วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมามีผลทำให้ สถานการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางทางใด เช่น การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม การหายตัวของประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม การโยกย้ายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และการเปลี่ยนตัวผู้รักษาการแทนแม่ทัพภาค 4
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของ
กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขต
ปกครองในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 25 เขต ดังนี้
พระนคร ป้อมปราบฯ ปทุมวัน พระโขนง ราชเทวี ดินแดง คลองเตย ห้วยขวาง
ลาดพร้าว คลองสาน จตุจักร คันนายาว บางซื่อ บางเขน สะพานสูง วัฒนา ประเวศ
มีนบุรี ภาษีเจริญ หนองแขม บางบอน บางแค บางกอกน้อย ทุ่งครุ ตลิ่งชัน
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,185 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง " ความเห็นของคนกรุงต่อสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24 มีนาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 26 มีนาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม จากประชากรในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,185 คน ร้อยละ 47.4 เป็นชาย และร้อยละ 52.6 เป็นหญิง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.2 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 25.1 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 24.6 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี และร้อยละ 22.2 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15.5 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 26.3 ระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 10.0 ระดับปวช. ร้อยละ 11.8 ระดับปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 32.4 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.9
สูงกว่าปริญญาตรี
อาชีพของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17.7 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 17.7 นักศึกษา ร้อยละ 16.5
ค้าขาย ร้อยละ 14.0 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.4 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 9.3 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.8
รับราชการ และร้อยละ 5.3 พนังงานรัฐวิสาหกิจ
2. เมื่อถามว่าทราบข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 94.0 ระบุว่าทราบ
และมีเพียงร้อยละ 6.0 ระบุว่าไม่ทราบ
3. สำหรับคำถามว่า เหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ มีผลให้สถานการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร
การปรับตำแหน่ง รมว. มหาดไทย จากนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นนายโภคิน พลกุล
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.9 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 42.2 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 13.5 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 18.4 ระบุว่าไม่มีความเห็น
การปรับตำแหน่ง รมว. กลาโหม จาก พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็น พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.0 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 47.6 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 18.5 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 20.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น
การหายตัวไปอย่างลึกลับของ ประธานชมรมนักกฎหมาย มุสลิม (นายสมชาย นีละไพจิตร)
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 52.0 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26.1 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 4.1 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 17.8 ระบุว่าไม่มีความเห็น
การโยกย้าย พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ ให้มาช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.1 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 44.3 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 24.7 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 17.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น
การรักษาการแม่ทัพภาค 4 ของ พล.ท.พิศาล วัฒนวงศ์คีรี แทน พล.ท.พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9.3 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 43.2 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 14.9 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 32.6 ระบุว่าไม่มีความเห็น
4. ส่วนคำถามว่านักการเมืองในพื้นที่ (ส.ว. และ ส.ส.) มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้
ตามที่กำนัน ตำบลโต๊ะเด็ง ผู้ต้องหาคดีปล้นปืน กองพันทหารพัฒนาที่ค่ายนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวซัดทอด
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 54.7 ระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ร้อยละ 16.5 ระบุว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และร้อยละ
28.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น
5. เมื่อถามมั่นใจหรือไม่ว่า เจ้าหน้าที่ภาครัฐจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายในการพิจารณาคดีปล้นปืน กองพันทหาร
