วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็น
การเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน หลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม และกระทรวง
ที่กลุ่มตัวอย่างพอใจผลงานมากที่สุด ตลอดจนมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจต่อข้าราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของ
กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขต
ปกครองในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 32 เขต ดังนี้ ป้อมปราบฯ พระนคร ดุสิต
ปทุมวัน พญาไท พระโขนง ยานนาวา ดินแดง วัฒนา ประเวศ คลองเตย ห้วยขวาง
ลาดพร้าว บึงกุ่ม บางกอกน้อย บางพลัด จตุจักร ดอนเมือง สะพานสูง บางเขน
บางซื่อ คลองสาน บางแค ภาษีเจริญ คันนายาว มีนบุรี ทุ่งครุ ตลิ่งชัน หนองแขม
หนองจอก บางบอน ทวีวัฒนา
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,262 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง
" ความคิดเห็นของคน กทม. กับ 1 ปี 6 เดือน การปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 พฤษภาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม จากประชากรในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
จำนวน 1,262 คน ร้อยละ 45.2 เป็นชาย และร้อยละ 54.8 เป็นหญิง
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.8 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 28.2 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 21.9 มีอายุ
ระหว่าง 36-45 ปี และร้อยละ 18.1 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.2 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 24.5 ระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 7.1 ระดับปวช. ร้อยละ 13.5 ระดับปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 38.3 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.3
สูงกว่าปริญญาตรี
อาชีพของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.7 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 21.6 นักศึกษา ร้อยละ 14.8
ค้าขาย ร้อยละ 9.6 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.2 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 6.7 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 6.7
รับราชการ และร้อยละ 6.3 พนังงานรัฐวิสาหกิจ
2. เมื่อถามว่า 1 ปี 6 เดือน หลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม คิดว่าเป็นอย่างไร
กลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นว่าดีขึ้น
-ด้านการอำนวยความสะดวกในการขอรับบริการจากหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 56.1)
-ด้านการลดขั้นตอนการให้บริการของหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 50.5)
-ด้านความรวดเร็วในการให้บริการของหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 50.2)
กลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นว่าเหมือนเดิม
-ด้านความชัดเจนหรือโปร่งใสในขั้นตอนการให้บริการของหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 48.4)
-ด้านการแก้ไขระบบอุปถัมภ์เป็นระบบคุณธรรมในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 48.3)
-ด้านการควบคุมและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 44.2)
3. สำหรับคำถามว่าการเปลี่ยนแปลงโดยรวม ต่อการให้บริการของหน่วยงานราชการเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 47.7 ระบุว่าดีขึ้น ร้อยละ 40.9 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 4.3 ระบุว่าแย่ลง และร้อยละ 7.2
ระบุว่าไม่มีความเห็น
4. ส่วนคำถามว่า ภายหลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.5 ระบุว่าพอใจ
ผลงานกระทรวงสาธารณสุขมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 12.0 ระบุว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ร้อยละ 9.3
ระบุว่ากระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 7.9 ระบุว่ากระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 7.6 ระบุว่ากระทรวงการต่างประเทศ
5.เมื่อถามว่าเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะทำให้ข้าราชการในพื้นที่ 3 จังหวัดมีการขอย้าย
ออกจากพื้นที่จำนวนมาก คิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจอย่างไรบ้าง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 26.9
ระบุว่าควรเพิ่มเงินเดือน/โบนัส ร้อยละ 15.5 ระบุว่าควรเพิ่มจำนวนคนรักษาความปลอดภัย ร้อยละ 14.6 ระบุว่า
ควรเพิ่มสวัสดิการด้านประกันชีวิต ร้อยละ 7.1 ระบุว่าควรปราบปรามอย่างจริงจัง ร้อยละ 6.3 ระบุว่าควรมีเจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้อง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ทหาร และตำรวจ ลงตรวจเยี่ยมพื้นที่
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 571 45.2
หญิง 691 54.8
อายุ :
18 - 25 ปี 401 31.8
26 - 35 ปี 356 28.2
