นักเศรษฐศาสตร์ 62.1% เชื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีส่วนสำคัญช่วยให้ไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีอาเซียน ชู อาหารไทย ท่องเที่ยว งานฝีมือ และแพทย์แผนไทยให้เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 29 แห่ง จำนวน 66 คน เรื่อง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 — 21 ก.พ. ที่ผ่านมา พบว่า
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 48.5 เห็นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์น้อยกว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมา (รัฐบาลอภิสิทธิ์) ขณะที่ร้อยละ 28.8 เห็นว่าให้ความสำคัญพอๆกับรัฐบาลชุดที่ผ่านมา และมีเพียงร้อยละ 3.0 เท่านั้นที่เห็นว่าให้ความสำคัญมากกว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 98.5 เห็นว่าประเทศไทยควรสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้มีขึ้นในระบบเศรษฐกิจของไทย โดยประเภทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เห็นว่าเหมาะกับศักยภาพของคนไทยและรัฐบาลควรส่งเสริมมากที่สุดคือ อาหารไทย (ร้อยละ 93.9) รองลงมาเป็นประเภท ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/ความหลากหลายทางชีวภาพ (ร้อยละ 83.3) งานฝีมือและหัตถกรรม (ร้อยละ 83.3) และแพทย์แผนไทย (ร้อยละ 65.2) ตามลำดับ
ด้านความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น ร้อยละ 95.5 เชื่อว่าไทยมีทรัพยากรในท้องถิ่นที่เอื้อให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร้อยละ 74.2 เชื่อว่าไทยมีกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ร้อยละ 72.7 เชื่อว่าไทยมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนที่มีผลทางอ้อม (Multiplier effects) ต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์หลัก ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 50 เชื่อว่าประเทศไทยไม่มีองค์ประกอบด้านระบบสังคมที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์
เมื่อถามถึงความคิดเห็นที่มีต่อแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์จะช่วยทำให้เศรษฐกิจไทย สินค้าของไทย หรือผู้ประกอบการไทย สามารถแข่งขันในเวทีระดับอาเซียนซึ่งจะมีการเปิดเสรีในปี 2015 ได้หรือไม่ ร้อยละ 62.1 เชื่อว่ามีส่วนสำคัญช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีอาเซียน
สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้กับประเทศไทย คือ ปัญหาการเมืองทำให้การดำเนินนโยบายขาดความต่อเนื่อง ขาดความชัดเจน ขาดรายละเอียด และขาดวิสัยทัศน์ ขณะที่ผู้บริหารและบุคลากรภาครัฐไม่มีความรู้ความเข้าใจในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงสื่อไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร (ร้อยละ 43.9) รองลงมาเป็นระบบการศึกษายังล้าสมัย ไม่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ ทำให้คนไทยไม่ใช่นักคิดนอกกรอบ กรอบแนวคิดของคนไทยยังแคบ (ร้อยละ 22.0) และขาดการวิจัยพัฒนาอย่างจริงจัง รวมถึงการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา (ร้อยละ 17.1)
(โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญน้อยกว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมา ร้อยละ 48.5 รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญพอๆกับรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ร้อยละ 28.8 รัฐบาลชุดปัจจุบันให้ความสำคัญมากกว่ารัฐบาลชุดที่ผ่านมา ร้อยละ 3.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ ร้อยละ 19.7 2. เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นเศรษฐกิจที่ประเทศไทยควรให้การสนับสนุนหรือไม่ (เศรษฐกิจสร้างสรรค์หมายถึง การสร้างมูลค่าที่เกิดจากความคิดของมนุษย์ แล้วนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ) ควรสนับสนุน ร้อยละ 98.5 ไม่ควรสนับสนุน ร้อยละ 0.0 ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ ร้อยละ 1.5 3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเภทใดที่เหมาะกับศักยภาพของคนไทยและประเทศไทยที่รัฐบาลควรส่งเสริม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) อาหารไทย ร้อยละ 93.9 ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/ความหลากหลายทางชีวภาพ ร้อยละ 83.3 งานฝีมือและหัตถกรรม ร้อยละ 83.3 แพทย์แผนไทย ร้อยละ 