วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับปัญหา
ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเด็นดังนี้
1.ปฐมเหตุของปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.หน่วยงานของรัฐที่น่าจะเป็นปัญหากับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด
3.ความไม่เข้าใจในภาษาไทยของคนในท้องถิ่นเป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งหรือไม่
4.การให้อำนาจปกครองตนเอง กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
5.ความรุนแรงและการลอบทำร้ายต่าง ๆ กับโจรก่อการร้ายนอกประเทศ
6.การส่งทหารไปยังประเทศอิรัก สร้างความไม่พอใจและเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาภาคใต้ หรือไม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามและอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และในเขตกรุงเทพมหานคร
สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,027 คืน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม ในเรื่อง " ความคิดเห็นของชาวไทยมุสลิมใน กทม. ต่อปัญหาความรุนแรง
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล -22 เมษายน 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ -24 เมษายน 2547
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776 http://research.bu.ac.th/
ผลการสำรวจ
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนามกับกลุ่มตัวอย่างที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 1,027 คน เป็นชาย ร้อยละ 45.3 เป็นหญิง ร้อยละ 54.7
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 26.4 มีอายุระหว่าง 18 -25 ปี ร้อยละ 30.3 มีอายุระหว่าง 26-35 ปีและร้อยละ 28.6
มีอายุ ระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 14.7 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
สำหรับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 8.8 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 26.7 จบการศึกษาระดับมัธยม
ศึกษา ร้อยละ 11.5 จบการศึกษาระดับปวช. ร้อยละ 12.8 จบการศึกษาระดับปวส. / อนุปริญญาร้อยละ 35.2 จบการศึกษา
ระดับปริญญาตรี และ ร้อยละ 5.2 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการ ร้อยละ 7.0 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 13.5
เจ้าของกิจการ ร้อยละ 11.4 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.7 ค้าขาย ร้อยละ 17.8 นักศึกษา ร้อยละ 17.8 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 9.0
และอาชีพอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.9
1.ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ (ร้อยละ 24.4) ลงความเห็นว่า ความขัดแย้งกับฝ่ายปกครอง เช่น ทหาร ตำรวจ ข้าราชการเป็นปฐมเหตุของความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนสาเหตุรองลงมาคือ ความยากจนที่เกิดจากการไม่มีงานทำ (ร้อยละ 22.5) ความขัดแย้งทางศาสนา (ร้อยละ 20.1) ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม (ร้อยละ 16.8) และ
เกิดจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น (ร้อยละ 16.2)
2.ความเห็นของชาวไทยมุสลิมใน กทม. ร้อยละ 26.3 คิดว่า ทหารเป็นหน่วยงานของรัฐที่น่าจะเป็นปัญหากับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด รองลงมาคือ ตำรวจ ร้อยละ 26.0 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร้อยละ 24.1
และ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ร้อยละ 23.6
3.กลุ่มตัวอย่างรวมร้อยละ 49.0 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า สาเหตุหนึ่งของความไม่เข้าใจและทำให้เกิดความ
ขัดแย้งในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เกิดจากความไม่เข้าใจภาษาไทยของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ในการสื่อสารกับ
ทางราชการและกับฝ่ายปกครองส่วนที่ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง รวมร้อยละ 44.9ที่เหลืออีกร้อยละ 6.1
ไม่มีความเห็น
4.ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.9) ระบุว่า หากตนมีอำนาจทางการเมืองจะไม่ใช้ วิธีตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการ
แก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 18.1 จะใช้วิธีดังกล่าว และร้อยละ 16.0 ไม่มีความเห็น
5.แนวทางที่ทำให้เกิดความสงบได้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ การให้อำนาจในการปกครองตนเอง นั้น กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 36.1 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 29.0 เห็นด้วย ร้อยละ 19.2 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 8.3 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
6.เมื่อสอบถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ว่า ปัญหาความรุนแรง/การลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ พระสงฆ์ และประชาชน