พัฒนาค่ายนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.2 ระบุว่ามั่นใจ ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.1 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 18.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 562 47.4
หญิง 623 52.6
อายุ :
18 - 25 ปี 334 28.2
26 - 35 ปี 297 25.1
36 - 45 ปี 291 24.6
45 ปีขึ้นไป 263 22.2
การศึกษา:
ประถมศึกษา 184 15.5
มัธยมศึกษา 312 26.3
ปวช. 119 10.0
ปวส./อนุปริญญา 140 11.8
ปริญญาตรี 384 32.4
สูงกว่าปริญญาตรี 46 3.9
อาชีพ :
พนักงานบริษัทเอกชน 210 17.7
นักศึกษา 210 17.7
ค้าขาย 196 16.5
รับจ้างทั่วไป 166 14.0
เจ้าของกิจการ 111 9.4
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 110 9.3
รับราชการ 69 5.8
รัฐวิสาหกิจ 63 5.3
อื่น ๆ 50 4.2
ตารางที่ 2 ท่านทราบข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ทราบ 1,114 94.0
ไม่ทราบ 71 6.0
ตารางที่ 3 ท่านคิดว่าเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ มีผลให้สถานการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร
สถานการณ์ความรุนแรง เพิ่มขึ้น เหมือนเดิม ลดลง ไม่มีความเห็น
การปรับตำแหน่ง รมว. มหาดไทย 25.9 42.2 13.5 18.4
จากนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นนายโภคิน พลกุล
การปรับตำแหน่ง รมว. กลาโหม 13.0 47.6 18.5 20.9
จาก พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
เป็น พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร
การหายตัวไปอย่างลึกลับของ ประธานชมรมนัก 52.0 26.1 4.1 17.8
กฎหมาย มุสลิม (นายสมชาย นีละไพจิตร)
การโยกย้าย พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ 13.1 44.3 24.7 17.9
อดีตผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ
ให้มาช่วยราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี
การรักษาการแม่ทัพภาค 4 ของ พล.ท.พิศาล 9.3 43.2 14.9 32.6
วัฒนวงศ์คีรี แทน พล.ท.พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่านักการเมืองในพื้นที่ (ส.ว. และ ส.ส.) มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความรุนแรง
ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ตามที่กำนัน ตำบลโต๊ะเด็ง ผู้ต้องหาคดีปล้นปืน กองพันทหารพัฒนาค่ายนราธิวาสราชนครินทร์
กล่าวซัดทอด หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีส่วน 648 54.7
ไม่มีส่วน 195 16.5
ไม่มีความเห็น 342 28.9
ตารางที่ 5 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายในการพิจารณาคดีปล้นปืน
กองพันทหารพัฒนาค่ายนราธิวาสราชนครินทร์
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 358 30.2
ไม่มั่นใจ 605 51.1
ไม่มีความเห็น 222 18.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-ลจ-
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมามีผลทำให้ สถานการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางทางใด เช่น การปรับเปลี่ยนตำแหน่ง รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม การหายตัวของประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม การโยกย้ายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และการเปลี่ยนตัวผู้รักษาการแทนแม่ทัพภาค 4
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของ
กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขต
ปกครองในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 25 เขต ดังนี้
พระนคร ป้อมปราบฯ ปทุมวัน พระโขนง ราชเทวี ดินแดง คลองเตย ห้วยขวาง
ลาดพร้าว คลองสาน จตุจักร คันนายาว บางซื่อ บางเขน สะพานสูง วัฒนา ประเวศ
มีนบุรี ภาษีเจริญ หนองแขม บางบอน บางแค บางกอกน้อย ทุ่งครุ ตลิ่งชัน
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,185 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง " ความเห็นของคนกรุงต่อสถานการณ์ชายแดนภาคใต้ "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24 มีนาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 26 มีนาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม จากประชากรในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,185 คน ร้อยละ 47.4 เป็นชาย และร้อยละ 52.6 เป็นหญิง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.2 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 25.1 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 24.6 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี และร้อยละ 22.2 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15.5 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 26.3 ระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 10.0 ระดับปวช. ร้อยละ 11.8 ระดับปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 32.4 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.9
สูงกว่าปริญญาตรี
อาชีพของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17.7 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 17.7 นักศึกษา ร้อยละ 16.5
ค้าขาย ร้อยละ 14.0 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.4 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 9.3 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.8
รับราชการ และร้อยละ 5.3 พนังงานรัฐวิสาหกิจ
2. เมื่อถามว่าทราบข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้หรือไม่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 94.0 ระบุว่าทราบ
และมีเพียงร้อยละ 6.0 ระบุว่าไม่ทราบ
3. สำหรับคำถามว่า เหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ มีผลให้สถานการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร
การปรับตำแหน่ง รมว. มหาดไทย จากนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นนายโภคิน พลกุล
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.9 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 42.2 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 13.5 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 18.4 ระบุว่าไม่มีความเห็น
การปรับตำแหน่ง รมว. กลาโหม จาก พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็น พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.0 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 47.6 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 18.5 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 20.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น
การหายตัวไปอย่างลึกลับของ ประธานชมรมนักกฎหมาย มุสลิม (นายสมชาย นีละไพจิตร)
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 52.0 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 26.1 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 4.1 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 17.8 ระบุว่าไม่มีความเห็น
การโยกย้าย พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ ให้มาช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.1 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 44.3 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 24.7 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 17.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น
การรักษาการแม่ทัพภาค 4 ของ พล.ท.พิศาล วัฒนวงศ์คีรี แทน พล.ท.พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9.3 ระบุว่าเหตุการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 43.2 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 14.9 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 32.6 ระบุว่าไม่มีความเห็น
4. ส่วนคำถามว่านักการเมืองในพื้นที่ (ส.ว. และ ส.ส.) มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้
ตามที่กำนัน ตำบลโต๊ะเด็ง ผู้ต้องหาคดีปล้นปืน กองพันทหารพัฒนาที่ค่ายนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวซัดทอด
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 54.7 ระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ร้อยละ 16.5 ระบุว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และร้อยละ
28.9 ระบุว่าไม่มีความเห็น
5. เมื่อถามมั่นใจหรือไม่ว่า เจ้าหน้าที่ภาครัฐจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายในการพิจารณาคดีปล้นปืน กองพันทหาร
พัฒนาค่ายนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.2 ระบุว่ามั่นใจ ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.1 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 18.7 ระบุว่าไม่มีความเห็น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 562 47.4
หญิง 623 52.6
อายุ :
18 - 25 ปี 334 28.2
26 - 35 ปี 297 25.1
36 - 45 ปี 291 24.6
45 ปีขึ้นไป 263 22.2
การศึกษา:
ประถมศึกษา 184 15.5
มัธยมศึกษา 312 26.3
ปวช. 119 10.0
ปวส./อนุปริญญา 140 11.8
ปริญญาตรี 384 32.4
สูงกว่าปริญญาตรี 46 3.9
อาชีพ :
พนักงานบริษัทเอกชน 210 17.7
นักศึกษา 210 17.7
ค้าขาย 196 16.5
รับจ้างทั่วไป 166 14.0
เจ้าของกิจการ 111 9.4
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 110 9.3
รับราชการ 69 5.8
รัฐวิสาหกิจ 63 5.3
อื่น ๆ 50 4.2
ตารางที่ 2 ท่านทราบข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนภาคใต้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ทราบ 1,114 94.0
ไม่ทราบ 71 6.0
ตารางที่ 3 ท่านคิดว่าเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้ มีผลให้สถานการณ์ความรุนแรงปัญหาชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร
สถานการณ์ความรุนแรง เพิ่มขึ้น เหมือนเดิม ลดลง ไม่มีความเห็น
การปรับตำแหน่ง รมว. มหาดไทย 25.9 42.2 13.5 18.4
จากนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นนายโภคิน พลกุล
การปรับตำแหน่ง รมว. กลาโหม 13.0 47.6 18.5 20.9
จาก พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
เป็น พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร
การหายตัวไปอย่างลึกลับของ ประธานชมรมนัก 52.0 26.1 4.1 17.8
กฎหมาย มุสลิม (นายสมชาย นีละไพจิตร)
การโยกย้าย พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ 13.1 44.3 24.7 17.9
อดีตผู้บัญชาการ ตำรวจแห่งชาติ
ให้มาช่วยราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี
การรักษาการแม่ทัพภาค 4 ของ พล.ท.พิศาล 9.3 43.2 14.9 32.6
วัฒนวงศ์คีรี แทน พล.ท.พงษ์ศักดิ์ เอกบรรณสิงห์
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่านักการเมืองในพื้นที่ (ส.ว. และ ส.ส.) มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความรุนแรง
ที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ตามที่กำนัน ตำบลโต๊ะเด็ง ผู้ต้องหาคดีปล้นปืน กองพันทหารพัฒนาค่ายนราธิวาสราชนครินทร์
กล่าวซัดทอด หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มีส่วน 648 54.7
ไม่มีส่วน 195 16.5
ไม่มีความเห็น 342 28.9
ตารางที่ 5 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายในการพิจารณาคดีปล้นปืน
กองพันทหารพัฒนาค่ายนราธิวาสราชนครินทร์
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 358 30.2
ไม่มั่นใจ 605 51.1
ไม่มีความเห็น 222 18.7
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-ลจ-