กรุงเทพโพลล์: “5 เดือนรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ กับนโยบายพลังงาน”

ข่าวผลสำรวจ Wednesday January 25, 2012 09:11 —กรุงเทพโพลล์

ผลโพลล์สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ เรื่อง “5 เดือนรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ กับนโยบายพลังงาน”

นักเศรษฐศาสตร์ 62.5% ประเมินผลงานด้านพลังงานของรัฐบาลพบอยู่ในระดับ “แย่ถึงแย่มาก” 80.6% เชื่อมีโอกาสมากที่การปรับ ราคาพลังงานรอบนี้จะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อระลอกใหม่

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 32 แห่ง จำนวน 72 คน เรื่อง “5 เดือนรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ กับนโยบายพลังงาน” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 17 — 24 ม.ค. ที่ผ่านมา พบว่า

นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 66.7 เห็นว่าตลาดน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปัจจุบันยังคงเป็นตลาดผู้ขายน้อยราย (oligopoly) แต่ก็มีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่น้อยคิดเป็นร้อยละ 22.2 เชื่อว่าเป็นตลาดผูกขาด(monopoly) ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดทฤษฎีทาง เศรษฐศาสตร์ที่ได้บัญญัติไว้ เมื่อสอบถามถึงความ เป็นธรรมในระบบการปรับราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปในปัจจุบันที่มีต่อผู้บริโภค นัก เศรษฐศาสตร์ร้อยละ 44.4 เห็นว่าไม่เป็นธรรม โดยให้เหตุผลที่สำคัญว่า ผู้บริโภคไม่ทราบที่มาที่ไปอย่างชัดเจนในการปรับขึ้นราคาน้ำมันแต่ละ ครั้ง อีกทั้งยังสังเกตเห็นว่าช่วงที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นก็จะขึ้นเร็วแต่หากปรับราคาลงก็จะปรับช้า หรือปรับขึ้นครั้งละ 60 สตางค์ต่อลิตรแต่ปรับลงแค่ 50 สตางค์ต่อลิตร ทำให้สามารถสรุปได้ว่าการบิดเบือนราคายังคงมีอยู่ ขณะที่ร้อยละ 23.6 เชื่อว่าระบบการปรับราคาดังกล่าวมีความเป็นธรรม

เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV เพื่อให้สอดคล้องกับกลไกตลาดและต้นทุนที่แท้จริง นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.7 ระบุว่า “เห็นด้วย” ในจำนวนนี้ร้อยละ 50.0 ยัง เห็นด้วยกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 54 ที่ให้ทยอยปรับขึ้นราคา ขายปลีกก๊าซ NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค. ถึง ธ.ค. 55 ขณะที่ร้อยละ 23.6 ไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 41.7 เชื่อว่านโยบายการปรับราคาก๊าซ NGV ของกระทรวงพลังงานดังกล่าวมุ่งสนองเป้าหมายเพื่อ ภาคธุรกิจเป็นหลัก รองลงมาร้อยละ 33.3 เชื่อว่ามุ่งให้เกิดความเป็นธรรมทั้งภาคธุรกิจกับผู้บริโภค

นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้มีการประเมินผลการดำเนินนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 62.5 เห็นว่ามีผลงานอยู่ในระดับแย่ถึงแย่มาก มีเพียงร้อยละ 13.9 เท่านั้นที่เห็นว่ามีผลงานอยู่ใน ระดับดี

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 80.6 เชื่อว่ามีโอกาสมากที่การปรับราคาพลังงาน (น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซ NGV และ LPG) จะ สร้างแรงกดดันเงินเฟ้อระลอกใหม่

(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)

1. ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปัจจุบันเป็นตลาดประเภทใด(จัดตามลักษณะการแข่งขัน)
ร้อยละ  0.0          ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competitive market) ซึ่งเป็นตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก
ร้อยละ 22.2          ตลาดผูกขาด (monopoly) ตลาดที่มีผู้ขายอยู่เพียงคนเดียว ทำให้ผู้ขายมีอิทธิพลเหนือราคาและปริมาณสินค้า

อย่างสมบูรณ์ในการที่จะเพิ่มหรือลดราคาและควบคุมจำนวนขายทั้งหมด (total supply) ได้ตามต้องการ

ร้อยละ 66.7          ตลาดผู้ขายน้อยราย (oligopoly) ตลาดประเภทนี้จะมีผู้ขายเพียงไม่กี่ราย และผู้ขายแต่ละรายจะขายสินค้า

เป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด ถ้าหากว่าผู้ขายรายใดเปลี่ยนราคาหรือนโยบายการผลิต

และการขายแล้วก็จะกระทบกระเทือนต่อผู้ผลิตรายอื่น ๆ

ร้อยละ  4.2          ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition) ตลาดประเภทนี้มีลักษณะที่สำคัญ คือ มีผู้ซื้อและผู้ขายเป็น

จำนวนมาก และทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีอิสระเต็มที่ในการที่จะวางนโยบายการขายและการซื้อของตนโดยไม่กระทบ

กระเทือนคนอื่น

ร้อยละ  6.9          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

2.  ระบบการปรับราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปในปัจจุบันเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่
ร้อยละ  23.6          เป็นธรรม   เพราะ  ราคามีการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับกลไกตลาดและต้นทุนที่แท้จริงก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริโภคน้ำมัน
ร้อยละ  44.4          ไม่เป็นธรรม  เพราะ