36 - 45 ปี 277 21.9
45 ปีขึ้นไป 228 18.1
การศึกษา:
ประถมศึกษา 129 10.2
มัธยมศึกษา 309 24.5
ปวช. 90 7.1
ปวส./อนุปริญญา 171 13.5
ปริญญาตรี 483 38.3
สูงกว่าปริญญาตรี 80 6.3
อาชีพ :
พนักงานบริษัทเอกชน 299 23.7
นักศึกษา 272 21.6
ค้าขาย 187 14.8
รับจ้างทั่วไป 121 9.6
เจ้าของกิจการ 103 8.2
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 85 6.7
รับราชการ 84 6.7
รัฐวิสาหกิจ 79 6.3
อื่น ๆ 32 2.5
ตารางที่ 2: 1 ปี 6 เดือน หลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ท่านคิดว่าเป็นอย่างไร
ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น
การอำนวยความสะดวกในการขอรับบริการจาก
หน่วยงานราชการ 56.1 36.5 3.0 4.4
ด้านการลดขั้นตอนการให้บริการของหน่วยงานราชการ 50.5 40.6 3.6 5.3
ความรวดเร็วในการให้บริการของหน่วยงานราชการ 50.2 41.2 4.8 3.8
ความชัดเจนหรือโปร่งใสในขั้นตอนการให้บริการ
ของหน่วยงานราชการ 35.0 48.4 8.3 8.2
การแก้ไขระบบอุปถัมภ์เป็นระบบคุณธรรม
ในหน่วยงานราชการ 29.3 48.3 10.6 11.7
การควบคุมและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการ 35.6 44.2 10.2 10.0
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่า การเปลี่ยนแปลงโดยรวม ต่อการให้บริการของหน่วยงานราชการเป็นอย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 602 47.7
เหมือนเดิม 516 40.9
แย่ลง 54 4.3
ไม่มีความเห็น 90 7.2
ตารางที่ 4: ท่านพอใจผลงานของกระทรวงใดมากที่สุด ภายหลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม
จำนวน ร้อยละ
กระทรวงสาธารณสุข 158 12.5
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา 152 12.0
กระทรวงพาณิชย์ 117 9.3
กระทรวงมหาดไทย 100 7.9
กระทรวงการต่างประเทศ 96 7.6
กระทรวงอื่น ๆ 639 50.6
ตารางที่ 5: เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะทำให้ข้าราชการในพื้นที่ 3 จังหวัด
มีการขอย้ายออกจากพื้นที่จำนวนมาก ท่านคิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจ
อย่างไรบ้าง
จำนวน ร้อยละ
ควรเพิ่มเงินเดือน/โบนัส 339 26.9
ควรเพิ่มจำนวนคนรักษาความปลอดภัย 196 15.5
ควรเพิ่มสวัสดิการด้านประกันชีวิต 184 14.6
ควรปราบปรามอย่างจริงจัง 89 7.1
ควรมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี ทหาร และตำรวจ ลงตรวจเยี่ยมพื้นที่ 80 6.3
อื่น ๆ 374 29.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-ดพ-
การสำรวจครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในประเด็น
การเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน หลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม และกระทรวง
ที่กลุ่มตัวอย่างพอใจผลงานมากที่สุด ตลอดจนมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจต่อข้าราชการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของ
กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขต
ปกครองในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 32 เขต ดังนี้ ป้อมปราบฯ พระนคร ดุสิต
ปทุมวัน พญาไท พระโขนง ยานนาวา ดินแดง วัฒนา ประเวศ คลองเตย ห้วยขวาง
ลาดพร้าว บึงกุ่ม บางกอกน้อย บางพลัด จตุจักร ดอนเมือง สะพานสูง บางเขน
บางซื่อ คลองสาน บางแค ภาษีเจริญ คันนายาว มีนบุรี ทุ่งครุ ตลิ่งชัน หนองแขม
หนองจอก บางบอน ทวีวัฒนา
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,262 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง
" ความคิดเห็นของคน กทม. กับ 1 ปี 6 เดือน การปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม "
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2547
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 พฤษภาคม 2547
ผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสำรวจภาคสนาม จากประชากรในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
จำนวน 1,262 คน ร้อยละ 45.2 เป็นชาย และร้อยละ 54.8 เป็นหญิง
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.8 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 28.2 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 21.9 มีอายุ
ระหว่าง 36-45 ปี และร้อยละ 18.1 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10.2 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 24.5 ระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 7.1 ระดับปวช. ร้อยละ 13.5 ระดับปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 38.3 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.3
สูงกว่าปริญญาตรี
อาชีพของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.7 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 21.6 นักศึกษา ร้อยละ 14.8
ค้าขาย ร้อยละ 9.6 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.2 เจ้าของกิจการ ร้อยละ 6.7 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 6.7
รับราชการ และร้อยละ 6.3 พนังงานรัฐวิสาหกิจ