เกิดจากขบวนการโจรก่อการร้ายนอกประเทศชาวไทยมุสลิมรวมร้อยละ 56.6 ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งรวมร้อยละ 31.4
เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 12.0 ไม่มีความเห็น
7.กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.2 คิดว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องใช้กฎอัยการศึก ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ร้อยละ 29.0 เห็นว่ายังควรต้องใช้ และร้อยละ 14.8 ไม่มีความเห็น
8.กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.3 เห็นด้วยว่า การที่รัฐบาลส่งทหารไปยังประเทศอิรักนั้น ได้สร้างความไม่พอใจและเป็นสาเหตุ
หนึ่งของปัญหาในภาคใต้ ร้อยละ 24.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 18.2 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 13.7 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
และร้อยละ 12.1 ไม่มีความเห็น
วิเคราะห์เชิงลึก
ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือปัญหาในลักษณะไฟสุมขอน ที่เกิดขึ้นมาช้านานเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว
และมีปฐมเหตุจากปัญหาต่าง ๆ เช่น การไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้รับความยุติธรรมจากทางราชการ และยังมีบางส่วนซึ่งมีปัญหา
กับทหาร ตำรวจ ข้าราชการฝ่ายปกครอง ในหลาย ๆ ด้าน ความขัดแย้งและความไม่เอาใจใส่ต่อประชาชนที่นับถือศาสนาต่างกัน
และมีขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองค่อนข้างชัดเจน ประกอบกับปัญหาความยากจนและไม่มีงานทำ ซึ่งประชาชนจำนวนไม่น้อย
ที่ต้องข้ามไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำมาหาเลี้ยงชีพ ความไม่พอใจและเหตุการณ์รุนแรงก็จะเกิดขึ้นให้เราเห็นเป็นระยะ ๆ
เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เอื้ออำนวย ภาครัฐขาดมิติด้านมวลชนสัมพันธ์ อีกทั้งยังมีอุปสรรคในการสื่อสารกับคนในท้องถิ่นด้วยภาษาไทย
ซึ่งเรื่องเล็ก ๆ ได้กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่เพราะสื่อความหมายไม่ได้ด้วยภาษาไทย ชาวไทยมุสลิมใน กทม. ดูเหมือนมีความเข้าใจ
ในสภาวะความรุนแรงของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่าภาครัฐในหลาย ๆ ด้าน และส่วนใหญ่สะท้อนความคิดว่าหาก
รัฐบาลใช้ความรุนแรงแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ปัญหาความรุนแรงทางภาคใต้จะไม่มีวันสงบลงได้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง
เห็นว่า ไม่สมควรจะให้อำนาจแบบปกครองตนเอง เพราะจะยิ่งทำให้ชาวบ้านใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ห่างเหินจากความ
เป็นคนไทยยิ่งไปกว่าเดิม
ข้อแนะนำ
1.รัฐบาลต้องดำเนินการแก้ปัญหาในทุก ๆ มิติ พร้อม ๆ กัน เช่น ควรจะให้ความสนใจและแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ
อย่างจริงจัง โดยสร้างงานให้คนในพื้นที่ เพื่อเขาเหล่านั้นจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2.สร้างสำนึกความเป็นคนไทยและให้มีความรู้ภาษาไทยมากขึ้น
3.ดูแลและกวดขันไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกดขี่ข่มเหงประชาชน และกลุ่มตัวอย่าง 56.2 ไม่คิดว่าปัญหาความรุนแรงของ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้มาจากองค์กรก่อการร้ายข้ามชาติ และยังเห็นว่า การส่งทหารไทยไปประเทศอิรักนั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหา
ความรุนแรงใน 3 จังหวัด
4.ขบวนการแยกดินแดนเป็นเพียงแนวความคิดของคนส่วนน้อยในพื้นที่เท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นมีการจัดตั้งเป็นกระบวนการใน
รูปแบบขององค์กรหรือกองทัพ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 465 45.3
หญิง 562 54.7
อายุ :
18 | 25 ปี 271 26.4
26 | 35 ปี 311 30.3
36 | 45 ปี 294 28.6
มากกว่า 45 ปี 151 14.7
การศึกษา :
ประถมศึกษา 90 8.8
มัธยมศึกษา 274 26.7
ปวช. 118 11.5
ปวส./อนุปริญญา 131 12.8
ปริญญาตรี 361 35.2
สูงกว่าปริญญาตรี 53 5.2
อาชีพ :
รับราชการ 72 7.0
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 81 7.9
พนักงานบริษัทเอกชน 139 13.5
เจ้าของกิจการ 117 11.4
รับจ้างทั่วไป 130 12.7
ค้าขาย 183 17.8
นักศึกษา 183 17.8
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 92 9.0
อาชีพอื่น ๆ 30 2.9
ตารางที่ 1 ท่านคิดว่า ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปฐมเหตุจากปัญหาใดมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ความขัดแย้งกับฝ่ายปกครอง เช่น ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ 357 24.4
ความยากจนที่เกิดจากการไม่มีงานทำ 328 22.5
ความขัดแย้งทางศาสนา 294 20.1
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม 246 16.8
ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น 236 16.2
ตารางที่ 2 หน่วยงานของรัฐหน่วยงานใด ที่น่าจะเป็นปัญหากับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ทหาร 392 26.3
ตำรวจ 387 26.0
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 358 24.1
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน 352 23.6
