 47 6.2
อื่น ๆ 21 2.8
ตารางที่ 6 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่า โครงการดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 358 47.5
ไม่มั่นใจ 322 42.8
ไม่มีความเห็น 73 9.7
ตารางที่ 7 ท่านคิดว่าปัญหาการจราจรในปัจจุบันกระทบต่อตัวท่านด้านใดมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ทำให้เสียเวลาการเดินทาง 388 51.5
ทำให้มีปัญหาทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เช่นความเครียด 128 17.0
ทำให้เสียสุขภาพอนามัย 92 12.2
ทำให้เปลื้องค่าใช้จ่าย 51 6.8
ทำให้มีปัญหาการทำงาน เช่น เข้าทำงานไม่ทัน 47 6.2
อื่น ๆ 47 6.2
ตารางที่ 8 ท่านคิดว่า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการประชาชนในวันที่ 13 เมษายน 2547 นี้ จะแก้ไขปัญหาจราจรได้มากน้อยแค่ไหน
จำนวน ร้อยละ
มาก 151 20.1
ปานกลาง 421 55.9
น้อย 140 18.6
ไม่มีความเห็น 41 5.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรของรัฐบาล ในประเด็นดังนี้
- ความคุ้มค่าของการใช้เงิน 700,000 ล้านบาทในการแก้ไขปัญหาการจราจร
- ความมั่นใจเรื่องระยะเวลา 6 ปี ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดิน ให้เห็นเป็นรูปธรรม
- ความคิดเห็นเรื่องผู้ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดิน
- ผลกระทบที่ประชาชนได้รับจากปัญหาการจราจร
- ความคิดเห็นต่อระดับการแก้ไขปัญหาจราจร จากโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล(รถไฟฟ้าใต้ดิน) ที่กำลังจะเปิดให้บริการประชาชนในวันที่ 13 เมษายนนี้ 2547
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างคนทำงานอาชีพต่าง ๆ ตามสถานที่ทำงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน และบริเวณหน้าศูนย์การค้า อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ทำงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 753 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง " ความคิดเห็นของคนกรุงเทพต่อนโยบายการแก้ไขปัญหาจราจรของรัฐบาล "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 26 กุมภาพันธ์ 2547
ผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม จากคนทำงานอาชีพต่าง ๆ ตามสถานที่ทำงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน และบริเวณหน้าศูนย์การค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 753 คน ร้อยละ 50.3 เป็นชาย ร้อยละ 49.7 เป็นหญิง
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 21.2 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี
ร้อยละ 43.2 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 28.0 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี
และร้อยละ 7.6 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 12.0 ประถมศึกษา
ร้อยละ 15.7 มัธยมศึกษา
ร้อยละ 7.3 ระดับปวช.
ร้อยละ 8.8 ระดับปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 49.3 ระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 7.0 สูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
ร้อยละ 34.3 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 21.6 ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.3 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.6
รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.4 รับราชการ และร้อยละ 4.8 อาชีพอื่น ๆ
2. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ กับนโยบายของรัฐบาลที่จะขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดินให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจราจร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 89.0ระบุว่าเห็นด้วย มีเพียงร้อยละ 7.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.0 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับคำถาม คิดว่าคุ้มหรือไม่กับการทุ่มเงินกว่า 700,000 ล้านบาท เพื่อใช้แก้ปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่
ร้อยละ 58.7 ระบุว่าคุ้ม
ร้อยละ 27.8 ระบุว่าไม่คุ้ม
และร้อยละ 13.5 ระบุว่าไม่มีความเห็น
4. ส่วนคำถาม มั่นใจหรือไม่ว่าภายใน 6 ปี ประชาชนจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในการสร้างรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดิน ที่ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจร
กลุ่มตัวอย่างระบุใกล้เคียงกัน คือ
ร้อยละ 46.3 ระบุว่ามั่นใจ