1. ผู้บริโภคไม่ทราบที่มาที่ไปอย่างชัดเจนในการปรับขึ้นราคาน้ำมันแต่ละครั้ง อีกทั้งยังสังเกตเห็นว่าช่วงที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นก็จะขึ้นเร็วแต่หากปรับราคาลงก็จะปรับช้า หรือปรับขึ้นครั้งละ 60 สตางค์ต่อลิตร แต่ปรับลงแค่ 50 สตางค์ต่อลิตร ทำให้สามารถสรุปได้ว่าการบิดเบือนราคายังคงมีอยู่ แม้จะอ้างว่าปรับตามราคาน้ำมันตลาดโลก

2. ปัจจุบันราคาน้ำมันไม่ได้มีการเคลื่อนไหวเสรีอย่างแท้จริง เพราะ ภาครัฐยังอุดหนุนดีเซล มีการเก็บภาษีหลายประเภท เป็นต้น

3. ราคาน้ำมันปัจจุบันไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง การอิงราคาน้ำมันตามตลาดสิงคโปร์ก็ไม่มีตัวบ่งชี้ว่าถูกต้องหรือเป็นธรรมหรือไม่ ทำให้ผลประโยชน์ตกแก่คนบางกลุ่มโดยเฉพาะผู้ประกอบการน้ำมัน

ร้อยละ  32.0          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

3.  การเห็นด้วยเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV เพื่อให้สอดคล้องกับกลไกตลาดและต้นทุนที่แท้จริง(ตามที่ ปตท. และรัฐบาลกล่าวอ้าง)
ร้อยละ   66.7          เห็นด้วย

(ถ้าเห็นด้วย) ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 54 ที่ให้ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV เดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 ม.ค ถึง ธ.ค. 55

                              ร้อยละ   50.0          เห็นด้วย
                              ร้อยละ    6.9          ไม่เห็นด้วย
                              ร้อยละ    9.8          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
ร้อยละ   23.6          ไม่เห็นด้วย  เนื่องจาก

1. รัฐบาลเคยสนับให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ NGV แต่กลับมีการปรับเปลี่ยนนโยบายส่งผลต่อการลงทุน

2. รัฐบาลไม่สามารถอธิบายต้นทุนที่แท้จริงได้ประกอบกับไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติค่อนข้างมากต้นทุนจึงไม่น่าจะสูง เป็นเหตุทำให้มีความสงสัยและคำถามเกิดขึ้น

3. รัฐบาลสนองประโยชน์ให้ปตท. เป็นเหตุให้ประชาชนต้องเดือนร้อน ข้าวของแพง

ร้อยละ    9.7          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

4.  นโยบายการปรับราคาก๊าซ NGV ของกระทรวงพลังงาน  มุ่งสนองเป้าหมายใดเป็นหลัก
ร้อยละ          33.3         มุ่งให้เกิดความเป็นธรรมทั้งภาคธุรกิจ(ปตท.) กับผู้บริโภค
ร้อยละ          1.4          มุ่งสนองความต้องการของผู้บริโภค(ประชาชน) เป็นหลัก
ร้อยละ          41.7         มุ่งสนองภาคธุรกิจ (ปตท.) เป็นหลัก
ร้อยละ          23.6         ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

5.  การดำเนินนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา  มีผลงานอยู่ในระดับใด
ร้อยละ          0.0           ดีมาก
ร้อยละ          13.9          ดี
ร้อยละ          41.7          แย่
ร้อยละ          20.8          แย่มาก
ร้อยละ          23.6          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ

6.  มีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่การปรับราคาพลังงาน (น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซ NGV และ LPG) จะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อระลอกใหม่
ร้อยละ          80.6         มีโอกาสมาก
ร้อยละ          13.9         มีโอกาสน้อย
ร้อยละ          0.0          ไม่มีโอกาสเลย
ร้อยละ          5.5          ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
          หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้  เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                   นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน

2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 32 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคาร ทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัททริสเรตติ้ง คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วิธีการรวบรวมข้อมูล

รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :  17 — 24 มกราคม 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :  25 มกราคม 2555

ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง

                                        จำนวน          ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่
           หน่วยงานภาครัฐ                    26          36.1
           หน่วยงานภาคเอกชน                 28          38.9
           สถาบันการศึกษา                    18          25.0
          รวม                              72         100.0

เพศ
            ชาย                            38          52.8
            หญิง                            34          47.2
          รวม                              72         100.0

อายุ
            26 ปี — 35 ปี                    30          41.6
            36 ปี — 45 ปี                    21          29.2
            46 ปีขึ้นไป                       21          29.2
          รวม                              72         100.0

การศึกษา
             ปริญญาตรี                        2           2.8
             ปริญญาโท                       52          72.2
             ปริญญาเอก                      18          25.0
          รวม                              72         100.0

ประสบการณ์ทำงานรวม
              1-5  ปี                       17          23.6
              6-10 ปี                       20          27.8
              11-15 ปี                      10          13.9
              16-20 ปี                       9          12.5
              ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป                16          22.2
          รวม                              72         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