ด้วยวันที่ 8 กุมภาพันธ์ นี้ เป็นวันที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครบ 6 เดือนศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ประเมินผลงาน 6 เดือน รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,151 คน เมื่อวันที่ 31 มกราคม — 3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่า
ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล 4.94 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น จากผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 3 เดือน 0.16 คะแนน โดยให้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านการต่างประเทศมากที่สุด (5.16 คะแนน) แต่พึงพอใจผลงานด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมายน้อยที่สุด (4.81 คะแนน)
สำหรับผลงานและโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ การปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 35.4) การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท สำหรับวุฒิปริญญาตรี (ร้อยละ 21.6) และการแก้ปัญหาน้ำท่วมและการเยียวยาผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม (ร้อยละ 14.5) ตามลำดับ
ส่วนคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้คะแนนเฉลี่ย 5.29 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลการประเมินเมื่อตอนที่ทำงานครบ 3 เดือน 0.31 คะแนน โดยได้คะแนนความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด(6.06 คะแนน) แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด (4.64 คะแนน)
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล พรรคแกนนำฝ่ายค้าน และพรรคร่วมฝ่ายค้าน พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ 5.42 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้ 4.39 คะแนน ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ได้ 3.88 คะแนน และพรรคร่วมฝ่ายค้านได้ 3.80 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
1. คะแนนความพึงพอใจผลงาน 6เดือน ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่าได้คะแนนเฉลี่ย 4.94 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 3 เดือน พบว่ามีคะแนน เพิ่มขึ้นในทุกด้านดังตารางต่อไปนี้
ครบ 3 เดือน(คะแนนที่ได้) ครบ 6 เดือน(คะแนนที่ได้) เพิ่มขึ้น / ลดลง ด้านการต่างประเทศ 5.09 5.16 +0.07 ด้านความมั่นคงของประเทศ 4.83 4.95 +0.12 ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต 4.82 4.94 +0.12 ด้านเศรษฐกิจ 4.52 4.82 +0.30 ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย 4.62 4.81 +0.19 คะแนนเฉลี่ย 4.78 4.94 +0.16 หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเดียวกัน
- การปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 35.4 - การปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 15,000 บาท สำหรับวุฒิปริญญาตรี ร้อยละ 21.6 - การแก้ปัญหาน้ำท่วมและการเยียวยาผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม ร้อยละ 14.5 - การรับจำนำข้าวเปลือกและการประกันพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 11.1 - การปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได ร้อยละ 5.0 3. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า ได้คะแนน เฉลี่ย 5.29 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ครบ 3 เดือน(คะแนนทีได้) ครบ 6 เดือน(คะแนนที่ได้) เพิ่มขึ้น / ลดลง ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ 5.61 6.06 +0.45 ความซื่อสัตย์สุจริต 5.35 5.48 +0.13 การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 5.04 5.27 +0.23 ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ 4.87 5.24 +0.37 ความสามารถในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ ที่มี 4.68 5.00 +0.32 ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ 4.34 4.64 +0.30 คะแนนเฉลี่ย 4.98 5.29 +0.31 หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเดียวกัน
ช่วง 3เดือน(คะแนนที่ได้) ช่วง 6เดือน(คะแนนที่ได้) เพิ่มขึ้น / ลดลง - พรรคแกนนำรัฐบาล (พรรคเพื่อไทย) 4.84 5.42 +0.58 - พรรคร่วมรัฐบาล (พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคพลังชล พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคมหาชน) 4.06 4.39 +0.33 - พรรคแกนนำฝ่ายค้าน (พรรคประชาธิปัตย์) 4.26 3.88 -0.38 - พรรคร่วมฝ่ายค้าน(พรรคภูมิใจไทย พรรครักประเทศไทย พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ) 3.94 3.80 -0.14 หมายเหตุ การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเดียวกัน
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับการประเมินผลงานในด้านต่างๆ ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อทำงานมาครบ 6 เดือน ตลอดจนผลงานหรือโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบ รวมถึงให้คะแนนการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีและการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ทางการเมือง เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,151 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.7 และเพศหญิงร้อยละ 50.3
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) ให้ผู้ตอบระบุเองโดยอิสระ จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 31 มกราคม — 6 กุมภาพันธ์ 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 8 กุมภาพันธ์ 2555
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 572 49.7 หญิง 579 50.3 รวม 1,151 100.0 อายุ 18 ปี - 25 ปี 241 20.9 26 ปี — 35 ปี 301 26.2 36 ปี — 45 ปี 281 24.4 46 ปีขึ้นไป 328 28.5 รวม 1,151 100.0 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 621 54.0 ปริญญาตรี 445 38.6 สูงกว่าปริญญาตรี 85 7.4 รวม 1,151 100.0 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 216 18.7 พนักงานบริษัทเอกชน 242 21.0 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว 240 20.9 รับจ้างทั่วไป 134 11.6 พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 92 8.0 อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เกษตรกร ฯลฯ 227 19.8 รวม 1,151 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--