2. เมื่อถามว่า 1 ปี 6 เดือน หลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม คิดว่าเป็นอย่างไร
กลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นว่าดีขึ้น
-ด้านการอำนวยความสะดวกในการขอรับบริการจากหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 56.1)
-ด้านการลดขั้นตอนการให้บริการของหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 50.5)
-ด้านความรวดเร็วในการให้บริการของหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 50.2)
กลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นว่าเหมือนเดิม
-ด้านความชัดเจนหรือโปร่งใสในขั้นตอนการให้บริการของหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 48.4)
-ด้านการแก้ไขระบบอุปถัมภ์เป็นระบบคุณธรรมในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 48.3)
-ด้านการควบคุมและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 44.2)
3. สำหรับคำถามว่าการเปลี่ยนแปลงโดยรวม ต่อการให้บริการของหน่วยงานราชการเป็นอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 47.7 ระบุว่าดีขึ้น ร้อยละ 40.9 ระบุว่าเหมือนเดิม ร้อยละ 4.3 ระบุว่าแย่ลง และร้อยละ 7.2
ระบุว่าไม่มีความเห็น
4. ส่วนคำถามว่า ภายหลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.5 ระบุว่าพอใจ
ผลงานกระทรวงสาธารณสุขมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 12.0 ระบุว่ากระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ร้อยละ 9.3
ระบุว่ากระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 7.9 ระบุว่ากระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 7.6 ระบุว่ากระทรวงการต่างประเทศ
5.เมื่อถามว่าเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะทำให้ข้าราชการในพื้นที่ 3 จังหวัดมีการขอย้าย
ออกจากพื้นที่จำนวนมาก คิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจอย่างไรบ้าง กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 26.9
ระบุว่าควรเพิ่มเงินเดือน/โบนัส ร้อยละ 15.5 ระบุว่าควรเพิ่มจำนวนคนรักษาความปลอดภัย ร้อยละ 14.6 ระบุว่า
ควรเพิ่มสวัสดิการด้านประกันชีวิต ร้อยละ 7.1 ระบุว่าควรปราบปรามอย่างจริงจัง ร้อยละ 6.3 ระบุว่าควรมีเจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้อง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ทหาร และตำรวจ ลงตรวจเยี่ยมพื้นที่
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 571 45.2
หญิง 691 54.8
อายุ :
18 - 25 ปี 401 31.8
26 - 35 ปี 356 28.2
36 - 45 ปี 277 21.9
45 ปีขึ้นไป 228 18.1
การศึกษา:
ประถมศึกษา 129 10.2
มัธยมศึกษา 309 24.5
ปวช. 90 7.1
ปวส./อนุปริญญา 171 13.5
ปริญญาตรี 483 38.3
สูงกว่าปริญญาตรี 80 6.3
อาชีพ :
พนักงานบริษัทเอกชน 299 23.7
นักศึกษา 272 21.6
ค้าขาย 187 14.8
รับจ้างทั่วไป 121 9.6
เจ้าของกิจการ 103 8.2
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 85 6.7
รับราชการ 84 6.7
รัฐวิสาหกิจ 79 6.3
อื่น ๆ 32 2.5
ตารางที่ 2: 1 ปี 6 เดือน หลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ท่านคิดว่าเป็นอย่างไร
ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความเห็น
การอำนวยความสะดวกในการขอรับบริการจาก
หน่วยงานราชการ 56.1 36.5 3.0 4.4
ด้านการลดขั้นตอนการให้บริการของหน่วยงานราชการ 50.5 40.6 3.6 5.3
ความรวดเร็วในการให้บริการของหน่วยงานราชการ 50.2 41.2 4.8 3.8
ความชัดเจนหรือโปร่งใสในขั้นตอนการให้บริการ
ของหน่วยงานราชการ 35.0 48.4 8.3 8.2
การแก้ไขระบบอุปถัมภ์เป็นระบบคุณธรรม
ในหน่วยงานราชการ 29.3 48.3 10.6 11.7
การควบคุมและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นในหน่วยงานราชการ 35.6 44.2 10.2 10.0
ตารางที่ 3: ท่านคิดว่า การเปลี่ยนแปลงโดยรวม ต่อการให้บริการของหน่วยงานราชการเป็นอย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ดีขึ้น 602 47.7
เหมือนเดิม 516 40.9
แย่ลง 54 4.3
ไม่มีความเห็น 90 7.2
ตารางที่ 4: ท่านพอใจผลงานของกระทรวงใดมากที่สุด ภายหลังจากการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม
จำนวน ร้อยละ
กระทรวงสาธารณสุข 158 12.5
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา 152 12.0
กระทรวงพาณิชย์ 117 9.3
กระทรวงมหาดไทย 100 7.9
กระทรวงการต่างประเทศ 96 7.6
กระทรวงอื่น ๆ 639 50.6
ตารางที่ 5: เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะทำให้ข้าราชการในพื้นที่ 3 จังหวัด
มีการขอย้ายออกจากพื้นที่จำนวนมาก ท่านคิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการสร้างขวัญและกำลังใจ
อย่างไรบ้าง
จำนวน ร้อยละ
ควรเพิ่มเงินเดือน/โบนัส 339 26.9
ควรเพิ่มจำนวนคนรักษาความปลอดภัย 196 15.5
ควรเพิ่มสวัสดิการด้านประกันชีวิต 184 14.6
ควรปราบปรามอย่างจริงจัง 89 7.1
ควรมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี ทหาร และตำรวจ ลงตรวจเยี่ยมพื้นที่ 80 6.3
อื่น ๆ 374 29.6
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-ดพ-