65.2 งานออกแบบ ร้อยละ 48.5 แฟชั่น ร้อยละ 42.4 ทัศนศิลป์/จิตรกรรม/ประติมากรรม/สถาปัตยกรรม ร้อยละ 39.4 ศิลปะการแสดง ร้อยละ 37.9 ธุรกิจโฆษณา ร้อยละ 37.9 ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ ร้อยละ 34.8 ซอฟต์แวร์ ร้อยละ 27.3 ดนตรี ร้อยละ 22.7 สถาปัตยกรรมหลัก(ผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม ตกแต่งภายใน และมัณฑนศิลป์) ร้อยละ 22.7 ธุรกิจการพิมพ์ ร้อยละ 18.2 การกระจายเสียง ร้อยละ 0.0 4. ความคิดเห็นที่มีต่อองค์ประกอบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ องค์ประกอบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร้อยละ มี ไม่มี ไม่ตอบ/ไม่รู้ -ไทยมีทรัพยากรในท้องถิ่น(ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้) ที่เอื้อให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 95.5 1.5 3.0 -ไทยมีกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือสื่อความหมายใหม่ๆ แต่ไม่จำเป็น ต้องเป็นเรื่องวัฒนธรรมเท่านั้น 74.2 10.6 15.2 -ไทยมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนที่มีผลทางอ้อม (Multiplier effects) ต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์หลัก 72.7 12.1 15.2 -ไทยมีระบบสังคมที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ 31.8 50.0 18.2 5. แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ช่วยทำให้เศรษฐกิจไทย สินค้าของไทย หรือผู้ประกอบการไทย สามารถแข่งขันในเวทีระดับอาเซียน ซึ่งจะมีการเปิดเสรีในปี 2015 ได้หรือไม่ เชื่อว่ามีส่วนสำคัญช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีอาเซียน ร้อยละ 62.1 เชื่อว่ามีส่วนช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีอาเซียน ร้อยละ 37.9 เชื่อว่าไม่มีส่วนช่วยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีอาเซียน ร้อยละ 0.0 6. ความคิดเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้กับประเทศไทย (ข้อคำถามปลายเปิดผู้ตอบตอบเองโดยอิสระ) ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้กับประเทศไทย ร้อยละ -ปัญหาการเมืองทำให้การดำเนินนโยบายขาดความต่อเนื่อง ขาดความชัดเจน ขาดรายละเอียด และขาดวิสัยทัศน์- ขณะที่ผู้บริหารและบุคลากรภาครัฐไม่มีความรู้ความเข้าใจในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงสื่อไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร 43.9 -ระบบการศึกษายังล้าสมัย ไม่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ ทำให้คนไทยไม่ใช่นักคิดนอกกรอบ กรอบแนวคิดของคนไทยยังแคบ 22.0 -ขาดการวิจัยพัฒนาอย่างจริงจัง รวมถึงการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา 17.1 -ขาดความรู้ความเข้าใจในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตลอด supply chain 7.3 -ผู้ประกอบการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ขาดการสนับสนุนด้านเงินทุน 7.3 -อื่นๆ เช่น ปัญหาในการประเมินมูลค่าเพิ่มในสินค้าสร้างสรรค์ 2.4 หมายเหตุ : มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้จำนวน 41 คน
หมายเหตุ: รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด
รายละเอียดในการสำรวจ
1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรงไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์ (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 29 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคาร ทหารไทย บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 15 — 21 กุมภาพันธ์ 2555 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 กุมภาพันธ์ 2555
ข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่ หน่วยงานภาครัฐ 30 45.5 หน่วยงานภาคเอกชน 21 31.8 สถาบันการศึกษา 13 19.7 ไม่ระบุ 2 3.0 รวม 66 100.0 เพศ ชาย 32 48.5 หญิง 32 48.5 ไม่ระบุ 2 3.0 รวม 66 100.0 อายุ 26 ปี — 35 ปี 23 34.8 36 ปี — 45 ปี 18 27.4 46 ปีขึ้นไป 23 34.8 ไม่ระบุ 2 3.0 รวม 66 100.0 การศึกษา ปริญญาตรี 3 4.5 ปริญญาโท 46 69.8 ปริญญาเอก 15 22.7 ไม่ระบุ 2 3.0 รวม 66 100.0 ประสบการณ์ทำงานรวม 1-5 ปี 10 15.2 6-10 ปี 14 21.2 11-15 ปี 12 18.2 16-20 ปี 6 9.1 ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป 22 33.3 ไม่ระบุ 2 3.0 รวม 66 100.0
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--