กรุงเทพโพลล์: ชีวิตของแรงงานหลังได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

ข่าวผลสำรวจ Friday April 27, 2012 09:38 —กรุงเทพโพลล์

ผู้ใช้แรงงานเกือบ 40% ชี้ ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทไม่ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น พร้อมวอนให้รัฐบาลเข้ามาดูแลสวัสดิการของผู้ใช้แรงงานและดูแลให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน

เนื่องในวันที่ 1 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้เป็นวันแรงงานแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ชีวิตของแรงงานหลังได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท” โดยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้แรงงานที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,180 คน พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 79.1 ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันแล้ว ขณะที่ร้อยละ 20.9 ยังไม่ได้รับ โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า กิจการยังไม่อนุมัติปรับขึ้นค่าจ้างให้ เมื่อสอบถามผู้ที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทว่า ชีวิตการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 82.4 ระบุว่ามีชีวิตการทำงานเหมือนเดิม ขณะที่ร้อยละ 15.4 ระบุว่าต้องทำงานหนักขึ้น มีเพียงร้อยละ 1.3 ที่ระบุว่าทำงานน้อยลง

ทั้งนี้ผู้ใช้แรงงานเกือบครึ่ง (ร้อยละ 49.9) ไม่เชื่อว่าการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันจะทำให้กิจการที่ทำงานอยู่ต้องประสบกับภาวะขาดทุนหรือเลิกกิจการ ตรงกันข้ามร้อยละ 23.0 เชื่อว่าจะทำให้กิจการมีกำไรจะเพิ่มขึ้น และร้อยละ 26.9 เห็นว่าจะกระทบทำให้กำไรลดลงเท่านั้น มีเพียงร้อยละ 1.4 เห็นว่าขาดทุน และร้อยละ 0.8 เห็นว่าจะเลิกกิจการ

สำหรับความเห็นต่อค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่รัฐบาลปรับขึ้น จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 39.3 เห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทไม่ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ในจำนวนนี้ร้อยละ 36.5 เห็นว่าชีวิตความเป็นอยู่จะยังเหมือนเดิม และร้อยละ 2.8 เห็นว่าจะแย่ลง ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าราคาสินค้าที่เพิ่มทำให้แรงงานไม่ได้ประโยชน์จากค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนร้อยละ 60.7 เห็นว่าชีวิตความเป็นอยู่จะดีขึ้น ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้หรือไม่ ร้อยละ 54.9 เห็นว่าจะไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ขณะที่ร้อยละ 45.1 เห็นว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ

เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ทั่วประเทศ ร้อยละ 93.2 ระบุว่า “เห็นด้วย” ขณะที่ร้อยละ 6.8 ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย” และเมื่อถามต่อว่ากังวลมากน้อยเพียงใดเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่อาจจะเข้ามาแย่งงานคนไทย ร้อยละ 51.4 ระบุว่า “ไม่กังวลเลย” ขณะที่ร้อยละ 31.1 ระบุว่า “กังวลมากถึงมากที่สุด” และร้อยละ 17.5 ระบุว่า “กังวลน้อยถึงน้อยที่สุด”

ส่วนเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแล ปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด เกี่ยวกับผู้ใช้แรงงาน พบว่าอันดับแรก คือ สวัสดิการ (ร้อยละ 32.3) รองลงมาคือ ดูแลให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน (ร้อยละ 29.7) และดูแลคุณภาพชีวิต (ร้อยละ 14.9)

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ท่านได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ตามที่รัฐบาลประกาศแล้วหรือไม่
          ได้รับแล้ว                                                    ร้อยละ          79.1

ยังไม่ได้รับ(โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า กิจการยังไม่อนุมัติปรับขึ้นให้

          กิจการรอดูผลประกอบการก่อน และกิจการมีขนาดเล็กไม่สามารถปรับขึ้นให้ได้)  ร้อยละ          20.9

2.  หลังจากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันแล้ว การทำงานของท่านมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้
(ถามเฉพาะผู้ที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท)
          ทำงานหนักขึ้น          ร้อยละ          15.4
          ทำงานเหมือนเดิม       ร้อยละ          82.4
          ทำงานน้อยลง          ร้อยละ           1.3