ตารางที่ 3 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า สาเหตุหนึ่งของความไม่เข้าใจและทำให้เกิดความขัดแย้งในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น
เกิดจากความไม่เข้าใจในภาษาไทยของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ในการสื่อสารกับทางราชการและฝ่ายปกครอง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 107 10.4
เห็นด้วย 396 38.6
ไม่เห็นด้วย 343 33.4
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 118 11.5
ไม่มีความเห็น 63 6.1
ตารางที่ 4 หากท่านมีอำนาจทางการเมือง ท่านจะแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยวิธี ตาต่อตา ฟันต่อฟัน หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช้ 186 18.1
ไม่ใช้ 677 65.9
ไม่มีความเห็น 164 16.0
ตารางที่ 5 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า แนวทางที่ทำให้เกิดความสงบได้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ การให้อำนาจปกครองตนเอง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 85 8.3
เห็นด้วย 298 29.0
ไม่เห็นด้วย 371 36.1
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 197 19.2
ไม่มีความเห็น 76 7.4
ตารางที่ 6 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า ปัญหาความรุนแรง/การลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ พระสงฆ์ และประชาชน เกิดจากขบวนการ
โจรก่อการร้ายนอกประเทศ
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 63 6.1
เห็นด้วย 260 25.3
ไม่เห็นด้วย 376 36.6
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 205 20.0
ไม่มีความเห็น 123 12.0
ตารางที่ 7 ท่านคิดว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันกฎอัยการศึก ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังควรมีอยู่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 298 29.0
ไม่ควร 577 56.2
ไม่มีความเห็น 152 14.8
ตารางที่ 8 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า การที่รัฐบาลส่งทหารไปยังประเทศอิรัก สร้างความไม่พอใจและเป็นสาเหตุหนึ่งของ
ปัญหาในภาคใต้
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 141 13.7
เห็นด้วย 321 31.3
ไม่เห็นด้วย 254 24.7
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 187 18.2
ไม่มีความเห็น 124 12.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-ดพ-
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของชาวไทยมุสลิมในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับปัญหา
ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเด็นดังนี้
1.ปฐมเหตุของปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.หน่วยงานของรัฐที่น่าจะเป็นปัญหากับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด
3.ความไม่เข้าใจในภาษาไทยของคนในท้องถิ่นเป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งหรือไม่
4.การให้อำนาจปกครองตนเอง กับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
5.ความรุนแรงและการลอบทำร้ายต่าง ๆ กับโจรก่อการร้ายนอกประเทศ
6.การส่งทหารไปยังประเทศอิรัก สร้างความไม่พอใจและเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาภาคใต้ หรือไม่
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามและอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และในเขตกรุงเทพมหานคร
สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,027 คืน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม ในเรื่อง " ความคิดเห็นของชาวไทยมุสลิมใน กทม. ต่อปัญหาความรุนแรง
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล -22 เมษายน 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ -24 เมษายน 2547
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776 http://research.bu.ac.th/
ผลการสำรวจ
การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนามกับกลุ่มตัวอย่างที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 1,027 คน เป็นชาย ร้อยละ 45.3 เป็นหญิง ร้อยละ 54.7
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 26.4 มีอายุระหว่าง 18 -25 ปี ร้อยละ 30.3 มีอายุระหว่าง 26-35 ปีและร้อยละ 28.6
มีอายุ ระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 14.7 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
สำหรับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 8.8 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 26.7 จบการศึกษาระดับมัธยม
ศึกษา ร้อยละ 11.5 จบการศึกษาระดับปวช. ร้อยละ 12.8 จบการศึกษาระดับปวส. / อนุปริญญาร้อยละ 35.2 จบการศึกษา
ระดับปริญญาตรี และ ร้อยละ 5.2 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการ ร้อยละ 7.0 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 13.5
เจ้าของกิจการ ร้อยละ 11.4 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.7 ค้าขาย ร้อยละ 17.8 นักศึกษา ร้อยละ 17.8 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 9.0
และอาชีพอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.9
1.ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ (ร้อยละ 24.4) ลงความเห็นว่า ความขัดแย้งกับฝ่ายปกครอง เช่น ทหาร ตำรวจ ข้าราชการเป็นปฐมเหตุของความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนสาเหตุรองลงมาคือ ความยากจนที่เกิดจากการไม่มีงานทำ (ร้อยละ 22.5) ความขัดแย้งทางศาสนา (ร้อยละ 20.1) ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม (ร้อยละ 16.8) และ
เกิดจากผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น (ร้อยละ 16.2)
2.ความเห็นของชาวไทยมุสลิมใน กทม. ร้อยละ 26.3 คิดว่า ทหารเป็นหน่วยงานของรัฐที่น่าจะเป็นปัญหากับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด รองลงมาคือ ตำรวจ ร้อยละ 26.0 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ร้อยละ 24.1
และ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ร้อยละ 23.6
3.กลุ่มตัวอย่างรวมร้อยละ 49.0 เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า สาเหตุหนึ่งของความไม่เข้าใจและทำให้เกิดความ
ขัดแย้งในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เกิดจากความไม่เข้าใจภาษาไทยของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ในการสื่อสารกับ
ทางราชการและกับฝ่ายปกครองส่วนที่ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง รวมร้อยละ 44.9ที่เหลืออีกร้อยละ 6.1
ไม่มีความเห็น
4.ชาวไทยมุสลิมส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.9) ระบุว่า หากตนมีอำนาจทางการเมืองจะไม่ใช้ วิธีตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการ
แก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ร้อยละ 18.1 จะใช้วิธีดังกล่าว และร้อยละ 16.0 ไม่มีความเห็น
5.แนวทางที่ทำให้เกิดความสงบได้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ การให้อำนาจในการปกครองตนเอง นั้น กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 36.1 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 29.0 เห็นด้วย ร้อยละ 19.2 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 8.3 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
6.เมื่อสอบถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ว่า ปัญหาความรุนแรง/การลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ พระสงฆ์ และประชาชน
เกิดจากขบวนการโจรก่อการร้ายนอกประเทศชาวไทยมุสลิมรวมร้อยละ 56.6 ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งรวมร้อยละ 31.4
เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 12.0 ไม่มีความเห็น
7.กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.2 คิดว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องใช้กฎอัยการศึก ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ร้อยละ 29.0 เห็นว่ายังควรต้องใช้ และร้อยละ 14.8 ไม่มีความเห็น
8.กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.3 เห็นด้วยว่า การที่รัฐบาลส่งทหารไปยังประเทศอิรักนั้น ได้สร้างความไม่พอใจและเป็นสาเหตุ
หนึ่งของปัญหาในภาคใต้ ร้อยละ 24.7 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 18.2 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 13.7 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
และร้อยละ 12.1 ไม่มีความเห็น
วิเคราะห์เชิงลึก
ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือปัญหาในลักษณะไฟสุมขอน ที่เกิดขึ้นมาช้านานเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว
และมีปฐมเหตุจากปัญหาต่าง ๆ เช่น การไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้รับความยุติธรรมจากทางราชการ และยังมีบางส่วนซึ่งมีปัญหา
กับทหาร ตำรวจ ข้าราชการฝ่ายปกครอง ในหลาย ๆ ด้าน ความขัดแย้งและความไม่เอาใจใส่ต่อประชาชนที่นับถือศาสนาต่างกัน
และมีขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองค่อนข้างชัดเจน ประกอบกับปัญหาความยากจนและไม่มีงานทำ ซึ่งประชาชนจำนวนไม่น้อย
ที่ต้องข้ามไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำมาหาเลี้ยงชีพ ความไม่พอใจและเหตุการณ์รุนแรงก็จะเกิดขึ้นให้เราเห็นเป็นระยะ ๆ
เมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เอื้ออำนวย ภาครัฐขาดมิติด้านมวลชนสัมพันธ์ อีกทั้งยังมีอุปสรรคในการสื่อสารกับคนในท้องถิ่นด้วยภาษาไทย
ซึ่งเรื่องเล็ก ๆ ได้กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่เพราะสื่อความหมายไม่ได้ด้วยภาษาไทย ชาวไทยมุสลิมใน กทม. ดูเหมือนมีความเข้าใจ
ในสภาวะความรุนแรงของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่าภาครัฐในหลาย ๆ ด้าน และส่วนใหญ่สะท้อนความคิดว่าหาก
รัฐบาลใช้ความรุนแรงแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ปัญหาความรุนแรงทางภาคใต้จะไม่มีวันสงบลงได้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง
เห็นว่า ไม่สมควรจะให้อำนาจแบบปกครองตนเอง เพราะจะยิ่งทำให้ชาวบ้านใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ห่างเหินจากความ
เป็นคนไทยยิ่งไปกว่าเดิม
ข้อแนะนำ
1.รัฐบาลต้องดำเนินการแก้ปัญหาในทุก ๆ มิติ พร้อม ๆ กัน เช่น ควรจะให้ความสนใจและแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ
อย่างจริงจัง โดยสร้างงานให้คนในพื้นที่ เพื่อเขาเหล่านั้นจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2.สร้างสำนึกความเป็นคนไทยและให้มีความรู้ภาษาไทยมากขึ้น
3.ดูแลและกวดขันไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกดขี่ข่มเหงประชาชน และกลุ่มตัวอย่าง 56.2 ไม่คิดว่าปัญหาความรุนแรงของ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้มาจากองค์กรก่อการร้ายข้ามชาติ และยังเห็นว่า การส่งทหารไทยไปประเทศอิรักนั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหา
ความรุนแรงใน 3 จังหวัด
4.ขบวนการแยกดินแดนเป็นเพียงแนวความคิดของคนส่วนน้อยในพื้นที่เท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นมีการจัดตั้งเป็นกระบวนการใน
รูปแบบขององค์กรหรือกองทัพ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 465 45.3
หญิง 562 54.7
อายุ :
18 | 25 ปี 271 26.4
26 | 35 ปี 311 30.3
36 | 45 ปี 294 28.6
มากกว่า 45 ปี 151 14.7
การศึกษา :
ประถมศึกษา 90 8.8
มัธยมศึกษา 274 26.7
ปวช. 118 11.5
ปวส./อนุปริญญา 131 12.8
ปริญญาตรี 361 35.2
สูงกว่าปริญญาตรี 53 5.2
อาชีพ :
รับราชการ 72 7.0
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 81 7.9
พนักงานบริษัทเอกชน 139 13.5
เจ้าของกิจการ 117 11.4
รับจ้างทั่วไป 130 12.7
ค้าขาย 183 17.8
นักศึกษา 183 17.8
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 92 9.0
อาชีพอื่น ๆ 30 2.9
ตารางที่ 1 ท่านคิดว่า ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปฐมเหตุจากปัญหาใดมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ความขัดแย้งกับฝ่ายปกครอง เช่น ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ 357 24.4
ความยากจนที่เกิดจากการไม่มีงานทำ 328 22.5
ความขัดแย้งทางศาสนา 294 20.1
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม 246 16.8
ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น 236 16.2
ตารางที่ 2 หน่วยงานของรัฐหน่วยงานใด ที่น่าจะเป็นปัญหากับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
ทหาร 392 26.3
ตำรวจ 387 26.0
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 358 24.1
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน 352 23.6
ตารางที่ 3 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า สาเหตุหนึ่งของความไม่เข้าใจและทำให้เกิดความขัดแย้งในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น
เกิดจากความไม่เข้าใจในภาษาไทยของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ในการสื่อสารกับทางราชการและฝ่ายปกครอง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 107 10.4
เห็นด้วย 396 38.6
ไม่เห็นด้วย 343 33.4
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 118 11.5
ไม่มีความเห็น 63 6.1
ตารางที่ 4 หากท่านมีอำนาจทางการเมือง ท่านจะแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยวิธี ตาต่อตา ฟันต่อฟัน หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช้ 186 18.1
ไม่ใช้ 677 65.9
ไม่มีความเห็น 164 16.0
ตารางที่ 5 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า แนวทางที่ทำให้เกิดความสงบได้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ การให้อำนาจปกครองตนเอง
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 85 8.3
เห็นด้วย 298 29.0
ไม่เห็นด้วย 371 36.1
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 197 19.2
ไม่มีความเห็น 76 7.4
ตารางที่ 6 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า ปัญหาความรุนแรง/การลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ พระสงฆ์ และประชาชน เกิดจากขบวนการ
โจรก่อการร้ายนอกประเทศ
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 63 6.1
เห็นด้วย 260 25.3
ไม่เห็นด้วย 376 36.6
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 205 20.0
ไม่มีความเห็น 123 12.0
ตารางที่ 7 ท่านคิดว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันกฎอัยการศึก ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังควรมีอยู่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ควร 298 29.0
ไม่ควร 577 56.2
ไม่มีความเห็น 152 14.8
ตารางที่ 8 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า การที่รัฐบาลส่งทหารไปยังประเทศอิรัก สร้างความไม่พอใจและเป็นสาเหตุหนึ่งของ
ปัญหาในภาคใต้
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 141 13.7
เห็นด้วย 321 31.3
ไม่เห็นด้วย 254 24.7
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 187 18.2
ไม่มีความเห็น 124 12.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-ดพ-