ร้อยละ 45.9 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 7.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น
5. เมื่อถามว่านโยบายนี้ รัฐบาลทำเพื่อใคร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่
ร้อยละ 70.3 ระบุว่าเพื่อประชาชน
ร้อยละ 20.7 ระบุว่าเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
และมีเพียงร้อยละ 6.2 ระบุว่าเพื่อประชาชนและเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
6. สำหรับคำถามมั่นใจหรือไม่ว่า โครงการดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 47.5 ระบุว่ามั่นใจ
ร้อยละ 42.8 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 9.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น
7. ส่วนคำถาม คิดว่าปัญหาการจราจรในปัจจุบันกระทบต่อตัวท่านด้านใดมากที่สุด
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.5 ระบุว่าทำให้เสียเวลาการเดินทางมากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 17.0 ระบุว่าทำให้มีปัญหาทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เช่นความเครียด
ร้อยละ 12.2 ระบุว่าทำให้เสียสุขภาพอามัย
ร้อยละ 6.8 ระบุว่าทำให้เปลื้องค่าใช้จ่าย
และร้อยละ 6.2 ระบุว่าทำให้มีปัญหาการทำงาน เช่น เข้าทำงานไม่ทัน ตามลำดับ
8. คำถามคิดว่า โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล(รถไฟฟ้าใต้ดิน) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการประชาชนในวันที่ 13 เมษายน 2547 นี้ จะแก้ไขปัญหาจราจรได้มากน้อยแค่ไหน
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.1 ระบุว่ามาก
ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.9 ระบุว่าปานกลาง
ร้อยละ 18.6 ระบุว่าน้อย
และร้อยละ 5.4 ระบุว่าไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 379 50.3
หญิง 374 49.7
อายุ :
18 - 25 ปี 160 21.2
26 - 35 ปี 325 43.2
36 - 45 ปี 211 28.0
45 ปีขึ้นไป 57 7.6
การศึกษา:
ประถมศึกษา 90 12.0
มัธยมศึกษา 118 15.7
ปวช. 55 7.3
ปวส./อนุปริญญา 66 8.8
ปริญญาตรี 371 49.3
สูงกว่าปริญญาตรี 53 7.0
อาชีพ :
พนักงานบริษัทเอกชน 258 34.3
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 163 21.6
รับจ้างทั่วไป 130 17.3
รัฐวิสาหกิจ 95 12.6
รับราชการ 71 9.4
อื่น ๆ 36 4.8
ตารางที่ 2 ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับ นโยบายของรัฐบาลที่จะขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดินให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจราจร
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 670 89.0
ไม่เห็นด้วย 53 7.0
ไม่มีความเห็น 30 4.0
ตารางที่ 3 ท่านคิดว่า คุ้มหรือไม่กับการทุ่มเงินกว่า 700,000 ล้านบาท เพื่อใช้แก้ปัญหาจราจรในเขต กทม. - ปริมณฑล
จำนวน ร้อยละ
คุ้ม 442 58.7
ไม่คุ้ม 209 27.8
ไม่มีความเห็น 102 13.5
ตารางที่ 4 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่า ภายใน 6 ปี ประชาชนจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในการสร้างรถไฟฟ้าบนดิน - ใต้ดินที่ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจร
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 349 46.3
ไม่มั่นใจ 346 45.9
ไม่มีความเห็น 58 7.7
ตารางที่ 5 ท่านคิดว่า นโยบายนี้รัฐบาลทำเพื่อใคร
จำนวน ร้อยละ
เพื่อประชาชน 529 70.3
เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง 156 20.7
เพื่อประชาชนและเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง 47 6.2
อื่น ๆ 21 2.8
ตารางที่ 6 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่า โครงการดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาการจราจรได้
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 358 47.5
ไม่มั่นใจ 322 42.8
ไม่มีความเห็น 73 9.7
ตารางที่ 7 ท่านคิดว่าปัญหาการจราจรในปัจจุบันกระทบต่อตัวท่านด้านใดมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ทำให้เสียเวลาการเดินทาง 388 51.5
ทำให้มีปัญหาทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เช่นความเครียด 128 17.0
ทำให้เสียสุขภาพอนามัย 92 12.2
ทำให้เปลื้องค่าใช้จ่าย 51 6.8
ทำให้มีปัญหาการทำงาน เช่น เข้าทำงานไม่ทัน 47 6.2
อื่น ๆ 47 6.2
ตารางที่ 8 ท่านคิดว่า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการประชาชนในวันที่ 13 เมษายน 2547 นี้ จะแก้ไขปัญหาจราจรได้มากน้อยแค่ไหน
จำนวน ร้อยละ
มาก 151 20.1
ปานกลาง 421 55.9
น้อย 140 18.6
ไม่มีความเห็น 41 5.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-