มีปัญหาการทำงานอื่น ได้แก่ ให้ทำงานล่วงเวลาน้อยลง มีระเบียบ กฎเกณฑ์ของบริษัทเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 0.9

3. ความเห็นต่อการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน จะทำให้กิจการที่สังกัดอยู่เป็นอย่างไร
          กำไรเพิ่มขึ้น          ร้อยละ          23.0
          กำไรลดลง           ร้อยละ          26.9
          ขาดทุน              ร้อยละ           1.4
          เลิกกิจการ           ร้อยละ           0.8
          ไม่ทราบ             ร้อยละ          47.9

4.  ความเห็นต่อค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ที่รัฐบาลปรับขึ้น จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของท่านเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้
          ดีขึ้น                ร้อยละ          60.7
          เหมือนเดิม           ร้อยละ          36.5
          แย่ลง               ร้อยละ           2.8

5.  ความเห็นต่อค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้หรือไม่
          ได้            ร้อยละ          45.1
          ไม่ได้          ร้อยละ          54.9

6.  ผู้ใช้แรงงานเห็นด้วยหรือไม่กับการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ทั่วประเทศ
          เห็นด้วย            ร้อยละ          93.2
          ไม่เห็นด้วย          ร้อยละ          6.8

7.  ผู้ใช้ แรงงานกังวลมากน้อยเพียงใด เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่อาจจะเข้ามาแย่งงานคนไทย

มากถึงมากที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 8.3 และมากร้อยละ 22.8)          ร้อยละ          31.1

น้อยถึงน้อยที่สุด

          (โดยแบ่งเป็นน้อยร้อยละ 14.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 2.9)          ร้อยละ          17.5

          ไม่กังวลเลย                                            ร้อยละ          51.4

8.  เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแล ปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด เกี่ยวกับผู้ใช้แรงงาน ได้แก่
          สวัสดิการ                                           ร้อยละ          32.3
          ดูแลให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน                    ร้อยละ          29.7
          ดูแลคุณภาพชีวิต                                       ร้อยละ          14.9
          ค่าแรง / ค่าจ้าง                                     ร้อยละ          11.9
          ความปลอดภัยในการทำงาน                              ร้อยละ           6.4
          การพัฒนาฝีมือแรงงาน                                  ร้อยละ           3.1
          อื่นๆ เช่น ให้เก็บเงินประกันสังคมลดลง ลดปัญหาค่าครองชีพ      ร้อยละ           1.7

รายละเอียดในการสำรวจ

วัตถุประสงค์ในการสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในประเด็นเกี่ยวกับ ชีวิตของแรงงานหลังได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ความกังวลเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว สิ่งที่อยากให้รัฐบาลเข้ามาดูแล ปรับปรุงแก้ไข เกี่ยวกับผู้ใช้แรงงาน เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทร หนองจอกและปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,180 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.2 และเพศหญิงร้อยละ 49.8

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล            :   23 - 26 เมษายน 2555

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                :   27 เมษายน 2555

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน (คน) ร้อยละ เพศ

          ชาย                        592          50.2
          หญิง                        588          49.8
รวม                                1,180         100.0

อายุ
            18 ปี — 25 ปี              380          32.2
            26 ปี — 35 ปี              347          29.4
            36 ปี — 45 ปี              229          19.4
            46 ปีขึ้นไป                 224          19.0
รวม          1,180                 100.0

การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี             1,108          93.9
          ปริญญาตรี                     70           5.9
          สูงกว่าปริญญาตรี                 2           0.2
รวม          1,180                 100.0

อาชีพ
          โรงงานอุตสาหกรรม            177         15.0
          กรรมกรก่อสร้าง                65          5.5
          รปภ. / ภารโรง              166         14.1
          แม่บ้าน / คนสวน              190         16.1
          รับจ้างทั่วไป                  133         11.3
          ช่างซ่อม                      44          3.7
          พนักงานบริการ / นวดแผนโบราณ  139         11.8
          พนักงานขับรถ                  53          4.5
          พนักงานขาย                  213         18.0
รวม                                1,180         100.0

อยู่ในระบบประกันสังคมหรือไม่
          อยู่ในประกันสังคม              877          74.3
          ไม่อยู่ในประกันสังคม            303          25.7
          รวม                      1,180         100.0

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